รายงานจาก Filtered.com สำรวจ 100 อันดับการใช้ Generative AI ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยรวมพบว่ากระแส AI มาแรงขึ้นกว่าเดิม ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือสำหรับเล่นสนุก หรือช่วยงานทั่วไปเท่านั้น แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของหลาย ๆ คนไปแล้ว
ที่น่าสนใจคือ AI ไม่ได้ช่วยเรื่องเทคนิค หรือทำงานเบื้องหลังอีกต่อไป มันเข้าไปช่วยในเรื่องส่วนตัวมากขึ้น กลายเป็นเพื่อนคู่คิด ที่ช่วยสะท้อนตัวตนของผู้ใช้ออกมาให้ชัดขึ้น เห็นได้จาก 3 อันดับแรกจากการใช้งาน Generative AI ยอดนิยมในปีนี้ ได้แก่ ใช้บำบัดจิตใจ/เป็นเพื่อน, จัดระเบียบชีวิต, และค้นหาจุดหมาย
ส่วนอันดับที่ 4 และ 5 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว นั่นก็คือ ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียน และเขียนโค้ด
เมื่อดูจากประเภทการใช้งาน พบว่าคนส่วนใหญ่ใช้ Generative AI ไว้ช่วยในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต ทั้งงาน บำบัดจิตใจ มากกว่าการเขียนโค้ด หรือสรุปรายงานแบบเดิม รวมถึงใช้ AI เพื่อถามสิ่งที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น "เรากำลังทำอะไรอยู่กับชีวิต?" หรือ "สิ่งนี้ตรงกับคุณค่าที่เราเชื่อไหม?"
นอกจากนี้ ปีนี้ยังมีเคสการใช้ Generative AI ที่ติดอันดับเพิ่มมาใหม่ เช่น ขอคำปรึกษาด้านภาษี (อันดับ 32), ปรึกษาวิธีเลี้ยงลูก (อันดับ 42), ช่วยคุยกับหมอได้ดีขึ้น (อันดับ 78), เลี่ยงการประชุม (อันดับ 86), และค้นหาศาสนา (อันดับ 89) (การจัดอันดับที่เหลือ อ่านได้ที่นี่)
อย่างไรก็ตาม หลายคนเริ่มตั้งคำถามเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ความลำเอียงทางการเมือง และการที่ AI บางรุ่น ไม่จดจำอะไรเกี่ยวกับผู้ใช้ได้ ทั้งที่ผู้ใช้บางคนก็อยากให้จำให้ได้บ้าง เพราะจะได้คุยกันลื่น ๆ กว่านี้ รวมทั้งคาดหวังว่าสักวัน AI จะสามารถลงมือทำแทนมนุษย์ได้จริง ๆ (ไม่ใช่แค่ให้คำแนะนำ) และในขณะเดียวกัน มีคนเริ่มกังวลว่า มนุษย์พึ่งพา AI มากเกินไปหรือเปล่า
ที่มา: Harvard Business Review via Filtered.com
Topics:
Generative AI
Artificial Intelligence
Research
Continue reading...
ที่น่าสนใจคือ AI ไม่ได้ช่วยเรื่องเทคนิค หรือทำงานเบื้องหลังอีกต่อไป มันเข้าไปช่วยในเรื่องส่วนตัวมากขึ้น กลายเป็นเพื่อนคู่คิด ที่ช่วยสะท้อนตัวตนของผู้ใช้ออกมาให้ชัดขึ้น เห็นได้จาก 3 อันดับแรกจากการใช้งาน Generative AI ยอดนิยมในปีนี้ ได้แก่ ใช้บำบัดจิตใจ/เป็นเพื่อน, จัดระเบียบชีวิต, และค้นหาจุดหมาย
ส่วนอันดับที่ 4 และ 5 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว นั่นก็คือ ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียน และเขียนโค้ด
เมื่อดูจากประเภทการใช้งาน พบว่าคนส่วนใหญ่ใช้ Generative AI ไว้ช่วยในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต ทั้งงาน บำบัดจิตใจ มากกว่าการเขียนโค้ด หรือสรุปรายงานแบบเดิม รวมถึงใช้ AI เพื่อถามสิ่งที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น "เรากำลังทำอะไรอยู่กับชีวิต?" หรือ "สิ่งนี้ตรงกับคุณค่าที่เราเชื่อไหม?"
นอกจากนี้ ปีนี้ยังมีเคสการใช้ Generative AI ที่ติดอันดับเพิ่มมาใหม่ เช่น ขอคำปรึกษาด้านภาษี (อันดับ 32), ปรึกษาวิธีเลี้ยงลูก (อันดับ 42), ช่วยคุยกับหมอได้ดีขึ้น (อันดับ 78), เลี่ยงการประชุม (อันดับ 86), และค้นหาศาสนา (อันดับ 89) (การจัดอันดับที่เหลือ อ่านได้ที่นี่)
อย่างไรก็ตาม หลายคนเริ่มตั้งคำถามเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ความลำเอียงทางการเมือง และการที่ AI บางรุ่น ไม่จดจำอะไรเกี่ยวกับผู้ใช้ได้ ทั้งที่ผู้ใช้บางคนก็อยากให้จำให้ได้บ้าง เพราะจะได้คุยกันลื่น ๆ กว่านี้ รวมทั้งคาดหวังว่าสักวัน AI จะสามารถลงมือทำแทนมนุษย์ได้จริง ๆ (ไม่ใช่แค่ให้คำแนะนำ) และในขณะเดียวกัน มีคนเริ่มกังวลว่า มนุษย์พึ่งพา AI มากเกินไปหรือเปล่า
ที่มา: Harvard Business Review via Filtered.com
Topics:
Generative AI
Artificial Intelligence
Research
Continue reading...