- เข้าร่วม
- 1 มิถุนายน 2011
- ข้อความ
- 9,788
- คะแนนปฏิกิริยา
- 0
- คะแนน
- 0
การใส่อุปกรณ์สวมใส่เพื่อวัดหรือตรวจจับค่าต่างๆ ด้านสุขภาพไม่น่าใช่สิ่งที่ไกลตัวสำหรับคนยุคนี้แล้ว แต่ฟอร์แมทของอุปกรณ์ลักษณะนี้จะคุ้นเคยกันในรูปของสมาร์ทวอทช์เป็นหลัก
ขณะที่แหวนอัจฉริยะเองจริงๆ ก็ไม่ใช่ของใหม่ แบรนด์ที่ทำแหวนออกมาวัดค่าสุขภาพก็มีมาก่อนหน้านี้หลายแบรนด์แล้ว แต่แค่อาจจะไม่ได้เข้ามาทำตลาดในไทย ขณะที่ในแง่ฟอร์แมทการเป็นแหวน ส่วนตัวผมค่อนข้างสนใจมากๆ ว่ามันน่าจะเข้ามาแก้ pain point บางอย่างของสมาร์ทวอทช์ได้ หรืออาจจะสามารถใช้ทดแทนสมาร์ทวอทช์ได้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งก็พบว่า มันทดแทนได้และไม่ได้นั้น มันขึ้นอยู่กับโจทย์คนใส่มากกว่า
ภายนอกของ Galaxy Ring เป็นไททาเนียมเกรด 5 น้ำหนักเบามากๆ ประมาณ 2-3 กรัมเท่านั้น (แล้วแต่ขนาด) แต่ความหนาอาจจะหนากว่าแหวนแฟชันที่ใส่กันทั่วไปอยู่เล็กน้อย
สีที่ผมเลือกมาคือสีเงิน ที่มีพื้นผิวแบบด้าน ไม่สะท้อนแสง สวยงามไปอีกแบบ และด้วยขนาดของแหวนที่ใหญ่กว่าแหวนทั่วไปเล็กน้อย ตอนใช้งานจริงย่อมกระแทกกับสิ่งของต่างๆ ได้ค่อนข้างง่าย ช่วงแรกๆ ก็มีพะวงบ้างว่าแหวนจะเป็นรอย โดยเฉพาะด้านในข้อนิ้วที่หยิบจับสิ่งของต่างๆ ก่อนจะพบว่าไม่มีร่องรอยใดๆ บนตัวแหวนเลย
ด้านในของแหวนจะมีตำแหน่งของเซ็นเซอร์อยู่ที่ด้านหนึ่ง ซึ่งซัมซุงแนะนำว่าให้นำด้านที่เป็นเซ็นเซอร์ สวมเข้าไปที่บริเวณข้อพับของนิ้ว (ด้านฝ่ามือ) โดยที่ขอบนอกของแหวน จะมีสัญลักษณ์ช่วยบอกตำแหน่งเอาไว้ด้วย
การใช้งานครั้งแรก เปิดเคสออกแล้วกดปุ่มตรงกลางเคสค้างไว้แปปนึง หน้าป๊อปอัพจะเด้งขึ้นมาบนสมาร์ทโฟน Galaxy เพื่อ pair และเชื่อมต่อ
ฟังก์ชันหลักๆ ของ Galaxy Ring จะเป็นการตรวจจับเรื่องสุขภาพคล้ายๆ กับสมาร์ทวอทช์ ได้แก่ ตรวจจับการออกกำลังกาย, การเต้นของหัวใจ, ตรวจจับการนอน และ ตรวจจับอุณหภูมิผิวหนัง ขณะที่การแสดงผลกับแอป Galaxy Health หลักๆ ก็จะมีเรื่องคุณภาพการนอน, การออกกำลังกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, ระดับความเครียด, การมีรอบเดือน
เรื่องของการออกกำลังกาย ปัญหาเดียวของ Galaxy Ring คือไม่เหมาะกับคนที่เล่นเวท เพราะส่งผลต่อการหยิบจับเวทเต็มๆ ด้วยความหนาของแหวน ขณะที่ความแม่นยำในการนับก้าวของ Galaxy Ring หลังจากใช้งานช่วงแรกๆ พบว่า ตัวเลขคลาดเคลื่อนกับนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ที่ใช้อยู่ค่อนข้างมาก (คนละยี่ห้อ) ก็เลยแอบคิดว่า หรือพอเป็นแหวนแล้วไม่ค่อยแม่น ก่อนที่ MKBHD จะทำ Short ทดสอบการนับก้าว แล้วพบว่า Galaxy Ring นี่แหละ ใกล้เคียงกับจำนวนก้าวจริงๆ ที่สุดแล้ว
ในภาพรวมแม้การใช้งาน Galaxy Ring อาจจะคล้ายกับสมาร์ทวอทช์ แต่จุดที่รู้สึกว่าเป็นทีเด็ดทีขาด คือการสวมใส่ได้ง่ายกว่าตอนนอน เพราะส่วนตัวเป็นคนที่อยากรู้คุณภาพการนอนของตัวเองมาก แต่ก็ไม่สามารถใส่สมาร์ทวอทช์นอนได้ ด้วยขนาดและน้ำหนัก ขณะที่ Galaxy Ring ตอบโจทย์ตรงนี้ค่อนข้างมาก
การตรวจจับคุณภาพการนอนบน Galaxy Health แน่นอนว่าค่อนข้างละเอียดมาก ทั้งระดับความลึกของการนอน (sleep stages), ระดับออกซิเจนในเลือด, อุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นหัวใจและอัตราการหายใจ ซึ่งส่วนตัวอยากรู้แค่เรื่องของ sleep stages เป็นหลัก เพื่อหาคำตอบให้ตัวเอง เวลาตื่นมาตอนเช้าแล้วไม่สดชื่น รู้สึกนอนไม่พอ แม้จะนอนมาหลายชั่วโมงก็ตาม
นอกจากนี้ ตัวแหวนแม้จะรองรับการค้นหาผ่านแอป Find ของซัมซุงเอง แต่ด้วยความที่ตัวแหวนเชื่อมต่อผ่านแค่บลูทูธเท่านั้น ไม่มีการองรับ UWB รวมไปถึงไม่ได้มีลำโพงภายในตัว ทำให้รู้สึกว่า หากทำแหวนก็แทบไม่รู้สึกว่าฟังก์ชัน Find จะช่วยได้มากเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะการหล่นหายอยู่ในห้อง ที่ตัวแหวนส่งเสียงไม่ได้ หรือตามหาทิศทางตำแหน่งของแหวนไม่ได้ ก็คือได้แค่ก้มๆ เงยๆ มองหา และก็พึ่งการกระพริบของไฟ LED ที่เซ็นเซอร์ของแหวนเวลาตามหาเท่านั้น
สุดท้ายตัวแหวนยังมีฟังก์ชัน gesture control เสริมเข้ามาเล็กๆ น้อยๆ ด้วย อย่างการทำนิ้ว (ที่สวมแหวน) จีบ สำหรับการกดชัตเตอร์ถ่ายรูปกับสมาร์ทโฟนระยะไกล
ขนาดแบตเตอรี่ของ Galaxy Ring จะแตกต่างกันไปตามขนาดไซส์ของตัวแหวน ขณะที่ระยะเวลาการใช้งานรวมๆ ใกล้เคียงจากที่ซัมซุงเคลมไว้ คือราวๆ 5-6 วันถึงจะหมด (ซัมซุงเคลมไว้ที่ 6-7 วัน)
ส่วนการชาร์จ ตัว Galaxy Ring จะมาพร้อมเคสที่รองรับการชาร์จในตัว เป็นพอร์ต USB-C เมื่อเสียบแหวนเข้าไปในแท่นชาร์จ รอบๆ ฐานจะขึ้นไฟบอกปริมาณของแบตเตอรี่ของแหวน ณ ขณะนั้นๆ โดยใช้เวลาประมาณ 60-80 นาทีเต็ม และเมื่อเอาแหวนออกจากเคส และกดปุ่มตรงกลาง เคสก็จะแสดงไฟโชว์ปริมาณแบตที่เหลือของตัวเคสด้วย
ด้านซ้าย ไฟโชว์ปริมาณแบตเตอรี่ของแหวน | ด้านขวา ไฟโชว์ปริมาณแบตเตอรี่ของเคส
ส่วนตัวสำหรับผมแล้วพบว่า Galaxy Ring ตอบโจทย์ผมแบบครึ่งๆ กลางๆ
กล่าวคือส่วนตัวเป็นคนที่ แต่เดิม ไม่ได้อยากได้สมาร์ทวอทช์ เพราะไม่ได้อยากได้หน้าจอใดๆ เพิ่ม และไม่ได้อยากรับการแจ้งเตือนเพิ่มจากที่ก็ค่อนข้างเยอะอยู่แล้วบนสมาร์ทโฟน แต่ก็อยากได้อุปกรณ์ตรวจจับด้านสุขภาพและการนอน ซึ่งกรณีนี้ Galaxy Ring ตอบโจทย์ ตัวแหวนและ Galaxy Health เองก็รองรับการตรวจจับการออกกำลังกายอัตโนมัติด้วย
แต่การตรวจจับด้านสุขภาพตรงนี้ก็มีข้อจำกัด ด้วยขนาดของแหวนที่ไม่ได้สามารถยัดเซ็นเซอร์ตรวจจับเข้ามาได้มาก ทำให้การออกกำลังกายในหลายๆ กรณีก็ยังจำเป็นต้องพกสมาร์ทโฟนอยู่ อย่างการไม่รองรับ GPS ในตัว หรือไม่สามารถควบคุมเพลง โดยไม่ต้องพึ่งสมาร์ทโฟนได้ ไปจนถึงการสวมใส่ที่นิ้ว ที่เป็นอุปสรรคกับการเล่นกีฬาหลายๆ อย่างที่ต้องใช้มือหยิบจับ ที่ก็อาจทำให้สมาร์ทวอทช์ดูตอบโจทย์ได้อย่างรอบด้านมากกว่าหากเทียบกันตรงๆ
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว สำหรับโจทย์ของผม Galaxy Ring ดูจะเป็นอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ ที่เสริมจาก Galaxy Watch อีกที มากกว่าที่จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้เดี่ยวๆ 100% แต่ก็ขึ้นอยู่กับโจทย์และไลฟ์สไตล์ของคนสวมใส่อีกที ที่อาจจะสามารถการใช้งานแหวนราคา 14,900 บาท ได้อย่างคุ้มค่าโดยไม่ต้องพึ่งสมาร์ทวอทช์ก็เป็นได้
Topics:
Samsung Galaxy Ring
Samsung
Wearable
Continue reading...
ขณะที่แหวนอัจฉริยะเองจริงๆ ก็ไม่ใช่ของใหม่ แบรนด์ที่ทำแหวนออกมาวัดค่าสุขภาพก็มีมาก่อนหน้านี้หลายแบรนด์แล้ว แต่แค่อาจจะไม่ได้เข้ามาทำตลาดในไทย ขณะที่ในแง่ฟอร์แมทการเป็นแหวน ส่วนตัวผมค่อนข้างสนใจมากๆ ว่ามันน่าจะเข้ามาแก้ pain point บางอย่างของสมาร์ทวอทช์ได้ หรืออาจจะสามารถใช้ทดแทนสมาร์ทวอทช์ได้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งก็พบว่า มันทดแทนได้และไม่ได้นั้น มันขึ้นอยู่กับโจทย์คนใส่มากกว่า
ดีไซน์
ภายนอกของ Galaxy Ring เป็นไททาเนียมเกรด 5 น้ำหนักเบามากๆ ประมาณ 2-3 กรัมเท่านั้น (แล้วแต่ขนาด) แต่ความหนาอาจจะหนากว่าแหวนแฟชันที่ใส่กันทั่วไปอยู่เล็กน้อย
สีที่ผมเลือกมาคือสีเงิน ที่มีพื้นผิวแบบด้าน ไม่สะท้อนแสง สวยงามไปอีกแบบ และด้วยขนาดของแหวนที่ใหญ่กว่าแหวนทั่วไปเล็กน้อย ตอนใช้งานจริงย่อมกระแทกกับสิ่งของต่างๆ ได้ค่อนข้างง่าย ช่วงแรกๆ ก็มีพะวงบ้างว่าแหวนจะเป็นรอย โดยเฉพาะด้านในข้อนิ้วที่หยิบจับสิ่งของต่างๆ ก่อนจะพบว่าไม่มีร่องรอยใดๆ บนตัวแหวนเลย
ด้านในของแหวนจะมีตำแหน่งของเซ็นเซอร์อยู่ที่ด้านหนึ่ง ซึ่งซัมซุงแนะนำว่าให้นำด้านที่เป็นเซ็นเซอร์ สวมเข้าไปที่บริเวณข้อพับของนิ้ว (ด้านฝ่ามือ) โดยที่ขอบนอกของแหวน จะมีสัญลักษณ์ช่วยบอกตำแหน่งเอาไว้ด้วย
การใช้งาน
การใช้งานครั้งแรก เปิดเคสออกแล้วกดปุ่มตรงกลางเคสค้างไว้แปปนึง หน้าป๊อปอัพจะเด้งขึ้นมาบนสมาร์ทโฟน Galaxy เพื่อ pair และเชื่อมต่อ
ฟังก์ชันหลักๆ ของ Galaxy Ring จะเป็นการตรวจจับเรื่องสุขภาพคล้ายๆ กับสมาร์ทวอทช์ ได้แก่ ตรวจจับการออกกำลังกาย, การเต้นของหัวใจ, ตรวจจับการนอน และ ตรวจจับอุณหภูมิผิวหนัง ขณะที่การแสดงผลกับแอป Galaxy Health หลักๆ ก็จะมีเรื่องคุณภาพการนอน, การออกกำลังกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, ระดับความเครียด, การมีรอบเดือน
เรื่องของการออกกำลังกาย ปัญหาเดียวของ Galaxy Ring คือไม่เหมาะกับคนที่เล่นเวท เพราะส่งผลต่อการหยิบจับเวทเต็มๆ ด้วยความหนาของแหวน ขณะที่ความแม่นยำในการนับก้าวของ Galaxy Ring หลังจากใช้งานช่วงแรกๆ พบว่า ตัวเลขคลาดเคลื่อนกับนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ที่ใช้อยู่ค่อนข้างมาก (คนละยี่ห้อ) ก็เลยแอบคิดว่า หรือพอเป็นแหวนแล้วไม่ค่อยแม่น ก่อนที่ MKBHD จะทำ Short ทดสอบการนับก้าว แล้วพบว่า Galaxy Ring นี่แหละ ใกล้เคียงกับจำนวนก้าวจริงๆ ที่สุดแล้ว
ในภาพรวมแม้การใช้งาน Galaxy Ring อาจจะคล้ายกับสมาร์ทวอทช์ แต่จุดที่รู้สึกว่าเป็นทีเด็ดทีขาด คือการสวมใส่ได้ง่ายกว่าตอนนอน เพราะส่วนตัวเป็นคนที่อยากรู้คุณภาพการนอนของตัวเองมาก แต่ก็ไม่สามารถใส่สมาร์ทวอทช์นอนได้ ด้วยขนาดและน้ำหนัก ขณะที่ Galaxy Ring ตอบโจทย์ตรงนี้ค่อนข้างมาก
การตรวจจับคุณภาพการนอนบน Galaxy Health แน่นอนว่าค่อนข้างละเอียดมาก ทั้งระดับความลึกของการนอน (sleep stages), ระดับออกซิเจนในเลือด, อุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นหัวใจและอัตราการหายใจ ซึ่งส่วนตัวอยากรู้แค่เรื่องของ sleep stages เป็นหลัก เพื่อหาคำตอบให้ตัวเอง เวลาตื่นมาตอนเช้าแล้วไม่สดชื่น รู้สึกนอนไม่พอ แม้จะนอนมาหลายชั่วโมงก็ตาม
นอกจากนี้ ตัวแหวนแม้จะรองรับการค้นหาผ่านแอป Find ของซัมซุงเอง แต่ด้วยความที่ตัวแหวนเชื่อมต่อผ่านแค่บลูทูธเท่านั้น ไม่มีการองรับ UWB รวมไปถึงไม่ได้มีลำโพงภายในตัว ทำให้รู้สึกว่า หากทำแหวนก็แทบไม่รู้สึกว่าฟังก์ชัน Find จะช่วยได้มากเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะการหล่นหายอยู่ในห้อง ที่ตัวแหวนส่งเสียงไม่ได้ หรือตามหาทิศทางตำแหน่งของแหวนไม่ได้ ก็คือได้แค่ก้มๆ เงยๆ มองหา และก็พึ่งการกระพริบของไฟ LED ที่เซ็นเซอร์ของแหวนเวลาตามหาเท่านั้น
สุดท้ายตัวแหวนยังมีฟังก์ชัน gesture control เสริมเข้ามาเล็กๆ น้อยๆ ด้วย อย่างการทำนิ้ว (ที่สวมแหวน) จีบ สำหรับการกดชัตเตอร์ถ่ายรูปกับสมาร์ทโฟนระยะไกล
แบตเตอรี่และการชาร์จ
ขนาดแบตเตอรี่ของ Galaxy Ring จะแตกต่างกันไปตามขนาดไซส์ของตัวแหวน ขณะที่ระยะเวลาการใช้งานรวมๆ ใกล้เคียงจากที่ซัมซุงเคลมไว้ คือราวๆ 5-6 วันถึงจะหมด (ซัมซุงเคลมไว้ที่ 6-7 วัน)
ส่วนการชาร์จ ตัว Galaxy Ring จะมาพร้อมเคสที่รองรับการชาร์จในตัว เป็นพอร์ต USB-C เมื่อเสียบแหวนเข้าไปในแท่นชาร์จ รอบๆ ฐานจะขึ้นไฟบอกปริมาณของแบตเตอรี่ของแหวน ณ ขณะนั้นๆ โดยใช้เวลาประมาณ 60-80 นาทีเต็ม และเมื่อเอาแหวนออกจากเคส และกดปุ่มตรงกลาง เคสก็จะแสดงไฟโชว์ปริมาณแบตที่เหลือของตัวเคสด้วย
สรุป
ส่วนตัวสำหรับผมแล้วพบว่า Galaxy Ring ตอบโจทย์ผมแบบครึ่งๆ กลางๆ
กล่าวคือส่วนตัวเป็นคนที่ แต่เดิม ไม่ได้อยากได้สมาร์ทวอทช์ เพราะไม่ได้อยากได้หน้าจอใดๆ เพิ่ม และไม่ได้อยากรับการแจ้งเตือนเพิ่มจากที่ก็ค่อนข้างเยอะอยู่แล้วบนสมาร์ทโฟน แต่ก็อยากได้อุปกรณ์ตรวจจับด้านสุขภาพและการนอน ซึ่งกรณีนี้ Galaxy Ring ตอบโจทย์ ตัวแหวนและ Galaxy Health เองก็รองรับการตรวจจับการออกกำลังกายอัตโนมัติด้วย
แต่การตรวจจับด้านสุขภาพตรงนี้ก็มีข้อจำกัด ด้วยขนาดของแหวนที่ไม่ได้สามารถยัดเซ็นเซอร์ตรวจจับเข้ามาได้มาก ทำให้การออกกำลังกายในหลายๆ กรณีก็ยังจำเป็นต้องพกสมาร์ทโฟนอยู่ อย่างการไม่รองรับ GPS ในตัว หรือไม่สามารถควบคุมเพลง โดยไม่ต้องพึ่งสมาร์ทโฟนได้ ไปจนถึงการสวมใส่ที่นิ้ว ที่เป็นอุปสรรคกับการเล่นกีฬาหลายๆ อย่างที่ต้องใช้มือหยิบจับ ที่ก็อาจทำให้สมาร์ทวอทช์ดูตอบโจทย์ได้อย่างรอบด้านมากกว่าหากเทียบกันตรงๆ
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว สำหรับโจทย์ของผม Galaxy Ring ดูจะเป็นอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ ที่เสริมจาก Galaxy Watch อีกที มากกว่าที่จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้เดี่ยวๆ 100% แต่ก็ขึ้นอยู่กับโจทย์และไลฟ์สไตล์ของคนสวมใส่อีกที ที่อาจจะสามารถการใช้งานแหวนราคา 14,900 บาท ได้อย่างคุ้มค่าโดยไม่ต้องพึ่งสมาร์ทวอทช์ก็เป็นได้
Topics:
Samsung Galaxy Ring
Samsung
Wearable
Continue reading...