ปัญหาของนักพัฒนาเว็บช่วงหลังที่เจอกันบ่อยคือแม้จะมี API ใหม่ๆ ให้ใช้งาน และหลายครั้งออกเป็นมาตรฐานแล้ว แต่เบราว์เซอร์แต่ละยี่ห้อก็รองรับไม่พร้อมกัน ทำให้นักพัฒนาต้องมาระวังว่าอะไรใช้ได้ไม่ได้ ที่ผ่านมาแม้จะมีการจัดมาตรฐานมาทำเป็นชุดทดสอบ เช่น Interop แต่สุดท้ายนักพัฒนาก็ต้องมาดูเองอยู่ดีว่าเบราว์เซอร์ใดผ่านข้อไหนบ้าง ในงาน Google I/O ปีนี้กูเกิลจึงเปิดตัว Baseline โลโก้แจ้งนักพัฒนาว่าฟีเจอร์ใดพร้อมใช้งานโดยทั่วไปแล้ว
เงื่อนไขที่ฟีเจอร์จะได้เข้า Baseline คือฟีเจอร์นั้นต้องได้รับซัพพอร์ตจาก Chrome, Edge, Firefox, และ Safari มาแล้วสองเวอร์ชั่น คือเวอร์ชั่นปัจจุบัน และเวอร์ชั่นก่อนหน้า ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าผู้ใช้ที่ใช้ฟีเจอร์นี้ไม่ได้จะเหลือน้อยแล้ว
แนวทางนี้ทำให้โครงการต่างๆ สามารถเลือกใช้ฟีเจอร์โดยระบุว่าจะซัพพอร์ต Baseline แทนที่จะระบุเวอร์ชั่นเบราว์เซอร์ตายตัว และเมื่อมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้เข้า Baseline ก็ใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ทีมงานยังตัดเวอร์ชั่นรายปี เช่น ปลายปีนี้จะตัดฟีเจอร์ออกมาเป็น Baseline 2024 สำหรับโครงการที่ต้องการล็อกฟีเจอร์ที่ใช้งานได้ และไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานบ่อยๆ
ตอนนี้ MDN และ web.dev จะแสดงโลโก้ Baseline ในฟีเจอร์ที่เข้าข่าย และอนาคตจะมีเครื่องมือสำหรับแสดงว่าไลบรารีใดใช้ฟีเจอร์ตาม Baseline รวมถึงบทความแนะนำต่างๆ ว่าไม่ได้แนะนำให้ใช้ฟีเจอร์เกิน Baseline
ที่มา - web.dev
Topics:
Open Standard
Internet
อ่านต่อ...
เงื่อนไขที่ฟีเจอร์จะได้เข้า Baseline คือฟีเจอร์นั้นต้องได้รับซัพพอร์ตจาก Chrome, Edge, Firefox, และ Safari มาแล้วสองเวอร์ชั่น คือเวอร์ชั่นปัจจุบัน และเวอร์ชั่นก่อนหน้า ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าผู้ใช้ที่ใช้ฟีเจอร์นี้ไม่ได้จะเหลือน้อยแล้ว
แนวทางนี้ทำให้โครงการต่างๆ สามารถเลือกใช้ฟีเจอร์โดยระบุว่าจะซัพพอร์ต Baseline แทนที่จะระบุเวอร์ชั่นเบราว์เซอร์ตายตัว และเมื่อมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้เข้า Baseline ก็ใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ทีมงานยังตัดเวอร์ชั่นรายปี เช่น ปลายปีนี้จะตัดฟีเจอร์ออกมาเป็น Baseline 2024 สำหรับโครงการที่ต้องการล็อกฟีเจอร์ที่ใช้งานได้ และไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานบ่อยๆ
ตอนนี้ MDN และ web.dev จะแสดงโลโก้ Baseline ในฟีเจอร์ที่เข้าข่าย และอนาคตจะมีเครื่องมือสำหรับแสดงว่าไลบรารีใดใช้ฟีเจอร์ตาม Baseline รวมถึงบทความแนะนำต่างๆ ว่าไม่ได้แนะนำให้ใช้ฟีเจอร์เกิน Baseline
ที่มา - web.dev
Topics:
Open Standard
Internet
อ่านต่อ...