การตัดสินใจของคน ๆ หนึ่ง กำลังทำทั้งโลกวุ่นวาย และอาจทำให้บริษัทที่มูลค่ามากที่สุดในโลก เสียหายหลายแสนล้านดอลลาร์ฯ …
นับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดี Donald Trump ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน จาก 10%, บวกอีก 10%, เพิ่มไปอีก 34%, ท็อปอัปอีก 50%, ทุ่มเพิ่มอีก 21% หลังโมโหที่จีนขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เป็น 84% และล่าสุด ประกาศสงครามเพิ่มภาษีจีน (อยู่อย่างนั้น) เป็น 145% แล้ว
แต่ Trump ยังใจดีกับประเทศอื่น ๆ สั่งชะลอการขึ้นภาษีเป็นเวลา 90 วัน เพราะติดต่อไปขอเจรจาด้วย ซึ่งก็ไม่ค่อยช่วยให้บริษัทอย่าง Apple ที่มีฐานการผลิตหลักในจีนอยู่ดี เผลอ ๆ เจ็บกว่าเดิม เพราะภาษีนำเข้าจีนพุ่งไป 145% แล้ว และไม่รู้ด้วยว่าจะเพิ่มอีกมั้ย
เรื่องนี้ Trump รับรู้ และมองว่า Apple ควรย้ายฐานผลิตมาสหรัฐฯ เพราะมีแรงงานและทรัพยากรเพียงพอ และไหน ๆ Apple มีแผนลงทุน 5 แสนล้านดอลลาร์ฯ อยู่แล้วด้วย (แม้ Apple หมายถึงลงทุนระบบ AI ไม่ใช่การผลิต iPhone แต่อย่างไร)
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ Howard Lutnick เสริมแกร่งความคิด Trump ยืนยันว่า มาตรการเพิ่มภาษีนำเข้าใหม่ อาจทำให้แรงงานหลายล้านคนประกอบ iPhone ในสหรัฐฯ ได้
คำถามคือ แล้ว Apple จะผลิต iPhone ในอเมริกาได้จริงมั้ย? ถ้าทำได้จริง จะกระทบเศรษฐกิจมากแค่ไหน? แล้วราคา iPhone ซึ่ง Made in USA จะพุ่งสูงขึ้นแค่ไหน?
ต้นทุน iPhone 1 เครื่อง ที่อาจเพิ่มขึ้นมาก
สมัยก่อน iPhone หนึ่งเครื่อง คิดค้นจากบริษัทอเมริกัน ผลิตที่จีนและอินเดีย ส่งขายไปทั่วโลก รวมถึงสินค้าอื่น ๆ เช่น AirPods ที่ผลิตในเวียดนาม, และ iMac ที่ประกอบในมาเลเซีย กลยุทธ์นี้เวิร์คจนทำให้ Apple กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก เคยสูงถึง 3.70 ล้านล้านดอลลาร์ฯ
ซึ่งถ้าจะพูดว่า iPhone เป็นมือถือลูกเสี้ยว ก็คงไม่ผิด ตามข้อมูลของ TechInsights และ iFixit บอกว่า iPhone 16 Pro มีชิ้นส่วนต่าง ๆ จากประมาณ 40 ประเทศ ทำให้ต้นทุนต่างกันไป โดย iPhone 85-90% ถูกนำมาประกอบในจีน ดังนี้:
เมื่อรวมทั้งหมด ต้นทุน iPhone 16 Pro ความจุ 256GB หนึ่งครึ่งเกือบ 550 ดอลลาร์ฯ และเมื่อรวมต้นทุนการประกอบ และการทดสอบแล้ว ต้นทุนรวมของ Apple จะอยู่ที่ประมาณ 580 ดอลลาร์ฯ แต่เมื่อโดนภาษีนำเข้าจีนใหม่ 145% ต้นทุนจะพุ่งขึ้นเป็น 1,420 ดอลลาร์ฯ ซึ่งจะกระทบต่ออัตรากำไรของ Apple อย่างมาก
ถ้า iPhone จะ Made in USA จริง ๆ จะเป็นอย่างไร?
“ก็ย้ายฐานผลิตมาที่อเมริกาสิ” นี่คือสิ่งที่โฆษกทำเนียบขาว Karoline Leavitt ยืนยันคำพูดของ Trump ที่เชื่อว่า Apple สามารถย้ายฐานการผลิต iPhone มาที่สหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์จาก Bank of America (BofA) บอกว่าการย้ายฐานการผลิต ไม่ใช่แค่เรื่องของการตั้งโรงงานในอเมริกาเท่านั้น
การย้ายโรงงานสำหรับประกอบ iPhone ไปที่สหรัฐฯ เฉย ๆ จะทำให้ต้นทุนการผลิต iPhone เพิ่มขึ้นประมาณ 25% ซึ่งส่วนใหญ่มาจากค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น แต่ถ้า Apple ต้องนำเข้าส่วนประกอบจากจีน และจ่ายภาษีนำเข้า 125% อยู่ดี ต้นทุนอาจเพิ่มขึ้นถึง 90% (ข้อมูลก่อนที่ Trump ประกาศเพิ่มภาษีจีนเป็น 145%)
ปัจจุบัน iPhone ส่วนใหญ่ถูกประกอบในโรงงานขนาดใหญ่ของ Foxconn ซึ่งมีชื่อเรียกว่า iPhone City ตั้งอยู่ในเมืองเจิ้งโจว ด้วยแรงงานมากถึง 300,000 คนที่พักอาศัยอยู่ในโรงงาน ทำงานกะยาว ๆ และได้รับค่าจ้างที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ
ซึ่ง Tim Cook เคยพูดประเด็นนี้ในปี 2017 โดยย้ำว่า Apple สร้างโรงงานในจีนไม่ใช่เพราะแค่ค่าแรงงานถูกอย่างเดียว แต่จีนได้เปรียบตรงที่มีวิศวกรเครื่องมือที่มีทักษะสูงเยอะมาก ๆ มากกว่าที่สหรัฐฯ มีด้วยซ้ำ
แม้ Trump แย้งว่าให้ใช้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิต แต่การประกอบ iPhone ต้องใช้ความแม่นยำระดับสูงด้วยมนุษย์ ตั้งแต่การติดหน้าจอ การติดตั้งโมดูลกล้อง ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพขั้นสุดท้าย ซึ่งระบบอัตโนมัติยังไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้สมบูรณ์แบบ หรือต่อให้ทำได้ ระบบอัตโนมัติยังต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และการออกแบบซ้ำหลายปี
นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายด้านโลจิสติกส์อีกด้วย เพราะซัพพลายเชนของจีนส่วนใหญ่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นคลัสเตอร์ Apple หนึ่งแห่ง อาจมีซัพพลายเออร์ 200 ราย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน ช่วยลดเวลา และต้นทุนการขนส่ง
แต่สหรัฐฯ ไม่ได้มีซัพพลายเชนแบบจีน และถ้าตัดสินใจสร้างซัพพลายเชนแบบนี้ขึ้นมาใหม่ ต้องลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ฯ และใช้เวลาประมาณ 3-5 ปีถึงจะสมบูรณ์แบบ ซึ่งอาจไม่รับประกันว่าสามารถทำได้จริง
เช่นในปี 2017 Foxconn ประกาศสร้างโรงงานผลิตจอทีวีขนาดใหญ่ในรัฐวิสคอนซิน ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานได้ 13,000 ตำแหน่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว แผนนี้สร้างงานได้ 13,000 ตำแหน่ง แต่ในความเป็นจริง สร้างได้แค่ 1,000 ตำแหน่ง แถมการผลิตในสหรัฐฯ แพงกว่าการผลิตในจีน 4-5 เท่า
เห็นเงียบ ๆ แต่ก็เตรียมตัวบ้างแล้ว
ถึง Apple ยังไม่เคยออกแถลงการณ์แม้แต่ฉบับเดียวว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไง แต่มีข่าวข้างกันประเด็น Apple สั่งเพิ่มการนำเข้า iPhone ที่ผลิตในอินเดียไปขายในสหรัฐฯ เพื่อหวังชดเชยภาษีนำเข้าของอินเดียที่ต่ำกว่าจีนที่เป็นฐานการผลิตหลัก
โดยตัวแทนของหน่วยงานในอินเดียเปิดเผยว่า Apple เร่งขนส่ง iPhone และสินค้าอื่นด้วยเครื่องบินจำนวน 5 ลำ ออกจากประเทศอินเดียไปยังปลายทางสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ทั้งหมดใช้เวลาเพียง 3 วัน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากกว่าปกติ
นอกจากนี้ ยังเร่งขน iPhone ออกจากจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งต่างไปจากปกติเพราะเดือนมีนาคมยอดขายสินค้ามักไม่สูง จึงคาดว่า Apple ต้องการนำสินค้าที่มีอัตราภาษีนำเข้าต่ำไปสต็อกในสหรัฐฯ ก่อน เพื่อใช้ขายในช่วงเวลานี้ที่สถานการณ์ภาษีนำเข้าสินค้ายังไม่แน่นอน
ขณะที่แหล่งข่าวของ Reuters บอกว่า หลังจากสหรัฐฯ ออกคำสั่งเลื่อนการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมไป 90 วัน Apple ใช้โอกาสนี้ให้คุ้มที่สุด เร่งเจรจาให้กระบวนศุลกากรที่สนามบิน Chennai ในอินเดียจบเร็วขึ้น จากปกติ 30 ชั่วโมง เหลือ 6 ชั่วโมง เพื่อหวังนำ iPhone ออกไปสหรัฐฯ ด้วยเครื่องบิน 6 ลำ ซึ่งแต่ละลำขนสินค้าได้ 100 ตันต่อเที่ยว นั่นก็แปลว่า iPhone จำนวน 1.5 ล้านเครื่องกำลังถูกขนกลับสหรัฐฯ
ขณะที่คนอเมริกันแห่กันไปซื้อ iPhone ตาม Apple Store ทั่วประเทศ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะกลัวว่าราคา iPhone จะพุ่งขึ้นเร็ว ๆ นี้ โดยพนักงานบอกว่าบรรยากาศในร้านเหมือนช่วงเทศกาล ลูกค้าเข้ามาซื้อแบบตื่นตระหนก และถามเป็นเสียงเดียวกันว่า “iPhone จะขึ้นราคาเมื่อไหร่?”
Apple พยายามรับมือกับสถานการณ์ในตอนนี้อย่างมาก เพราะมูลค่าตลาดหายไปกว่า 640,000 ล้านดอลลาร์ฯ ภายในสามวัน ร่วงหนักที่สุดนับตั้งแต่ยุคฟองสบู่ดอทคอม โดยคาดว่า Apple จะพูดถึงเรื่องนี้เพิ่มในการประชุมผลประกอบการวันที่ 1 พฤษภาคมนี้
ก้าวต่อไปของ Apple จะเป็นอย่างไร?
นักวิเคราะห์ Barclays บอกว่า Apple น่าจะมีทางเลือกแค่สามทาง ซึ่งแต่ละทางไม่ใช่ทางเลือกที่ดีง่าย คือ:
หาก Apple ยอมรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง 15% หรือถ้าผลักภาระไปให้ลูกค้าเพื่อขึ้นราคา ยังไงลูกค้าไม่พอใจแน่นอน แต่ถ้า Apple เปลี่ยนไปนำเข้าจากประเทศที่มีภาษีต่ำกว่า ก็ยังไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดอยู่ดี
ด้าน Bank of America มองว่า สุดท้ายต่อให้ย้ายฐานการผลิตและประกอบ iPhone ไปสหรัฐฯ Apple ต้องได้รับการยกเว้นภาษี สำหรับส่วนประกอบที่นำเข้า ซึ่งเป็นโอกาสที่น้อยมาก ถึงมากที่สุด
แต่นักวิเคราะห์ Forrester กลับมองว่า ถ้า Apple ขึ้นราคา iPhone ก็ไม่ส่งผลกระทบเชิงลบมากนัก เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความจงรักภักดีต่อ Apple ส่วนใหญ่ซื้อ iPhone รุ่นใหม่ทุก 1-2 ปี บางคนถึงนับถอยหลังรอเปิดตัวรุ่นใหม่ข้ามคืน แม้แบรนด์คู่แข่งจะมีฟีเจอร์ที่คล้าย ๆ กันก็ตาม
ที่มา: Business Insider, Wall Street Journal, Bloomberg, CBNC, และ Companies Market Cap
Topics:
Apple
iPhone
iPhone 16 Pro
United States
Donald Trump
Tim Cook
Analysis
Continue reading...
นับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดี Donald Trump ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน จาก 10%, บวกอีก 10%, เพิ่มไปอีก 34%, ท็อปอัปอีก 50%, ทุ่มเพิ่มอีก 21% หลังโมโหที่จีนขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เป็น 84% และล่าสุด ประกาศสงครามเพิ่มภาษีจีน (อยู่อย่างนั้น) เป็น 145% แล้ว
แต่ Trump ยังใจดีกับประเทศอื่น ๆ สั่งชะลอการขึ้นภาษีเป็นเวลา 90 วัน เพราะติดต่อไปขอเจรจาด้วย ซึ่งก็ไม่ค่อยช่วยให้บริษัทอย่าง Apple ที่มีฐานการผลิตหลักในจีนอยู่ดี เผลอ ๆ เจ็บกว่าเดิม เพราะภาษีนำเข้าจีนพุ่งไป 145% แล้ว และไม่รู้ด้วยว่าจะเพิ่มอีกมั้ย
เรื่องนี้ Trump รับรู้ และมองว่า Apple ควรย้ายฐานผลิตมาสหรัฐฯ เพราะมีแรงงานและทรัพยากรเพียงพอ และไหน ๆ Apple มีแผนลงทุน 5 แสนล้านดอลลาร์ฯ อยู่แล้วด้วย (แม้ Apple หมายถึงลงทุนระบบ AI ไม่ใช่การผลิต iPhone แต่อย่างไร)
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ Howard Lutnick เสริมแกร่งความคิด Trump ยืนยันว่า มาตรการเพิ่มภาษีนำเข้าใหม่ อาจทำให้แรงงานหลายล้านคนประกอบ iPhone ในสหรัฐฯ ได้
คำถามคือ แล้ว Apple จะผลิต iPhone ในอเมริกาได้จริงมั้ย? ถ้าทำได้จริง จะกระทบเศรษฐกิจมากแค่ไหน? แล้วราคา iPhone ซึ่ง Made in USA จะพุ่งสูงขึ้นแค่ไหน?
ต้นทุน iPhone 1 เครื่อง ที่อาจเพิ่มขึ้นมาก
สมัยก่อน iPhone หนึ่งเครื่อง คิดค้นจากบริษัทอเมริกัน ผลิตที่จีนและอินเดีย ส่งขายไปทั่วโลก รวมถึงสินค้าอื่น ๆ เช่น AirPods ที่ผลิตในเวียดนาม, และ iMac ที่ประกอบในมาเลเซีย กลยุทธ์นี้เวิร์คจนทำให้ Apple กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก เคยสูงถึง 3.70 ล้านล้านดอลลาร์ฯ
ซึ่งถ้าจะพูดว่า iPhone เป็นมือถือลูกเสี้ยว ก็คงไม่ผิด ตามข้อมูลของ TechInsights และ iFixit บอกว่า iPhone 16 Pro มีชิ้นส่วนต่าง ๆ จากประมาณ 40 ประเทศ ทำให้ต้นทุนต่างกันไป โดย iPhone 85-90% ถูกนำมาประกอบในจีน ดังนี้:
- โปรเซสเซอร์ A18 Pro จากไต้หวัน: 90.85 ดอลลาร์ฯ
- หน้าจอ จากเกาหลีใต้: 37.97 ดอลลาร์ฯ
- แบตเตอรี่ จากจีน: 4.10 ดอลลาร์ฯ
- โมเด็ม 5G จากเกาหลีใต้: 26.62 ดอลลาร์ฯ
- หน่วยความจำ 8 GB จากสหรัฐอเมริกา: 21.80 ดอลลาร์ฯ
- หน่วยเก็บข้อมูล 256 GB จากญี่ปุ่น: 20.59 ดอลลาร์ฯ
- ชุดกล้องหลัง จากญี่ปุ่น: 126.95 ดอลลาร์ฯ
- โครงเครื่องหลัก จากจีน: 20.79 ดอลลาร์ฯ
- ชิ้นส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด จากหลายประเทศรวมกัน: 200.06 ดอลลาร์ฯ
เมื่อรวมทั้งหมด ต้นทุน iPhone 16 Pro ความจุ 256GB หนึ่งครึ่งเกือบ 550 ดอลลาร์ฯ และเมื่อรวมต้นทุนการประกอบ และการทดสอบแล้ว ต้นทุนรวมของ Apple จะอยู่ที่ประมาณ 580 ดอลลาร์ฯ แต่เมื่อโดนภาษีนำเข้าจีนใหม่ 145% ต้นทุนจะพุ่งขึ้นเป็น 1,420 ดอลลาร์ฯ ซึ่งจะกระทบต่ออัตรากำไรของ Apple อย่างมาก
ถ้า iPhone จะ Made in USA จริง ๆ จะเป็นอย่างไร?
“ก็ย้ายฐานผลิตมาที่อเมริกาสิ” นี่คือสิ่งที่โฆษกทำเนียบขาว Karoline Leavitt ยืนยันคำพูดของ Trump ที่เชื่อว่า Apple สามารถย้ายฐานการผลิต iPhone มาที่สหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์จาก Bank of America (BofA) บอกว่าการย้ายฐานการผลิต ไม่ใช่แค่เรื่องของการตั้งโรงงานในอเมริกาเท่านั้น
การย้ายโรงงานสำหรับประกอบ iPhone ไปที่สหรัฐฯ เฉย ๆ จะทำให้ต้นทุนการผลิต iPhone เพิ่มขึ้นประมาณ 25% ซึ่งส่วนใหญ่มาจากค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น แต่ถ้า Apple ต้องนำเข้าส่วนประกอบจากจีน และจ่ายภาษีนำเข้า 125% อยู่ดี ต้นทุนอาจเพิ่มขึ้นถึง 90% (ข้อมูลก่อนที่ Trump ประกาศเพิ่มภาษีจีนเป็น 145%)
ปัจจุบัน iPhone ส่วนใหญ่ถูกประกอบในโรงงานขนาดใหญ่ของ Foxconn ซึ่งมีชื่อเรียกว่า iPhone City ตั้งอยู่ในเมืองเจิ้งโจว ด้วยแรงงานมากถึง 300,000 คนที่พักอาศัยอยู่ในโรงงาน ทำงานกะยาว ๆ และได้รับค่าจ้างที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ
ซึ่ง Tim Cook เคยพูดประเด็นนี้ในปี 2017 โดยย้ำว่า Apple สร้างโรงงานในจีนไม่ใช่เพราะแค่ค่าแรงงานถูกอย่างเดียว แต่จีนได้เปรียบตรงที่มีวิศวกรเครื่องมือที่มีทักษะสูงเยอะมาก ๆ มากกว่าที่สหรัฐฯ มีด้วยซ้ำ
แม้ Trump แย้งว่าให้ใช้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิต แต่การประกอบ iPhone ต้องใช้ความแม่นยำระดับสูงด้วยมนุษย์ ตั้งแต่การติดหน้าจอ การติดตั้งโมดูลกล้อง ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพขั้นสุดท้าย ซึ่งระบบอัตโนมัติยังไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้สมบูรณ์แบบ หรือต่อให้ทำได้ ระบบอัตโนมัติยังต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และการออกแบบซ้ำหลายปี
นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายด้านโลจิสติกส์อีกด้วย เพราะซัพพลายเชนของจีนส่วนใหญ่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นคลัสเตอร์ Apple หนึ่งแห่ง อาจมีซัพพลายเออร์ 200 ราย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน ช่วยลดเวลา และต้นทุนการขนส่ง
แต่สหรัฐฯ ไม่ได้มีซัพพลายเชนแบบจีน และถ้าตัดสินใจสร้างซัพพลายเชนแบบนี้ขึ้นมาใหม่ ต้องลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ฯ และใช้เวลาประมาณ 3-5 ปีถึงจะสมบูรณ์แบบ ซึ่งอาจไม่รับประกันว่าสามารถทำได้จริง
เช่นในปี 2017 Foxconn ประกาศสร้างโรงงานผลิตจอทีวีขนาดใหญ่ในรัฐวิสคอนซิน ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานได้ 13,000 ตำแหน่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว แผนนี้สร้างงานได้ 13,000 ตำแหน่ง แต่ในความเป็นจริง สร้างได้แค่ 1,000 ตำแหน่ง แถมการผลิตในสหรัฐฯ แพงกว่าการผลิตในจีน 4-5 เท่า
เห็นเงียบ ๆ แต่ก็เตรียมตัวบ้างแล้ว
ถึง Apple ยังไม่เคยออกแถลงการณ์แม้แต่ฉบับเดียวว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไง แต่มีข่าวข้างกันประเด็น Apple สั่งเพิ่มการนำเข้า iPhone ที่ผลิตในอินเดียไปขายในสหรัฐฯ เพื่อหวังชดเชยภาษีนำเข้าของอินเดียที่ต่ำกว่าจีนที่เป็นฐานการผลิตหลัก
โดยตัวแทนของหน่วยงานในอินเดียเปิดเผยว่า Apple เร่งขนส่ง iPhone และสินค้าอื่นด้วยเครื่องบินจำนวน 5 ลำ ออกจากประเทศอินเดียไปยังปลายทางสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ทั้งหมดใช้เวลาเพียง 3 วัน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากกว่าปกติ
นอกจากนี้ ยังเร่งขน iPhone ออกจากจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งต่างไปจากปกติเพราะเดือนมีนาคมยอดขายสินค้ามักไม่สูง จึงคาดว่า Apple ต้องการนำสินค้าที่มีอัตราภาษีนำเข้าต่ำไปสต็อกในสหรัฐฯ ก่อน เพื่อใช้ขายในช่วงเวลานี้ที่สถานการณ์ภาษีนำเข้าสินค้ายังไม่แน่นอน
ขณะที่แหล่งข่าวของ Reuters บอกว่า หลังจากสหรัฐฯ ออกคำสั่งเลื่อนการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมไป 90 วัน Apple ใช้โอกาสนี้ให้คุ้มที่สุด เร่งเจรจาให้กระบวนศุลกากรที่สนามบิน Chennai ในอินเดียจบเร็วขึ้น จากปกติ 30 ชั่วโมง เหลือ 6 ชั่วโมง เพื่อหวังนำ iPhone ออกไปสหรัฐฯ ด้วยเครื่องบิน 6 ลำ ซึ่งแต่ละลำขนสินค้าได้ 100 ตันต่อเที่ยว นั่นก็แปลว่า iPhone จำนวน 1.5 ล้านเครื่องกำลังถูกขนกลับสหรัฐฯ
ขณะที่คนอเมริกันแห่กันไปซื้อ iPhone ตาม Apple Store ทั่วประเทศ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะกลัวว่าราคา iPhone จะพุ่งขึ้นเร็ว ๆ นี้ โดยพนักงานบอกว่าบรรยากาศในร้านเหมือนช่วงเทศกาล ลูกค้าเข้ามาซื้อแบบตื่นตระหนก และถามเป็นเสียงเดียวกันว่า “iPhone จะขึ้นราคาเมื่อไหร่?”
Apple พยายามรับมือกับสถานการณ์ในตอนนี้อย่างมาก เพราะมูลค่าตลาดหายไปกว่า 640,000 ล้านดอลลาร์ฯ ภายในสามวัน ร่วงหนักที่สุดนับตั้งแต่ยุคฟองสบู่ดอทคอม โดยคาดว่า Apple จะพูดถึงเรื่องนี้เพิ่มในการประชุมผลประกอบการวันที่ 1 พฤษภาคมนี้
ก้าวต่อไปของ Apple จะเป็นอย่างไร?
นักวิเคราะห์ Barclays บอกว่า Apple น่าจะมีทางเลือกแค่สามทาง ซึ่งแต่ละทางไม่ใช่ทางเลือกที่ดีง่าย คือ:
- ขึ้นราคา iPhone
- รับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- ปรับโครงสร้างซัพพลายเชน
หาก Apple ยอมรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง 15% หรือถ้าผลักภาระไปให้ลูกค้าเพื่อขึ้นราคา ยังไงลูกค้าไม่พอใจแน่นอน แต่ถ้า Apple เปลี่ยนไปนำเข้าจากประเทศที่มีภาษีต่ำกว่า ก็ยังไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดอยู่ดี
ด้าน Bank of America มองว่า สุดท้ายต่อให้ย้ายฐานการผลิตและประกอบ iPhone ไปสหรัฐฯ Apple ต้องได้รับการยกเว้นภาษี สำหรับส่วนประกอบที่นำเข้า ซึ่งเป็นโอกาสที่น้อยมาก ถึงมากที่สุด
แต่นักวิเคราะห์ Forrester กลับมองว่า ถ้า Apple ขึ้นราคา iPhone ก็ไม่ส่งผลกระทบเชิงลบมากนัก เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความจงรักภักดีต่อ Apple ส่วนใหญ่ซื้อ iPhone รุ่นใหม่ทุก 1-2 ปี บางคนถึงนับถอยหลังรอเปิดตัวรุ่นใหม่ข้ามคืน แม้แบรนด์คู่แข่งจะมีฟีเจอร์ที่คล้าย ๆ กันก็ตาม
ที่มา: Business Insider, Wall Street Journal, Bloomberg, CBNC, และ Companies Market Cap
Topics:
Apple
iPhone
iPhone 16 Pro
United States
Donald Trump
Tim Cook
Analysis
Continue reading...