• แนะนำการใช้งานเบื่องต้น การใช้งาน-community
    ประกาศ :
    • ทำการแก้ไขระบบนับถอยหลังเพื่อดาวน์โหลดไฟล์แล้ว
กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see


หรือ VR จะไม่มีวันได้เกิด? เคยพูดถึง Metaverse ทั้งปี ตอนนี้เหมือนโดนคุมกำเนิด

ข่าว หรือ VR จะไม่มีวันได้เกิด? เคยพูดถึง Metaverse ทั้งปี ตอนนี้เหมือนโดนคุมกำเนิด

News 

Moderator
สมาชิกทีมงาน
Moderator
Verify member
ถ้าจำกันได้ มีช่วงนึงที่ใคร ๆ ก็ท่องกันแต่คำว่า Metaverse (พอ ๆ กับที่ตอนนี้คนพูดคำว่า AI) หนึ่งในธุรกิจที่ได้อานิสงส์แรงไฮป์ก็คือ VR หรือ Virtual Reality ตอนนั้นหลายเจ้าปล่อยแว่น VR ออกมาให้พรึ่บ ส่วนฝั่งซอฟต์แวร์เองก็ไม่น้อยหน้า มีมาให้เราลองทั้งฝั่งโซเชียลมีเดีย เกม ความบันเทิง หรือแม้แต่ซอฟต์แวร์สำหรับทำงาน

Kevin Roose คอลัมนิสต์สายเทคจาก The New York Times เคยอธิบายเอาไว้น่าสนใจว่า ในช่วงโควิด ยอดขายแว่น VR เติบโตขึ้นถึง 30% ใน 1 ปี แม้จะเป็นแกดเจ็ตราคาไม่ถูก แถมยอดใช้แอป VR ก็พุ่งขึ้นอีกด้วย ไตรมาสแรกปี 2020 รายได้จากกลุ่ม non-ad ของ Meta เติบโต 80% โดยหลัก ๆ มาจากยอดขาย Oculus Quest

เรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยากเพราะในช่วงโควิด การล็อกดาวน์เป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมคนถึงอยากเข้าไปเจอคนอื่น ๆ บนโลกเสมือน แต่เมื่อโลกจริงกลับมาสู่ภาวะปกติแล้วก็เรียกได้ว่าวงการ VR กำลังจะเจอแบบทดสอบของจริง

alt=VR


จาก 'ไฮป์' ช่วงล็อกดาวน์ สู่ 'เฮ้อ!' เมื่อโควิดจบ​


หนึ่งในมูฟสำคัญที่เราน่าจะจำได้คือการเปลี่ยนชื่อของ Facebook เป็น Meta และหันไปโฟกัสกับธุรกิจความจริงเสมือนที่ Meta เรียกว่า Reality Labs มากขึ้น (ทุกวันนี้ยังขาดทุน)

แต่การที่หุ้น Meta ดิ่งหนัก ๆ อยู่ช่วงนึงน่าจะสะท้อนความเห็นนักลงทุนที่มองว่าธุรกิจ VR ยังไม่ได้อยู่ในกระแสหลัก ซึ่งทำให้ Meta ขาดทุนอยู่ร่ำไป ตอนนี้หุ้นขึ้นกลับมาเยอะก็เพราะรายได้จากโฆษณา แต่ฝั่ง VR ก็ยังขาดทุนอยู่ไตรมาสละ 3-4 พันล้านเหรียญ (มากกว่าแสนล้านบาท)

alt=Meta


ตอนนี้ คนที่ซื้อแว่น VR เกือบ 1 ใน 3 ใช้งานแค่อาทิตย์ละครั้ง ส่วนอีกเกือบ 1 ใน 3 ใช้น้อยกว่าเดือนละครั้งด้วยซ้ำไป ในขณะที่วัน ๆ นึงเราหยิบโทรศัพท์มาเล่นกันเกือบ 150 ครั้ง

VR ธุรกิจติดหล่ม ไร้แววติดลม​


หลุมลึกที่ VR กำลังติดอยู่มีอยู่หลายหลุมที่ขวางให้ตลาด VR ตีวงอยู่ในกรอบจำกัด เช่น

1. ฮาร์ดแวร์ยังเทอะทะ เหตุผลแรกน่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนน่าจะนึกออกทันทีเวลาพูดถึงข้อเสียของแว่น VR คือมันใหญ่และค่อนข้างหนัก แว่น Meta Quest 3 มีขนาด 18.4169.8 ซม. (ประมาณว่าเอาหนังสือ Sapiens มาหั่นครึ่งตามแนวยาว แต่หนากว่า) แถมหนักเกินครึ่งกิโลกรัม ส่วนแว่นรุ่นอื่นก็มีน้ำหนักไล่เลี่ยกัน

จริง ๆ เวลาหลายคนใส่แว่นก็รู้สึกรำคาญอยู่แล้ว แล้วแว่น VR ก็ดันมีขนาดใหญ่กว่า หนักกว่า แถมต้องครอบตาแทบจะแนบสนิทไปกับหน้า แถมเวลาจะถอดเข้าถอดออกสลับไปทำอย่างอื่นแวบนึงก็ติดขัด ถือเป็นข้อจำกัดสำหรับไลฟ์สไตล์จริง ๆ ยิ่งถ้าเทียบกับสมาร์ตโฟนหรือสมาร์ตวอทช์

alt=Quest 3


2. UX ไม่น่าประทับใจ ตรงนี้เป็นภาคต่อของข้อแรก และเป็นส่วนผสมที่ทำให้ใช้แว่น VR แล้วไม่สะดวกสบายอีกหนึ่งต่อ ผู้ใช้จำนวนมากบอกตรงกันว่าตนต้องเจออาการเมา VR ไม่มากก็น้อย อาการนี้เกิดขึ้นเพราะจุดรวมสายตาและจุดโฟกัสไม่ตรงกันระหว่างระยะทางของวัตถุ 3D เสมือนจริงกับระยะโฟกัสที่วัตถุนั้นๆ

Apple Vision Pro สามารถแก้ไขจุดนี้ได้ดีกว่าเจ้าอื่น ๆ โดย Apple Vision Pro สามารถทำได้ดีในการติดตามการเคลื่อนไหวของตา ทำให้มีอาการเมาน้อยกว่า แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาหลักแสน

3. ยังไม่เจอต้นแบบที่ใช่ แม้แต่ในวงการเกมที่เป็นหัวเรือของอุตสาหกรรม VR ก็ยังไม่เจอ use case ที่ใช่ คือนอกจากต้องซื้ออุปกรณ์แยกแล้ว ยังไม่มีเกมที่ตอบโจทย์ แม้จะเอาเกมฟอร์มยักษ์มาทำเป็นเวอร์ชัน VR ก็ยังไม่สามารถดันยอดได้ แถมบางเกมก็เข้าข่ายแป้กอีก (เช่น Assassin’s Creed Nexus VR) จนค่ายใหญ่ ๆ ยังต้องชะลอคันเร่งบนถนน VR

Assassin's Creed


นอกจากวงการเกม ซอฟต์แวร์ในแวดวงอื่น ๆ ก็ยังไม่ตอบโจทย์มากนัก เช่น การดูหนังก็อาจจะโอเคแต่ไม่ได้มีความจำเป็นต้องซื้อมาเพื่อดูโดยเฉพาะ การประชุมออนไลน์ (เช่น Microsoft Mesh) ที่ลำบากในการทำงานแบบ Multitask เมื่อเทียบกับคอมที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว

Microsoft Mesh


จะเห็นว่าในหลายวงการเรายังไม่เจอ use case ที่ว้าว พูดง่าย ๆ คือการใช้งานออกมาแย่หรืออาจจะดีก็ได้ แต่ยังไม่ดีพอให้จ่ายเพิ่มเพราะไม่ได้มี value added ใหม่ ๆ ที่คุ้มราคาพอ

VR ยังงมหาที่ทางของตัวเองไม่เจอ​


ดูเหมือนคำว่า VR ยังเป็นตลาดที่มีความ Niche คือกระจุกตัวในคนบางกลุ่ม หรือถูกใช้งานแบบแคบ ๆ ไม่สามารถขยายไปสู่คนทั่วไปเพื่อใช้งานโดยทั่วไปได้มากเท่าที่ควร

ตัวเลขนี้คือเหตุผลที่ทำให้คนหันมาซื้อ VR

  • เล่นเกม 72%
  • ดูหนัง 42%
  • ท่องเว็บไซต์ 29%
  • ฟังเพลงและเสพศิลป์ 22%

ข้อมูลจาก Greenlights Insights ตรงนี้ทำให้เห็นว่าการเล่นเกมคือสาเหตุหลักที่ของการซื้อแว่น VR ทิ้งห่างสาเหตุอื่นพอสมควร

และแม้แต่ในอุตสาหกรรมเกมที่เป็นตัวความหวังของ VR ก็ดูเหมือนจะหวังอะไรได้ยากด้วยซ้ำ ถ้าก่อนหน้านี้ VR อยู่ในยุคทอง ตอนนี้เราก็คงอยู่ในยุคมืด ใครที่เคยลงทุน ตอนนี้ถอนทัพออกไปไม่น้อย แม้แต่เกมฟอร์มยักษ์เองก็ยังขยับตัวลำบาก จนมีข่าวร้าย ๆ ออกมาครั้งแล้วครั้งเล่า

Horizon Worlds แพลตฟอร์มเมตาเวิร์สของ Meta เองก็ไปได้ไม่สวยเท่าที่ควร เพราะโดนผู้ใช้โจมตีเรื่องรูปลักษณ์อยู่ตลอด เคยมียอดผู้ใช้งานต่อเดือนน้อยจนต้องปรับเป้า นอกจากนี้ ยังมีคนวิจารณ์อีกด้วยว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ธรรมชาติขัดกับความเป็นโซเชียลมีเดียคือมีค่าแรกเข้า (แว่น VR) สูงจนคนไม่อยากเข้าร่วม จนล่าสุด เตรียมเปิดให้ใช้งานบนเว็บและมือถือ ซึ่งแม้อาจจะช่วยเพิ่มยอด แต่ก็ไปขัดการขายแว่น VR ของตัวเอง

Horizon Worlds


VR ในอุตสาหกรรมสตรีมมิงก็ดูจะขลุกขลักไม่แพ้กัน Greg Peters ซีอีโอร่วมของ Netflix เคยออกมาพูดเองว่ายังไม่ทำแอปสำหรับ Vision Pro โดยเฉพาะเพราะตลาดเล็กเกินไปและไม่คาบเกี่ยวกับกลุ่มลูกค้า 270 ล้านคน ของ Netflix เท่าไหร่นัก

ตอนนี้เราจะเห็นปัญหาว่า แม้กระทั่งในอุตสาหกรรมความหวังอย่างเกม ธุรกิจ VR ยังคลำหาตลาดหรือที่ทางของตัวเองไม่พบ แม้แต่เกมฟอร์มยักษ์ก็ยังเป๋เมื่อเข้าสู่โลกเสมือน แถมตลาดก็ยังมีขนาดเล็ก เพราะนอกจากจะไม่สะดวกและเข้าถึงได้ยาก (เพราะต้องซื้อแว่นที่ยังแพง) แล้วก็ยังมีแพลตฟอร์มที่ดีมาให้ใช้งานไม่มากพอ ตลาดจึงยังจำกัดอยู่ในกลุ่มคนเล่นเกม (และมีใจรักพอจะจ่าย) เป็นหลัก

กรณี Use Case ชัดก็ยังไม่รอด​


ถ้าไม่นับเรื่องความบันเทิง use case ที่ดูเร็วๆ น่าจะพอมีประโยชน์คือฝั่งองค์กรและอาชีพเฉพาะทาง เช่น ในสาย Healthcare อย่างการจำลองกายวิภาค การจำลองการผ่าตัด การฝึกกระบวนการทางการแพทย์ ช่วยพัฒนาองค์ความรู้ได้มากขึ้นผ่านโลกเสมือน เพราะช่วยให้เข้าถึงการฝึกฝนได้เพิ่มขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

หรืออาจจะเป็นสายวิศวกร ช่างซ่อมบำรุง หรือออกแบบ ที่สามารถใช้โลกเสมือนจำลองของจริงขึ้นมา โดยตลาดนี้มีคนบุกเบิกคือ Microsoft ที่ลุยทำแว่น Hololens โดยไปเล่นกับโลก VR+AR (Mixed Reality) อย่างจริงจังก่อนใครเพื่อน แต่สุดท้าย ถึงแม้จะออกแว่นมาถึง 2 รุ่น ก็ไปไม่รอดเช่นกัน

Vicious Cycle ของธุรกิจ VR​


ทั้งความไม่สะดวกสบาย ประสบการณ์ที่ไม่ดี และขาด use case ที่ใช่ ทำให้ตลาดจำกัดวงลงมา และพอตลาดเล็กเกินไป บริษัทก็ขาดแรงจูงใจจะลงทุนต่อ

ทำให้เกิดผลภัณฑ์ออกมาน้อยและขาดคุณภาพ แล้วก็วนกลับไปทำให้ตลาดมีขนาดเล็กอีก เกิดเป็นวงจรอันแสนเลวร้าย (Vicious Cycle) ที่กดดันอุตสาหกรรมโดยรวม

และตอนนี้มีตัวอย่างให้เห็นจริง ๆ ว่าหลายบริษัทเริ่มล่าถอย เช่น


GTA


กระทั่งคนที่คลั่งไคล้ใน Metaverse ที่สุดอย่าง Meta ที่อุตส่าห์เปลี่ยนชื่อตาม ก็ยังมีลือมาว่าได้หั่นงบทีม Reality Labs ลง 1 ใน 5 เลื่อนไทม์ไลน์การปล่อยแว่น Quest รุ่นใหม่ออกไป แถมยังปิดสตูดิโอผลิตเกม VR ที่เพิ่งซื้อมา 4 ปี

อนาคตของธุรกิจ VR​


สุดท้ายแล้วทางออกของธุรกิจนี้อาจจะคล้าย ๆ กับที่ GWI เทียบเอาไว้ว่า ถ้า VR อยากจะแมส อาจจะต้องทำให้ได้เหมือนสมาร์ตวอทช์

เดิมทีสมาร์ตวอทช์เคยเป็นเติบโตภายในวงของนาฬิกาออกกำลังกายภายใต้การนำของแบรนด์หัวขบวนอย่าง Garmin เป็น use case ที่แข็งแกร่งสำหรับนาฬิกาเพื่อสุขภาพของคนออกกำลังกาย

แต่ใน 2015 ทาง Apple ได้สร้างโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ตลาดทั่วไปได้มากขึ้น คือไม่จำเป็นต้องเป็นสายออกกำลังกายจ๋า ขอแค่อยากใช้งานเพื่อการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายเบา ๆ ติดตามข้อมูลหรือรับคำแนะนำด้านสุขภาพ

โดยนาฬิกายังพ่วงการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นและใช้งานแอปอื่นได้บางส่วน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่กว้างขึ้น ทำให้นาฬิกาอัจฉริยะเคลื่อนเข้าสู่ตลาดกระแสหลักได้มากขึ้น เพราะเจอ use case ที่แข็งแกร่งและตอบโจทย์คนทั่วไป

แม้ธุรกิจ VR จะยังงมทางของตัวเองไม่เจอ แม้แต่คนที่ use case ชัด ๆ ก็ยังอยู่ลำบาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการมอบ Immersive Experience ให้กับผู้ใช้ไม่ว่าอย่างไรก็มีข้อดีของมัน เพียงแค่ปัจจุบันเรายังไม่เจอ use case ที่ใช่สำหรับตลาดระดับแมส

alt=Greg Peters


Greg Peters ซีอีโอร่วมของ Netflix บอกว่าแม้ตอนนี้จะยังไม่ได้ทำแอปให้ Apple Vision Pro เพราะตลาดเล็กไป แต่ก็พูดคุยกับ Apple อยู่เสมอเพื่อมองหาอะไรใหม่ ๆ เกี่ยวกับ Vision Pro

ประตูบานนี้ไม่ได้ปิดตาย เพียงแต่ยังไม่ได้แง้มออกกว้าง ๆ เท่านั้นเอง

อ้างอิง: Fortune Business insights, 99firms, Inverse, Fortune, GWI, NY Times, Tech Radar

Topics:
Virtual Reality
Meta
Apple
Microsoft
Sony
In-Depth

Continue reading...
 

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม ด้านล่าง