ความยั่งยืนกลายเป็นประเด็นถูกหยิบยกมาพูดถึงกันมากขึ้นโดยหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐไปจนถึงภาคธุรกิจเพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันเราได้พบเจอปัญหาด้านภูมิอากาศกันอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นอากาศที่ร้อนกว่าปกติไปจนถึงภัยธรรมชาติที่หนักขึ้น
แน่นอนว่าเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญต่อธุรกิจถึงขนาดที่ทำให้ “Sustainability ถือเป็น “License to Grow” หรือใบอนุญาตสำคัญให้ธุรกิจมีสิทธิเติบโตในระยะยาวอย่างแท้จริง เพราะเป็นการเติบโตที่ทุกคนต้องการและมีคุณภาพมากกว่าเดิม” จากคำกล่าวของ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในงานสัมมนา “EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth” ที่จัดขึ้นโดยธนาคารกสิกรไทย
งานสัมมนาดังกล่าวเป็นการรวบรวมผู้บริหารระดับโลกกว่า 30 คน จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนในหลากหลายอุตสาหกรรม และที่ปรึกษาด้านธุรกิจชั้นนำ มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์และบอกเล่าประสบการณ์ในการทำธุรกิจภายใต้แนวคิดด้านการเติบโตอย่างยั่งยืน
ภายในงานประกอบด้วย 3 เวทีสัมมนา ได้แก่ เวทีแรก New Frontier เป็นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน จากผู้นำองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน, เวทีที่สอง Planet & Innovation ฉายภาพโอกาสในการธุรกิจยั่งยืนผ่าน Business Showcase จากองค์กรธุรกิจชั้นนำ และเวทีที่สาม JUMP Startup Clinic เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้เรียนรู้และปรึกษากับที่ปรึกษาทางธุรกิจและกฎหมายระดับโลก โดยงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจเข้าร่วมงานตลอดวันกว่า 2,000 คน ซึ่งทาง Blognone เองก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานครั้งนี้และจะมาสรุปเป็นไฮไลท์ให้ผู้อ่านได้ติดตามกัน
หนึ่งในไฮไลท์ที่น่าสนใจจากงาน EARTH JUMP 2023 คือการบอกเล่าประสบการณ์การทำธุรกิจชั้นนำระดับโลกบนเวที Planet & Innovation ซึ่งในงานนี้มีบริษัทสายไอทีเข้าร่วมด้วย ซึ่งมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะมองว่าบริษัทไอทีน่าจะค่อนข้างห่างไกลกันกับคำว่ายั่งยืน แต่ในงานนี้ Google Cloud APAC และ Huawei Technologies (Thailand) ก็ได้มาเล่าให้ฟังว่าเอาเข้าจริงธุรกิจของพวกเขามีส่วนร่วมในเรื่องความยั่งยืนได้มากแค่ไหน
ด้วยการที่ทุกวันนี้กิจกรรมจำนวนมากถูกย้ายไปอยู่บนโลกออกไลน์จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบริษัทสาย IT ก็มีส่วนสำคัญในเรื่องนี้ Gustavo Fuchs, Regional Director, Solutions & Technology - APAC ของ Google Asia Pacific เล่าบนเวทีสัมมนาว่า Google แบ่งกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนเป็น 3 เสาหลัก คือ (1) การดำเนินงานแบบไร้คาร์บอน เช่น การสร้าง data center ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งจะทำให้ทุกกิจกรรมอย่างเช่น การส่งอีเมลปล่อยคาร์บอนลดลงและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (2) สนับสนุนหุ้นส่วนในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และ (3) เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน เช่น ระบบค้นหาเส้นทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดบน Google Maps
นอกจากนี้ Huawei ก็เน้นย้ำในจุดยืนที่ว่าบริษัท IT จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เติบโตได้อย่างยั่งยืน เช่น data center ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีจัดการพลังงานแสงอาทิตย์ ไปจนถึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
ประเด็นถัดมาที่ไม่พูดถึงไม่ได้เมื่อนึกถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมก็คือรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนอกจาก EV จะเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตยานยนต์โดยตรงแล้ว ธุรกิจด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องความยั่งยืนได้เช่นกัน
Great Wall Motor เป็นแบรนด์สัญชาติจีนที่สามารถคว้าโอกาสในระดับโลกจากการลงเล่นในตลาดยานยนต์แห่งอนาคต โดยในปัจจุบัน มีการทำตลาดในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยมีประเทศไทยเป็นเหมือนศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนอกจากจะยั่งยืนจากตัวผลิตภัณฑ์หลักของธุรกิจแล้ว GWM ยังมีการสร้างโรงงานอัจฉริยะแห่งแรกในจังหวัดระยองซึ่งจะช่วยให้ใช้พลังงานไปในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย Michael Chong, General Manager จาก Great Wall Motor (Thailand) อธิบายถึงธุรกิจบนเวทีสัมมนา
ในกรณีของธุรกิจอื่น EV ก็ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เห็นได้ชัดจากกรณีของไปรษณีย์ไทยที่ตั้งเป้าว่าจะลดการปล่อยคาร์บอน 30% ภายในปี 2030 ซึ่งการเปลี่ยนรถขนส่งพัสดุมากกว่า 2 หมื่นคัน (ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์) มาเป็นแบบไฟฟ้าล้วน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ไม่น้อย ดร. วราภรณ์ ข้องเกี่ยวพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานกลยุทธ์และการขับเคลื่อนองค์กร บจก. ไปรษณีย์ไทย ระบุ
หากพูดถึงเทคโนโลยีด้านความยั่งยืน แน่นอนว่าหลายคนน่าจะนึกถึงยานยนต์ไฟฟ้าแต่อีกเรื่องที่สำคัญอย่างมากคือเรื่องของ Energy Tech เพราะนวัตกรรมด้านนี้จะช่วยสร้างประสิทธิภาพในการใช้พลังงานซึ่งเป็นอีกเรื่องสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
**Max Song, CEO & Founder จาก Carbonbase เล่าให้ฟังว่าเทคโนโลยีด้านพลังงานมีหลายรูปแบบด้วยกัน อย่างในกรณีของ Carbonbase ซึ่งเป็นบริษัทจากฮ่องกงจะพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อคำนวณและติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนหรือซื้อเครดิตคาร์บอนชดเชย
บี.กริม เพาเวอร์ มีความตั้งใจในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 และเพื่อจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทางบริษัทก็มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนไปจนถึงพลังงานขยะอุตสาหกรรมและยังมีการพัฒนาพลังงานอื่น ๆ เช่น แอมโมเนีย เป็นต้น นพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการลงทุน นวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ อธิบายบนเวทีเสวนา
นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยก็ยังมีโครงการที่จะมีส่วนช่วยในด้าน Energy Tech เช่น โครงการ SolarPlus ติดโซลาร์รูฟให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ง่ายขึ้น โดยจะช่วยติดตั้งให้ฟรีและสามารถซื้อไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกกว่าปกติ รวินท์ เบญจตันติกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย เล่าถึงบริการนอกเหนือไปจากการเงินการธนาคารของทางธนาคารกสิกรไทย
จะเห็นได้ว่าในโลกที่ความยั่งยืนกลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา ธุรกิจมีโอกาสค่อนข้างหลากหลายในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ พลังงาน หรือแม้แต่ IT
อย่างไรก็ตาม “การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืนนั้นยังต้องการการสนับสนุนอีกมาก” นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย อธิบาย “โดยเฉพาะเรื่องเงินลงทุนจำนวนมหาศาลทั้งจากนักลงทุนทั่วไป Venture Capital ธนาคารและสถาบันการเงิน ที่ในอนาคตจะเข้ามามีส่วนช่วยเหลือให้ธุรกิจสีเขียวเหล่านี้เติบโตได้เต็มศักยภาพ”
ทั้งนี้ คุณธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director, Beacon Venture Capital เล่าว่าทาง Beacon VC บริษัทเงินร่วมทุนของธนาคารกสิกรไทยก็มีรูปแบบเงินลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลัก ESG และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้โดยเฉพาะ เช่น Financial Inclusion หรือ Healthcare, Digital Literacy โดยมีชื่อว่า Beacon Impact Fund
และภายในงาน EARTH JUMP 2023 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ก็เปิดโอกาสให้ สตาร์ทอัพสายกรีน เช่น C wallet, Easyrice, EV Project, Leet, PAC Corporation และ Yindii ได้เข้ามาจัด Showcase ธุรกิจ นอกจากนี้ก็ยังมีเวที JUMP Startup Clinic ที่เปิดให้ธุรกิจหน้าใหม่ไฟแรงกว่า 100 ราย ได้มีโอกาสพบที่ปรึกษาด้านธุรกิจชั้นนำในด้านต่าง ๆ เช่น Business Strategy Clinic โดย McKinsey & Company, Law & Legal Clinic โดย Baker McKenzie และ Fund Raising Clinic โดย Beacon VC
จากไฮไลท์ทั้งหมดในงาน EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth ที่จัดขึ้นโดยธนาคารกสิกรไทย จะเห็นได้ชัดว่าความยั่งยืนจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสของธุรกิจเพราะทั้งธุรกิจที่ทำเรื่องนี้โดยตรงและธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยอ้อมต่างก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในคลื่นลูกนี้ และที่สำคัญ ความยั่งยืนจะกลายเป็น License to Grow ในอนาคตที่ทำให้ธุรกิจหน้าใหม่กลายเป็นที่สนใจของนักลงทุน และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกสู่สังคมได้ต่อไป
Topics:
Kasikorn Bank
Sustainability
Business
Advertorial
อ่านต่อ...
แน่นอนว่าเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญต่อธุรกิจถึงขนาดที่ทำให้ “Sustainability ถือเป็น “License to Grow” หรือใบอนุญาตสำคัญให้ธุรกิจมีสิทธิเติบโตในระยะยาวอย่างแท้จริง เพราะเป็นการเติบโตที่ทุกคนต้องการและมีคุณภาพมากกว่าเดิม” จากคำกล่าวของ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในงานสัมมนา “EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth” ที่จัดขึ้นโดยธนาคารกสิกรไทย
งานสัมมนาดังกล่าวเป็นการรวบรวมผู้บริหารระดับโลกกว่า 30 คน จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนในหลากหลายอุตสาหกรรม และที่ปรึกษาด้านธุรกิจชั้นนำ มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์และบอกเล่าประสบการณ์ในการทำธุรกิจภายใต้แนวคิดด้านการเติบโตอย่างยั่งยืน
ภายในงานประกอบด้วย 3 เวทีสัมมนา ได้แก่ เวทีแรก New Frontier เป็นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน จากผู้นำองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน, เวทีที่สอง Planet & Innovation ฉายภาพโอกาสในการธุรกิจยั่งยืนผ่าน Business Showcase จากองค์กรธุรกิจชั้นนำ และเวทีที่สาม JUMP Startup Clinic เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้เรียนรู้และปรึกษากับที่ปรึกษาทางธุรกิจและกฎหมายระดับโลก โดยงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจเข้าร่วมงานตลอดวันกว่า 2,000 คน ซึ่งทาง Blognone เองก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานครั้งนี้และจะมาสรุปเป็นไฮไลท์ให้ผู้อ่านได้ติดตามกัน
เมื่อ IT และ Sustainability แยกกันไม่ขาด
หนึ่งในไฮไลท์ที่น่าสนใจจากงาน EARTH JUMP 2023 คือการบอกเล่าประสบการณ์การทำธุรกิจชั้นนำระดับโลกบนเวที Planet & Innovation ซึ่งในงานนี้มีบริษัทสายไอทีเข้าร่วมด้วย ซึ่งมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะมองว่าบริษัทไอทีน่าจะค่อนข้างห่างไกลกันกับคำว่ายั่งยืน แต่ในงานนี้ Google Cloud APAC และ Huawei Technologies (Thailand) ก็ได้มาเล่าให้ฟังว่าเอาเข้าจริงธุรกิจของพวกเขามีส่วนร่วมในเรื่องความยั่งยืนได้มากแค่ไหน
ด้วยการที่ทุกวันนี้กิจกรรมจำนวนมากถูกย้ายไปอยู่บนโลกออกไลน์จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบริษัทสาย IT ก็มีส่วนสำคัญในเรื่องนี้ Gustavo Fuchs, Regional Director, Solutions & Technology - APAC ของ Google Asia Pacific เล่าบนเวทีสัมมนาว่า Google แบ่งกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนเป็น 3 เสาหลัก คือ (1) การดำเนินงานแบบไร้คาร์บอน เช่น การสร้าง data center ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งจะทำให้ทุกกิจกรรมอย่างเช่น การส่งอีเมลปล่อยคาร์บอนลดลงและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (2) สนับสนุนหุ้นส่วนในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และ (3) เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน เช่น ระบบค้นหาเส้นทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดบน Google Maps
นอกจากนี้ Huawei ก็เน้นย้ำในจุดยืนที่ว่าบริษัท IT จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เติบโตได้อย่างยั่งยืน เช่น data center ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีจัดการพลังงานแสงอาทิตย์ ไปจนถึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โอกาสใหม่ในทุกธุรกิจ
ประเด็นถัดมาที่ไม่พูดถึงไม่ได้เมื่อนึกถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมก็คือรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนอกจาก EV จะเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตยานยนต์โดยตรงแล้ว ธุรกิจด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องความยั่งยืนได้เช่นกัน
Great Wall Motor เป็นแบรนด์สัญชาติจีนที่สามารถคว้าโอกาสในระดับโลกจากการลงเล่นในตลาดยานยนต์แห่งอนาคต โดยในปัจจุบัน มีการทำตลาดในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยมีประเทศไทยเป็นเหมือนศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนอกจากจะยั่งยืนจากตัวผลิตภัณฑ์หลักของธุรกิจแล้ว GWM ยังมีการสร้างโรงงานอัจฉริยะแห่งแรกในจังหวัดระยองซึ่งจะช่วยให้ใช้พลังงานไปในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย Michael Chong, General Manager จาก Great Wall Motor (Thailand) อธิบายถึงธุรกิจบนเวทีสัมมนา
ในกรณีของธุรกิจอื่น EV ก็ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เห็นได้ชัดจากกรณีของไปรษณีย์ไทยที่ตั้งเป้าว่าจะลดการปล่อยคาร์บอน 30% ภายในปี 2030 ซึ่งการเปลี่ยนรถขนส่งพัสดุมากกว่า 2 หมื่นคัน (ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์) มาเป็นแบบไฟฟ้าล้วน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ไม่น้อย ดร. วราภรณ์ ข้องเกี่ยวพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานกลยุทธ์และการขับเคลื่อนองค์กร บจก. ไปรษณีย์ไทย ระบุ
Energy Tech หัวใจหลักของความยั่งยืน
หากพูดถึงเทคโนโลยีด้านความยั่งยืน แน่นอนว่าหลายคนน่าจะนึกถึงยานยนต์ไฟฟ้าแต่อีกเรื่องที่สำคัญอย่างมากคือเรื่องของ Energy Tech เพราะนวัตกรรมด้านนี้จะช่วยสร้างประสิทธิภาพในการใช้พลังงานซึ่งเป็นอีกเรื่องสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
**Max Song, CEO & Founder จาก Carbonbase เล่าให้ฟังว่าเทคโนโลยีด้านพลังงานมีหลายรูปแบบด้วยกัน อย่างในกรณีของ Carbonbase ซึ่งเป็นบริษัทจากฮ่องกงจะพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อคำนวณและติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนหรือซื้อเครดิตคาร์บอนชดเชย
บี.กริม เพาเวอร์ มีความตั้งใจในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 และเพื่อจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทางบริษัทก็มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนไปจนถึงพลังงานขยะอุตสาหกรรมและยังมีการพัฒนาพลังงานอื่น ๆ เช่น แอมโมเนีย เป็นต้น นพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการลงทุน นวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ อธิบายบนเวทีเสวนา
นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยก็ยังมีโครงการที่จะมีส่วนช่วยในด้าน Energy Tech เช่น โครงการ SolarPlus ติดโซลาร์รูฟให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ง่ายขึ้น โดยจะช่วยติดตั้งให้ฟรีและสามารถซื้อไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกกว่าปกติ รวินท์ เบญจตันติกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย เล่าถึงบริการนอกเหนือไปจากการเงินการธนาคารของทางธนาคารกสิกรไทย
อีกหนึ่งโอกาสของสตาร์ทอัพ
จะเห็นได้ว่าในโลกที่ความยั่งยืนกลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา ธุรกิจมีโอกาสค่อนข้างหลากหลายในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ พลังงาน หรือแม้แต่ IT
อย่างไรก็ตาม “การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืนนั้นยังต้องการการสนับสนุนอีกมาก” นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย อธิบาย “โดยเฉพาะเรื่องเงินลงทุนจำนวนมหาศาลทั้งจากนักลงทุนทั่วไป Venture Capital ธนาคารและสถาบันการเงิน ที่ในอนาคตจะเข้ามามีส่วนช่วยเหลือให้ธุรกิจสีเขียวเหล่านี้เติบโตได้เต็มศักยภาพ”
ทั้งนี้ คุณธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director, Beacon Venture Capital เล่าว่าทาง Beacon VC บริษัทเงินร่วมทุนของธนาคารกสิกรไทยก็มีรูปแบบเงินลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลัก ESG และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้โดยเฉพาะ เช่น Financial Inclusion หรือ Healthcare, Digital Literacy โดยมีชื่อว่า Beacon Impact Fund
และภายในงาน EARTH JUMP 2023 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ก็เปิดโอกาสให้ สตาร์ทอัพสายกรีน เช่น C wallet, Easyrice, EV Project, Leet, PAC Corporation และ Yindii ได้เข้ามาจัด Showcase ธุรกิจ นอกจากนี้ก็ยังมีเวที JUMP Startup Clinic ที่เปิดให้ธุรกิจหน้าใหม่ไฟแรงกว่า 100 ราย ได้มีโอกาสพบที่ปรึกษาด้านธุรกิจชั้นนำในด้านต่าง ๆ เช่น Business Strategy Clinic โดย McKinsey & Company, Law & Legal Clinic โดย Baker McKenzie และ Fund Raising Clinic โดย Beacon VC
จากไฮไลท์ทั้งหมดในงาน EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth ที่จัดขึ้นโดยธนาคารกสิกรไทย จะเห็นได้ชัดว่าความยั่งยืนจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสของธุรกิจเพราะทั้งธุรกิจที่ทำเรื่องนี้โดยตรงและธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยอ้อมต่างก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในคลื่นลูกนี้ และที่สำคัญ ความยั่งยืนจะกลายเป็น License to Grow ในอนาคตที่ทำให้ธุรกิจหน้าใหม่กลายเป็นที่สนใจของนักลงทุน และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกสู่สังคมได้ต่อไป
Topics:
Kasikorn Bank
Sustainability
Business
Advertorial
อ่านต่อ...
ไฟล์แนบ
-
a5606d4d7f3a5a0aba851d2f86b060af.png154.9 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 26
-
13d1ce8bf31dc6fb62d685d577eedb3b.jpg1.4 MB · จำนวนการดู: 21
-
608dbc62e0dc17991c631cbc8d1df063.jpg1.3 MB · จำนวนการดู: 21
-
6b98d88415436e814c525111a818d2dd.jpg1.2 MB · จำนวนการดู: 20
-
0af87002ea17c59da40c52accef02330.jpg734.5 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 19