ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ออกคำตัดสิน จากกรณีที่สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ ถูกฟ้อง ที่ไม่รับจดลิขสิทธิ์คุ้มครองผลงานซึ่งสร้างด้วย AI โดยผู้ฟ้องคือ Stephen Thaler เจ้าของบริษัท Imagination Engines ผู้พัฒนาระบบ AI ชื่อ Creativity Machine ที่สร้างผลงานภาพวาดชื่อ A Recent Entrance to Paradise ซึ่ง Thaler ยื่นขอเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพวาดนี้เนื่องจากเป็นระบบ AI ที่เขาสร้างขึ้น
โดยผู้พิพากษา Beryl Howell ตัดสินยกฟ้องคำร้องนี้ด้วยเหตุผลว่า งานชิ้นนี้ไม่สามารถให้ลิขสิทธิ์คุ้มครองได้ เพราะไม่มีขั้นตอนของการลงมือสร้างสรรค์โดยมนุษย์ในทุกขั้นตอน ซึ่งมุมของ Thaler ที่ยื่นฟ้องเพราะเขามองว่าการเป็นผู้พัฒนาระบบ AI ก็ควรมองเป็นการสร้างสรรค์โดยมนุษย์ในรูปแบบหนึ่งได้ แต่ผู้พิพากษา Howell ไม่เห็นด้วยกับมุมมองนี้
ในรายละเอียดของคำตัดสิน Howell ยกตัวอย่างภาพที่ถ่ายด้วยกล้อง ซึ่งเป็นงานมีลิขสิทธิ์คุ้มครอง แต่ตัวภาพถูกสร้างออกมาด้วยเครื่องมืออื่น (ในที่นี้คือกล้อง) อย่างไรก็ตามกระบวนการได้มาของภาพถ่ายนั้น มีมนุษย์ร่วมออกแบบตัดสินใจ ทั้งการจัดวางวัตถุในภาพ การจัดตำแหน่ง แสง และปัจจัยอื่น จึงเป็นงานมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของภาพถ่ายนั้น
Dennis Crouch อาจารย์กฎหมายที่ University of Missouri ให้ความเห็นว่าประเด็นนี้น่าจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะผู้สร้างผลงานด้วย AI ก็อาจเพิ่มขั้นตอนบางอย่าง เพื่อแสดงว่ามีมนุษย์มาร่วมแก้ไข หรือตัดสินใจในชิ้นงาน ก็จะทำให้งานดังกล่าวควรได้ลิขสิทธิ์คุ้มครอง ศาลจึงอาจต้องขีดเส้นแบ่งเรื่องนี้ให้ชัดเจนมากขึ้นอีก
Hollywood Reporter ก็มองว่าคำตัดสินนี้ทำให้แนวทางที่สตูดิโอในฮอลลีวูดพยายามนำ AI มาใช้ในช่วยผลิตผลงาน จนเกิดการประท้วงของนักแสดงและคนเขียนบท จะทำให้สตูดิโอต้องพิจารณาเรื่องนี้ใหม่เนื่องจากงานที่สร้างจาก AI ไม่มีลิขสิทธิ์นั่นเอง
ก่อนหน้านี้สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ ได้ออกแนวทางการจดลิขสิทธิ์งานที่สร้างจาก AI โดยระบุชัดเจนว่าการสั่ง prompt แล้วได้ผลงานออกมา ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้
ที่มา: The Hollywood Reporter และ Patentlyo ภาพ Pixabay
Topics:
Copyright
USA
อ่านต่อ...
โดยผู้พิพากษา Beryl Howell ตัดสินยกฟ้องคำร้องนี้ด้วยเหตุผลว่า งานชิ้นนี้ไม่สามารถให้ลิขสิทธิ์คุ้มครองได้ เพราะไม่มีขั้นตอนของการลงมือสร้างสรรค์โดยมนุษย์ในทุกขั้นตอน ซึ่งมุมของ Thaler ที่ยื่นฟ้องเพราะเขามองว่าการเป็นผู้พัฒนาระบบ AI ก็ควรมองเป็นการสร้างสรรค์โดยมนุษย์ในรูปแบบหนึ่งได้ แต่ผู้พิพากษา Howell ไม่เห็นด้วยกับมุมมองนี้
ในรายละเอียดของคำตัดสิน Howell ยกตัวอย่างภาพที่ถ่ายด้วยกล้อง ซึ่งเป็นงานมีลิขสิทธิ์คุ้มครอง แต่ตัวภาพถูกสร้างออกมาด้วยเครื่องมืออื่น (ในที่นี้คือกล้อง) อย่างไรก็ตามกระบวนการได้มาของภาพถ่ายนั้น มีมนุษย์ร่วมออกแบบตัดสินใจ ทั้งการจัดวางวัตถุในภาพ การจัดตำแหน่ง แสง และปัจจัยอื่น จึงเป็นงานมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของภาพถ่ายนั้น
Dennis Crouch อาจารย์กฎหมายที่ University of Missouri ให้ความเห็นว่าประเด็นนี้น่าจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะผู้สร้างผลงานด้วย AI ก็อาจเพิ่มขั้นตอนบางอย่าง เพื่อแสดงว่ามีมนุษย์มาร่วมแก้ไข หรือตัดสินใจในชิ้นงาน ก็จะทำให้งานดังกล่าวควรได้ลิขสิทธิ์คุ้มครอง ศาลจึงอาจต้องขีดเส้นแบ่งเรื่องนี้ให้ชัดเจนมากขึ้นอีก
Hollywood Reporter ก็มองว่าคำตัดสินนี้ทำให้แนวทางที่สตูดิโอในฮอลลีวูดพยายามนำ AI มาใช้ในช่วยผลิตผลงาน จนเกิดการประท้วงของนักแสดงและคนเขียนบท จะทำให้สตูดิโอต้องพิจารณาเรื่องนี้ใหม่เนื่องจากงานที่สร้างจาก AI ไม่มีลิขสิทธิ์นั่นเอง
ก่อนหน้านี้สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ ได้ออกแนวทางการจดลิขสิทธิ์งานที่สร้างจาก AI โดยระบุชัดเจนว่าการสั่ง prompt แล้วได้ผลงานออกมา ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้
ที่มา: The Hollywood Reporter และ Patentlyo ภาพ Pixabay
Topics:
Copyright
USA
อ่านต่อ...