องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศรับรองวัคซีน LC16m8 สำหรับโรค mpox หรือฝีดาษลิง หลังจากมีรายงานแพร่กระจายไป 80 ประเทศ รวมผู้ป่วย 39,000 โดยเป็นกระบวนการรับรองฉุกเฉิน (Emergency Use Listing - EUL) ที่เคยใช้ตอนอนุมัติวัคซีน COVID-19
LC16m8 เป็นวัคซีนเชื้อตายพัฒนาโดย Chiba Serum Institute มาตั้งแต่ปี 1975 เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองสำหรับไข้ทรพิษ (smallpox) มาก่อน จากนั้นจึงส่งต่อ KM Biologics โดยกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นมีการสต็อก LC16m8 เพื่อความมั่นคงตลอดมา การอนุมัติครั้งนี้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถบริจาควัคซีนได้ถึง 3.05 ล้านโดส
ตอนนี้ LC16m8 ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันโรค mpox ในลิงแล้ว และพบว่าลิงที่ได้รับวัคซีนฟื้นจากโรคใน 12-15 วันและไม่มีการเสียชีวิตเลย อย่างไรก็ดียังไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพในมนุษย์นัก แต่เนื่องจากเป็นวัคซีนที่มีการพัฒนามานาน ข้อมูลก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ไม่มีอาการข้างเคียงรุนแรง
WHO อนุมัติวัคซีนโรค mpox อีกหนึ่งตัวคือ Modified Vaccinia Ankara-Bavarian Nordic (MVA-BN) ผ่านกระบวนการ Prequalification (PQ) ที่มีแนวทางพิจารณาต่างกัน โรคที่ WHO เปิดรับพิจารณากระบวนการ EUL ตอนนี้มี 4 โรค ได้แก่ COVID-19, Ebola, mpox, และโรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
ที่มา - WHO
Topics:
WHO
Medical
Vaccine
Health
Continue reading...
LC16m8 เป็นวัคซีนเชื้อตายพัฒนาโดย Chiba Serum Institute มาตั้งแต่ปี 1975 เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองสำหรับไข้ทรพิษ (smallpox) มาก่อน จากนั้นจึงส่งต่อ KM Biologics โดยกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นมีการสต็อก LC16m8 เพื่อความมั่นคงตลอดมา การอนุมัติครั้งนี้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถบริจาควัคซีนได้ถึง 3.05 ล้านโดส
ตอนนี้ LC16m8 ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันโรค mpox ในลิงแล้ว และพบว่าลิงที่ได้รับวัคซีนฟื้นจากโรคใน 12-15 วันและไม่มีการเสียชีวิตเลย อย่างไรก็ดียังไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพในมนุษย์นัก แต่เนื่องจากเป็นวัคซีนที่มีการพัฒนามานาน ข้อมูลก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ไม่มีอาการข้างเคียงรุนแรง
WHO อนุมัติวัคซีนโรค mpox อีกหนึ่งตัวคือ Modified Vaccinia Ankara-Bavarian Nordic (MVA-BN) ผ่านกระบวนการ Prequalification (PQ) ที่มีแนวทางพิจารณาต่างกัน โรคที่ WHO เปิดรับพิจารณากระบวนการ EUL ตอนนี้มี 4 โรค ได้แก่ COVID-19, Ebola, mpox, และโรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
ที่มา - WHO
Topics:
WHO
Medical
Vaccine
Health
Continue reading...