- เข้าร่วม
- 1 มิถุนายน 2011
- ข้อความ
- 9,390
- คะแนนปฏิกิริยา
- 0
- คะแนน
- 0
The Wall Street Journal มีรายงานพิเศษเกี่ยวกับปัญหาในยุคโซเชียล-อินฟลูเอนเซอร์ เมื่อคู่รักที่แต่งงานและสร้างบัญชีโซเชียลสำหรับลงคอนเทนต์ร่วมกัน จนมีฐานแฟนผู้ติดตาม สามารถทำเงินได้จำนวนมาก แต่เมื่อทั้งคู่ตัดสินใจหย่าร้างกัน การแย่งชิงบัญชีโซเชียลที่เป็นเครื่องมือทำเงินสร้างรายได้จึงเกิดขึ้น
ประเด็นนี้ในมุมมองของผู้พิพากษาและทนายความมองว่า การประเมินมูลค่าบัญชีโซเชียลคู่ทำได้ยากมาก เพราะไม่เหมือนสินทรัพย์อื่นที่ประเมินราคาแล้วหารสองได้ บัญชีประเภทนี้มีมูลค่าเพราะเป็นคอนเทนต์คู่กัน ที่ผู้ติดตามและผู้สนับสนุนต้องการ แต่หากแยกเดี่ยวแล้ว มูลค่าหรือโอกาสยังไม่ชัดเจน ทนายความคนหนึ่งให้แนวทางว่า ควรเริ่มจากประเมินมูลค่าบัญชีปัจจุบันก่อน แล้วหารสอง จากนั้นดูว่าฝ่ายไหนยินดีซื้อบัญชีนี้จากอีกฝ่าย ก็ช่วยให้หาข้อยุติได้
กรณีตัวอย่างที่ยกมาคือช่องคู่สามีภรรยา MikeAndKat ที่มีผู้ติดตามบน TikTok และ YouTube รวมประมาณ 4 ล้านบัญชี เมื่อทั้งคู่ตัดสินหย่าร้าง การตกลงเรื่องบัญชีจึงเป็นการต่อสู้ในศาลว่าใครมีบทบาทต่อการผลิตคอนเทนต์มากกว่ากัน โดยจบที่ Kat ภรรยาได้เลือกบัญชีก่อนคือ TikTok ส่วน Mike สามี ได้บัญชี YouTube และผลคือช่อง YouTube ก็ถูกปล่อยทิ้งไป ส่วน Kat นำบัญชีคู่ไปต่อยอดเป็นช่องของตนเอง KatStickler และเปิดโซเชียลอื่นเพิ่มด้วย ซึ่งเฉพาะ TikTok ก็มีผู้ติดตามปัจจุบันเพิ่มเป็นกว่า 10 ล้านบัญชี
อย่างไรก็ตามนั่นอาจเป็นกรณีที่แยกแล้วมีโอกาสเติบโต แต่ Nina Shayan Depatie ทนายความที่ทำคดีหย่าร้าง ให้ความเห็นว่าบัญชีคู่นั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบคอนเทนต์ด้วย ถ้าคอนเทนต์เป็นเรื่องราวในครอบครัว การหย่าร้างมีโอกาสสูงที่จะทำลายมูลค่าบัญชีของทั้งสองฝ่าย เพราะผู้ติดตามต้องการเห็นเฉพาะเรื่องราวความสัมพันธ์นั่นเอง
ที่มา: The Wall Street Journal ภาพ Pixabay [1], [2]
Topics:
Social Network
Digital Content
Continue reading...
ประเด็นนี้ในมุมมองของผู้พิพากษาและทนายความมองว่า การประเมินมูลค่าบัญชีโซเชียลคู่ทำได้ยากมาก เพราะไม่เหมือนสินทรัพย์อื่นที่ประเมินราคาแล้วหารสองได้ บัญชีประเภทนี้มีมูลค่าเพราะเป็นคอนเทนต์คู่กัน ที่ผู้ติดตามและผู้สนับสนุนต้องการ แต่หากแยกเดี่ยวแล้ว มูลค่าหรือโอกาสยังไม่ชัดเจน ทนายความคนหนึ่งให้แนวทางว่า ควรเริ่มจากประเมินมูลค่าบัญชีปัจจุบันก่อน แล้วหารสอง จากนั้นดูว่าฝ่ายไหนยินดีซื้อบัญชีนี้จากอีกฝ่าย ก็ช่วยให้หาข้อยุติได้
กรณีตัวอย่างที่ยกมาคือช่องคู่สามีภรรยา MikeAndKat ที่มีผู้ติดตามบน TikTok และ YouTube รวมประมาณ 4 ล้านบัญชี เมื่อทั้งคู่ตัดสินหย่าร้าง การตกลงเรื่องบัญชีจึงเป็นการต่อสู้ในศาลว่าใครมีบทบาทต่อการผลิตคอนเทนต์มากกว่ากัน โดยจบที่ Kat ภรรยาได้เลือกบัญชีก่อนคือ TikTok ส่วน Mike สามี ได้บัญชี YouTube และผลคือช่อง YouTube ก็ถูกปล่อยทิ้งไป ส่วน Kat นำบัญชีคู่ไปต่อยอดเป็นช่องของตนเอง KatStickler และเปิดโซเชียลอื่นเพิ่มด้วย ซึ่งเฉพาะ TikTok ก็มีผู้ติดตามปัจจุบันเพิ่มเป็นกว่า 10 ล้านบัญชี
อย่างไรก็ตามนั่นอาจเป็นกรณีที่แยกแล้วมีโอกาสเติบโต แต่ Nina Shayan Depatie ทนายความที่ทำคดีหย่าร้าง ให้ความเห็นว่าบัญชีคู่นั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบคอนเทนต์ด้วย ถ้าคอนเทนต์เป็นเรื่องราวในครอบครัว การหย่าร้างมีโอกาสสูงที่จะทำลายมูลค่าบัญชีของทั้งสองฝ่าย เพราะผู้ติดตามต้องการเห็นเฉพาะเรื่องราวความสัมพันธ์นั่นเอง
ที่มา: The Wall Street Journal ภาพ Pixabay [1], [2]
Topics:
Social Network
Digital Content
Continue reading...