ย้อนไปในเดือนกรกฎาคม Meta ได้เปิดตัว Threads แอปโซเชียลเน้นโพสต์ข้อความ ซึ่งการเลือกจังหวะเวลาเปิดตัวในช่วงที่ Twitter ตอนนั้นตั้งลิมิตผู้ใช้งาน ส่งผลให้ Threads กลายเป็นทางเลือกที่คนแห่กันมาสมัครลองใช้ ทำสถิติมีผู้สมัครใช้งาน 100 ล้านบัญชี ในเวลาเพียง 5 วัน เร็วที่สุดในทุกแพลตฟอร์มที่เคยมีมา
Jesse Chen ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของ Threads ได้เขียนบล็อกและให้สัมภาษณ์ พูดถึงความท้าทายของโครงการ ที่มีระยะเวลาสั้นในการพัฒนา ตลอดจนการสเกลเพื่อรองรับผู้สมัครใช้งานจำนวนมหาศาลที่ไม่เคยมีมาก่อน
Threads เริ่มพัฒนาในเดือนมกราคม ด้วยทีมขนาดเล็ก เพื่อความคล่องตัว และต้องการให้โครงการนี้เป็นความลับ และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนทีมงาน โดยปัจจุบันมีผู้จัดการผลิตภัณฑ์ 3 คน นักออกแบบ คน และวิศวกรอีกประมาณ 60 คน
แนวทางการพัฒนาคือใช้พื้นฐานของ Instagram ให้มากที่สุดเพื่อย่นระยะเวลา backend จึงใช้ Django รวมทั้งส่วนโมเดลข้อมูล ลอจิก ระบบความปลอดภัย จนถึงโครงสร้างเซิร์ฟเวอร์ เป็นการนำของเดียวกับ Instagram มาใช้ซ้ำ ส่วนตัวแอปนั้น iOS พื้นฐานหลักคือ Swift และ Android ใช้ Jetpack Compose ฟีเจอร์ในตอนแรกถูกจำกัดเท่าที่ต้องการมากที่สุด เพื่อให้แอปเปิดตัวได้ตามกำหนดเวลาที่วางไว้
Threads ได้โค้ดเวอร์ชันสุดท้ายสำหรับส่งขึ้นสโตร์ในเดือนมิถุนายน และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับในการเปิดตัวเดือนกรกฎาคม เมื่อได้กำหนดวันเวลาแล้ว ทีมงานหลักที่กระจายอยู่ใน 4 เมือง พร้อมวิศวกรส่วน Infrastructure ก็พร้อมรอรับโหลดที่เข้ามา เครื่องมือมอนิเตอร์ที่ใช้คือ ODS และ Scuba
ทีมงานประเมินว่าโหลดส่วนที่ท้าทายที่สุด คือเมื่อมีบัญชีที่มีผู้ติดตามจำนวนมากเพิ่งเข้ามาใช้ Threads บัญชีที่กดรอคิวติดตามไว้ก่อนหน้านี้ทั้งหมดจะเข้ามา follow พร้อมกัน จึงต้องหาวิธีจัดการในกรณีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสเกลที่ไม่เคยมีมาก่อน
ถึงแม้สถิติผู้สมัครใช้งานจะรวดเร็วมากคือ 1 ล้านบัญชีใน 1 ชั่วโมง และจบวันแรกที่ 30 ล้านบัญชี แต่ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่วางไว้นานแล้วของแพลตฟอร์มเครือ Meta ทำให้ backend ระบบสามารถรองรับปริมาณนี้ได้โดยไม่มีปัญหาเกิดขึ้น
แนวทางจากนี้ของ Threads คือการเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ เข้ามาให้รวดเร็วมากที่สุด ตลอดจนการปรับปรุง backend เพื่อให้รองรับการสเกลเฉพาะของ Threads ได้ดีขึ้น และเนื่องจาก Threads ประกาศตั้งแต่ต้นว่าจะรองรับโปรโตคอล ActivityPub ซึ่งเป็นโซเชียลแบบกระจายศูนย์ นี่จึงเป็นอีกสิ่งที่จะเพิ่มเติมเข้ามา
ที่มา: Meta และ The Pragmatic Engineer
Topics:
Threads
Meta
Developer
อ่านต่อ...
Jesse Chen ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของ Threads ได้เขียนบล็อกและให้สัมภาษณ์ พูดถึงความท้าทายของโครงการ ที่มีระยะเวลาสั้นในการพัฒนา ตลอดจนการสเกลเพื่อรองรับผู้สมัครใช้งานจำนวนมหาศาลที่ไม่เคยมีมาก่อน
เริ่มตั้งทีม
Threads เริ่มพัฒนาในเดือนมกราคม ด้วยทีมขนาดเล็ก เพื่อความคล่องตัว และต้องการให้โครงการนี้เป็นความลับ และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนทีมงาน โดยปัจจุบันมีผู้จัดการผลิตภัณฑ์ 3 คน นักออกแบบ คน และวิศวกรอีกประมาณ 60 คน
แนวทางการพัฒนาคือใช้พื้นฐานของ Instagram ให้มากที่สุดเพื่อย่นระยะเวลา backend จึงใช้ Django รวมทั้งส่วนโมเดลข้อมูล ลอจิก ระบบความปลอดภัย จนถึงโครงสร้างเซิร์ฟเวอร์ เป็นการนำของเดียวกับ Instagram มาใช้ซ้ำ ส่วนตัวแอปนั้น iOS พื้นฐานหลักคือ Swift และ Android ใช้ Jetpack Compose ฟีเจอร์ในตอนแรกถูกจำกัดเท่าที่ต้องการมากที่สุด เพื่อให้แอปเปิดตัวได้ตามกำหนดเวลาที่วางไว้
เปิดตัวสำหรับผู้ใช้งาน
Threads ได้โค้ดเวอร์ชันสุดท้ายสำหรับส่งขึ้นสโตร์ในเดือนมิถุนายน และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับในการเปิดตัวเดือนกรกฎาคม เมื่อได้กำหนดวันเวลาแล้ว ทีมงานหลักที่กระจายอยู่ใน 4 เมือง พร้อมวิศวกรส่วน Infrastructure ก็พร้อมรอรับโหลดที่เข้ามา เครื่องมือมอนิเตอร์ที่ใช้คือ ODS และ Scuba
ทีมงานประเมินว่าโหลดส่วนที่ท้าทายที่สุด คือเมื่อมีบัญชีที่มีผู้ติดตามจำนวนมากเพิ่งเข้ามาใช้ Threads บัญชีที่กดรอคิวติดตามไว้ก่อนหน้านี้ทั้งหมดจะเข้ามา follow พร้อมกัน จึงต้องหาวิธีจัดการในกรณีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสเกลที่ไม่เคยมีมาก่อน
ถึงแม้สถิติผู้สมัครใช้งานจะรวดเร็วมากคือ 1 ล้านบัญชีใน 1 ชั่วโมง และจบวันแรกที่ 30 ล้านบัญชี แต่ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่วางไว้นานแล้วของแพลตฟอร์มเครือ Meta ทำให้ backend ระบบสามารถรองรับปริมาณนี้ได้โดยไม่มีปัญหาเกิดขึ้น
อนาคตของ Threads
แนวทางจากนี้ของ Threads คือการเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ เข้ามาให้รวดเร็วมากที่สุด ตลอดจนการปรับปรุง backend เพื่อให้รองรับการสเกลเฉพาะของ Threads ได้ดีขึ้น และเนื่องจาก Threads ประกาศตั้งแต่ต้นว่าจะรองรับโปรโตคอล ActivityPub ซึ่งเป็นโซเชียลแบบกระจายศูนย์ นี่จึงเป็นอีกสิ่งที่จะเพิ่มเติมเข้ามา
ที่มา: Meta และ The Pragmatic Engineer
Topics:
Threads
Meta
Developer
อ่านต่อ...