ทีมนักวิจัยจาก University of Chicago ออกแอพชื่อ Glaze ช่วยแก้ปัญหาเจ้าของงานศิลปะกลัวโดน AI แบบ Midjourney หรือ Stable Diffusion ดูดภาพไป "ลอกสไตล์งานวาด" (Protecting Artists from Style Mimicry)
วิธีการทำงานของ Glaze คือฝังลายน้ำที่มนุษย์มองแทบไม่เห็นลงในภาพต้นฉบับ หาก AI ดูดภาพนี้ไปเรียนรู้ จะได้ผลเป็นงานสไตล์อื่นแทน (ในที่นี้คือภาพของแวนโก๊ะ) ทีมวิจัยเรียกเทคนิคนี้ว่า cloak เป็นการทำให้โมเดล AI เข้าใจผิด และสร้างงานแบบลูกผสมแวนโก๊ะออกมาแทน
เบื้องหลังการ cloak คือการนำภาพต้นฉบับ (ซ้ายบน) ไปดัดแปลงให้เป็นภาพสไตล์แวนโก๊ะก่อน (ซ้ายล่าง) ผลคือได้ภาพที่มีสไตล์ต่างออกไป แต่ตัวโครง (feature) อย่างอื่นเหมือนเดิม จากนั้นอัลกอริทึมของ Glaze จะเรียนรู้ feature ของภาพใหม่เพื่อนำมาปรับแก้ภาพต้นฉบับ โดยพยายามรักษาต้นฉบับเอาไว้ให้ได้มากที่สุด
ผลลัพธ์ที่ได้คือ Glaze ทำงานได้ค่อนข้างดี ทีมวิจัยลองนำภาพจากศิลปินต่างๆ มาทดสอบเทียบระหว่างเวอร์ชันต้นฉบับ และ Glaze ก็พบว่าเวอร์ชันที่มี Glaze จะได้ผลลัพธ์ที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมมาก (รายละเอียดอ่านใน เปเปอร์ต้นฉบับ)
ทีมวิจัยบอกว่า Glaze มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เพราะลายน้ำ cloak ที่ฝังไว้อาจมองเห็นได้ง่ายกับภาพที่ใช้สีพื้น หรือฉากสีเดียวกัน (เช่น ภาพแบบอนิเม) และยอมรับว่าโมเดล AI ในอนาคตย่อมสามารถเอาชนะ Glaze ได้ นอกจากนี้ตัวศิลปินเองต้องระวังไม่ให้ภาพต้นฉบับหลุดออกสู่สาธารณะ และเลือกปล่อยเฉพาะเวอร์ชันที่ผ่าน Glaze แล้วเท่านั้น
ตัวแอพมีทั้งเวอร์ชันวินโดวส์และแมค ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ต้นทาง
ที่มา - Glaze
Topics:
Artificial Intelligence
Intellectual Property
อ่านต่อ...
วิธีการทำงานของ Glaze คือฝังลายน้ำที่มนุษย์มองแทบไม่เห็นลงในภาพต้นฉบับ หาก AI ดูดภาพนี้ไปเรียนรู้ จะได้ผลเป็นงานสไตล์อื่นแทน (ในที่นี้คือภาพของแวนโก๊ะ) ทีมวิจัยเรียกเทคนิคนี้ว่า cloak เป็นการทำให้โมเดล AI เข้าใจผิด และสร้างงานแบบลูกผสมแวนโก๊ะออกมาแทน
เบื้องหลังการ cloak คือการนำภาพต้นฉบับ (ซ้ายบน) ไปดัดแปลงให้เป็นภาพสไตล์แวนโก๊ะก่อน (ซ้ายล่าง) ผลคือได้ภาพที่มีสไตล์ต่างออกไป แต่ตัวโครง (feature) อย่างอื่นเหมือนเดิม จากนั้นอัลกอริทึมของ Glaze จะเรียนรู้ feature ของภาพใหม่เพื่อนำมาปรับแก้ภาพต้นฉบับ โดยพยายามรักษาต้นฉบับเอาไว้ให้ได้มากที่สุด
ผลลัพธ์ที่ได้คือ Glaze ทำงานได้ค่อนข้างดี ทีมวิจัยลองนำภาพจากศิลปินต่างๆ มาทดสอบเทียบระหว่างเวอร์ชันต้นฉบับ และ Glaze ก็พบว่าเวอร์ชันที่มี Glaze จะได้ผลลัพธ์ที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมมาก (รายละเอียดอ่านใน เปเปอร์ต้นฉบับ)
ทีมวิจัยบอกว่า Glaze มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เพราะลายน้ำ cloak ที่ฝังไว้อาจมองเห็นได้ง่ายกับภาพที่ใช้สีพื้น หรือฉากสีเดียวกัน (เช่น ภาพแบบอนิเม) และยอมรับว่าโมเดล AI ในอนาคตย่อมสามารถเอาชนะ Glaze ได้ นอกจากนี้ตัวศิลปินเองต้องระวังไม่ให้ภาพต้นฉบับหลุดออกสู่สาธารณะ และเลือกปล่อยเฉพาะเวอร์ชันที่ผ่าน Glaze แล้วเท่านั้น
ตัวแอพมีทั้งเวอร์ชันวินโดวส์และแมค ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ต้นทาง
ที่มา - Glaze
Topics:
Artificial Intelligence
Intellectual Property
อ่านต่อ...