เมื่อ 15.00 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท) แถลงข่าวกรณีการจับกุมแฮกเกอร์ 9Near ที่แฮกข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน ระบุว่าคนร้ายเป็นทหารยศ จ่าสิบโท โดยต้นสังกัดที่ทำงาน ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภารกิจด้านเทคโนโลยี และจากการสืบสวน คนร้ายมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก ส่วนแรงจูงใจคาดว่าน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว
ขณะที่การจับตัวคนร้าย เนื่องจากเป็นทหาร ยังไม่สามารถจับกุมได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการทางผู้บังคับบัญชา ตอนนี้ได้ส่งหนังสือไปยังต้นสังกัดแล้ว เพื่อตรวจสอบว่าตอนนี้ยังรับราชการอยู่หรือไม่ ถ้ายังรับอยู่ ต้องเป็นหน้าที่ของต้นสังกัดในการติดตามตัวและดำเนินการ ส่วนคนร้ายตอนนี้ติดต่อไม่ได้ รวมถึงภรรยาคนร้ายด้วย
ในแง่ของช่องโหว่ ณ ตอนนี้ยังสืบสวนสอบสวนอยู่ และยังไม่ยืนยันว่าหลุดออกมาจากระบบไหน รวมถึงยังไม่ยืนยันด้วยว่าข้อมูลถึง 55 ล้านรายการจริงหรือไม่ เพราะต้องรอตรวจสอบจากหลักฐานที่ยึดจากคนร้าย ว่าใช้อุปกรณ์ของตัวเองในการแฮ็กแค่ไหนอย่างไร รวมถึงมีข้อมูล 55 ล้านรายการจริงๆ หรือแค่โม้
ทาง บช.สอท แนะนำแนวทางแก้ปัญหาข้อมูลหลุดด้วยว่า ด้วยสำรวจความปลอดภัยของตัวเอง ไม่เอาข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเกิดมาตั้งเป็นรหัสผ่าน หรือมีเบอร์แปลกๆ โทรมา ไม่รู้จักก็ไม่ควรรับ
นายชัยวุฒิ รัฐมนตรี DES ระบุด้วยว่า ขอให้ประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากกรณีนี้ (ข้อมูลหลุด) ขอให้เข้าแจ้งความ ซึ่งตาม PDPA ฟ้องได้หลายกรณี ตามความเสียหายที่เกิด โดยฟ้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะศาลแพ่ง ศาลอาญา หรือสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนการเอาผิดหน่วยงานที่ทำข้อมูลหลุด ยังตอบไม่ได้ตอนนี้ ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร เป็นหน้าที่ของกรรมการที่ดูแลเรื่องนี้
ส่วนในแง่มาตรการ ก็ระบุว่ารัฐบาลมีมาตรการป้องกันเรื่องนี้อยู่แล้ว หน่วยงานไหนของภาครัฐที่อาจมีช่องโหว่ก็จะมีคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เข้าไปดำเนินการ อุดช่องโหว่ รวมถึงเรียกร้องให้ทุกหน่วยงาน ช่วยกันดูแลระบบให้ปลอดภัย เพราะมีหลายหน่วยงานที่มีข้อมูลลักษณะนี้่อยู่
ที่มา - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
Topics:
Ministry of Digital Economy
Thailand
Hacking
Cybersecurity
อ่านต่อ...
ขณะที่การจับตัวคนร้าย เนื่องจากเป็นทหาร ยังไม่สามารถจับกุมได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการทางผู้บังคับบัญชา ตอนนี้ได้ส่งหนังสือไปยังต้นสังกัดแล้ว เพื่อตรวจสอบว่าตอนนี้ยังรับราชการอยู่หรือไม่ ถ้ายังรับอยู่ ต้องเป็นหน้าที่ของต้นสังกัดในการติดตามตัวและดำเนินการ ส่วนคนร้ายตอนนี้ติดต่อไม่ได้ รวมถึงภรรยาคนร้ายด้วย
ในแง่ของช่องโหว่ ณ ตอนนี้ยังสืบสวนสอบสวนอยู่ และยังไม่ยืนยันว่าหลุดออกมาจากระบบไหน รวมถึงยังไม่ยืนยันด้วยว่าข้อมูลถึง 55 ล้านรายการจริงหรือไม่ เพราะต้องรอตรวจสอบจากหลักฐานที่ยึดจากคนร้าย ว่าใช้อุปกรณ์ของตัวเองในการแฮ็กแค่ไหนอย่างไร รวมถึงมีข้อมูล 55 ล้านรายการจริงๆ หรือแค่โม้
ทาง บช.สอท แนะนำแนวทางแก้ปัญหาข้อมูลหลุดด้วยว่า ด้วยสำรวจความปลอดภัยของตัวเอง ไม่เอาข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเกิดมาตั้งเป็นรหัสผ่าน หรือมีเบอร์แปลกๆ โทรมา ไม่รู้จักก็ไม่ควรรับ
นายชัยวุฒิ รัฐมนตรี DES ระบุด้วยว่า ขอให้ประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากกรณีนี้ (ข้อมูลหลุด) ขอให้เข้าแจ้งความ ซึ่งตาม PDPA ฟ้องได้หลายกรณี ตามความเสียหายที่เกิด โดยฟ้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะศาลแพ่ง ศาลอาญา หรือสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนการเอาผิดหน่วยงานที่ทำข้อมูลหลุด ยังตอบไม่ได้ตอนนี้ ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร เป็นหน้าที่ของกรรมการที่ดูแลเรื่องนี้
ส่วนในแง่มาตรการ ก็ระบุว่ารัฐบาลมีมาตรการป้องกันเรื่องนี้อยู่แล้ว หน่วยงานไหนของภาครัฐที่อาจมีช่องโหว่ก็จะมีคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เข้าไปดำเนินการ อุดช่องโหว่ รวมถึงเรียกร้องให้ทุกหน่วยงาน ช่วยกันดูแลระบบให้ปลอดภัย เพราะมีหลายหน่วยงานที่มีข้อมูลลักษณะนี้่อยู่
ที่มา - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
Topics:
Ministry of Digital Economy
Thailand
Hacking
Cybersecurity
อ่านต่อ...