• แนะนำการใช้งานเบื่องต้น การใช้งาน-community
    ประกาศ :
    • ทำการแก้ไขระบบนับถอยหลังเพื่อดาวน์โหลดไฟล์แล้ว
กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see


นักวิทยาการเข้ารหัสลับตั้งรางวัล หาข้อความต้นทางของค่าคงที่ในกระบวนการเข้ารหัส Elliptic Curve ของ NIST

ข่าว นักวิทยาการเข้ารหัสลับตั้งรางวัล หาข้อความต้นทางของค่าคงที่ในกระบวนการเข้ารหัส Elliptic Curve ของ NIST

News 

Moderator
สมาชิกทีมงาน
Moderator
Verify member
Filippo Valsorda นักวิทยาการเข้ารหัสลับผู้ดูแลโมดูล crypto ในภาษา Go และผู้สร้างโครงการ mkcert ประกาศรางวัลมูลค่า 12,288 ดอลลาร์ (12 KiUSD) สำหรับผู้ที่ค้นหาต้นทางของค่าคงที่ใน Elliptic Curve P-192, P-224, P-256, P-384, และ P-521 ที่ประกาศโดย NIST แต่สร้างมาโดย Jerry Solinas ที่ทำงานอยู่ NSA

ค่าคงที่เหล่านี้เผยแพร่โดย NIST ตามมาตรฐาน FIPS 186 ที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยทำให้มีการใช้งานเป็นวงกว้างอย่างมาก โดยค่าคงที่ในกระบวนการเข้ารหัสนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องเชื่อใจว่าผู้เลือกค่าคงที่ไม่ได้เลือกมาอย่างเจาะจงให้มีช่องโหว่ กระบวนการเลือกค่าคงที่ของ NIST เองนั้นมีแนวทางว่าที่มาของค่าคงที่ต้อง “สุ่มอย่างตรวจสอบได้”

Solinas ระบุว่าเขาสร้างค่าคงที่เหล่านี้จากการแฮชประโยคภาษาอังกฤษ แต่กลับลืมว่าใช้ประโยคอะไรมาแฮช และเขาอัพเกรดคอมพิวเตอร์จนโค้ดที่ใช้หายไป และเมื่อโดนทวงถามถึงที่มาของค่าคงที่ Solinas ก็พยายามกลับไปลองประโยคที่พอนึกออกแต่ก็หาค่าที่ตรงกันไม่ได้

หาก Solinas สร้างค่าคงที่จากประโยคภาษาอังกฤษจริงคาดว่าเขาน่าจะใช้กระบวนการแฮชแบบ SHA-1 แต่ไม่มีใครแน่ใจว่าโค้ดที่ใช้จะเป็นอย่างไร เช่นอาจจะมีการแฮชหลายรอบซ้อนกัน หรืออาจจะใช้เทคนิคอื่นๆ เพื่อขยายค่าให้ได้ขนาดตามต้องกร

การที่เราไม่รู้ต้นทางของค่าคงที่เหล่านี้ทำให้มีข้อกังขาว่า NIST วางยาเลือกค่าคงที่ที่ทำให้กระบวนการเข้ารหัสอ่อนแออย่างจงใจแบบเดียวกับที่ทำกับ Dual_EC_DRBG หรือไม่ หากเราถอดที่มาว่ามีที่มาโปร่งใสได้ก็จะตัดความกังวลไปได้หนึ่งอย่าง แม้ว่าความกังวลนี้จะมีความเสี่ยงน้อยมาก เพราะค่าคงที่เหล่านี้ถูกใช้งานมาเป็นเวลานานและยังไม่มีใครเจอช่องโหว่

Valsorda ประกาศรางวัลครั้งนี้ โดยผู้ได้รางวัลเต็มจะต้องหาที่มาของค่าคงที่ทั้ง 5 ค่าให้ครบ หรือหากหาได้เพียงค่าเดียวก็จะได้รับรางวัลครึ่งหนึ่ง และผู้ที่หาที่มาอีก 4 ค่าจะได้รางวัลที่เหลือ เขาแนะนำให้ผู้สนใจหาที่มาของค่าแฮชอื่นๆ ที่ NIST เสนอไว้แต่ไม่ได้เข้าสู่มาตรฐานไปพร้อมกัน เช่น B-163, B-233 แต่ค่าคงที่เหล่านี้นำมาขอรางวัลไม่ได้ หากผู้ชนะเลือกไม่รับรางวัลแต่บริจาคไปยังองค์กรการกุศล Valsorda จะสมทบให้อีกสองเท่าตัว

ที่มา - filippo.io

No Description


Topics:
Cryptography
NIST

อ่านต่อ...
 

ไฟล์แนบ

  • a07fc3a7ce0d04abe1586fb03b3cdd58.png
    a07fc3a7ce0d04abe1586fb03b3cdd58.png
    29.3 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 20

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม ด้านล่าง