โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ดําเนินงานภายใต้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ไอบีเอ็ม เปิดตัวโมเดลที่พัฒนาด้วย watsonx.data และ watsonx.ai เชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลัง ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการต่างๆ และ งานวิจัยทางการแพทย์ เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกและเป็นข้อมูลประกอบสนับสนุนการวินิจฉัยของแพทย์
ศ. (เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. อธิบายว่า โมเดลดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์สามารถส่งคําสั่งตรวจแล็บเพิ่มเติมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการป้อนข้อมูลด้วยมือ (Manual) และยังเชื่อมโยงตารางการให้บริการของแล็บอัตโนมัติ พร้อมบริหารจัดการผลตรวจให้พร้อม สําหรับการนัดหมายติดตามอาการของแพทย์ในครั้งต่อไป
ผศ. นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. ยกตัวอย่างให้ฟังว่าหลังจากนี้แพทย์จะสามารถใช้ AI เพื่อตัดสินใจว่าจะส่งตรวจเพิ่มเติมแล็บตรงไหนบ้าง เช่น การตรวจเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และเมื่อตัดสินใจแล้วก็จะมีระบบช่วยนัดหมายรองรับต่อ
โมเดลที่เปิดตัวไปนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และลดเวลาการรอรับบริการของผู้ป่วย จากเดิมที่จะต้องให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานเหล่านี้เองด้วยมือในทุกขั้นตอนตั้งแต่การกรอกประวัติ การตัดสินใจส่งตรวจเพิ่มเติมในแล็บต่าง ๆ การหาคิวว่าง โดย รศ. นพ. นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ อธิบายว่าจะช่วยประหยัดไปได้ประมาณ 30-45 นาทีต่อคน
นอกจากนี้ โมเดลดังกล่าวจะช่วยทำทุกอย่างให้เป็นระบบอัตโนมัติ และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ด้วยข้อมูลเชิงลึกรอบด้านที่ถูกต้อง แม่นยํา เป็นประโยชน์ของแพทย์รุ่นใหม่ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการในช่วงเวลาพิเศษ
นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด สรุปปิดท้ายว่า หนึ่งในเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2025 คือการนำ Agentic AI หรือ AI ที่ไม่ได้ให้แค่ข้อมูลเชิงลึกแต่นำข้อมูลเชิงลึกไปจัดการต่อโดยอัตโนมัติมาใช้ ซึ่งกรณีของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ก็ถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปรับตัวเพื่อนำ Agentic AI มาใช้
ที่มา: IBM
Topics:
Artificial Intelligence
Health
Hospital
Continue reading...
ศ. (เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. อธิบายว่า โมเดลดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์สามารถส่งคําสั่งตรวจแล็บเพิ่มเติมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการป้อนข้อมูลด้วยมือ (Manual) และยังเชื่อมโยงตารางการให้บริการของแล็บอัตโนมัติ พร้อมบริหารจัดการผลตรวจให้พร้อม สําหรับการนัดหมายติดตามอาการของแพทย์ในครั้งต่อไป
ผศ. นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. ยกตัวอย่างให้ฟังว่าหลังจากนี้แพทย์จะสามารถใช้ AI เพื่อตัดสินใจว่าจะส่งตรวจเพิ่มเติมแล็บตรงไหนบ้าง เช่น การตรวจเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และเมื่อตัดสินใจแล้วก็จะมีระบบช่วยนัดหมายรองรับต่อ
โมเดลที่เปิดตัวไปนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และลดเวลาการรอรับบริการของผู้ป่วย จากเดิมที่จะต้องให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานเหล่านี้เองด้วยมือในทุกขั้นตอนตั้งแต่การกรอกประวัติ การตัดสินใจส่งตรวจเพิ่มเติมในแล็บต่าง ๆ การหาคิวว่าง โดย รศ. นพ. นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ อธิบายว่าจะช่วยประหยัดไปได้ประมาณ 30-45 นาทีต่อคน
นอกจากนี้ โมเดลดังกล่าวจะช่วยทำทุกอย่างให้เป็นระบบอัตโนมัติ และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ด้วยข้อมูลเชิงลึกรอบด้านที่ถูกต้อง แม่นยํา เป็นประโยชน์ของแพทย์รุ่นใหม่ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการในช่วงเวลาพิเศษ
นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด สรุปปิดท้ายว่า หนึ่งในเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2025 คือการนำ Agentic AI หรือ AI ที่ไม่ได้ให้แค่ข้อมูลเชิงลึกแต่นำข้อมูลเชิงลึกไปจัดการต่อโดยอัตโนมัติมาใช้ ซึ่งกรณีของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ก็ถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปรับตัวเพื่อนำ Agentic AI มาใช้
ที่มา: IBM
Topics:
Artificial Intelligence
Health
Hospital
Continue reading...