กรรมการคุ้มครองผู้บริโภคออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer
Commission - ACCC) รายงานถึงเหตุการณ์หลอกลวงเงินในปี 2022 ครอบคลุมความเสียหายจากการล่อลวงทุกประเภท ตั้งแต่การหลอกลงทุน, หลอกให้รัก (แล้วโอนเงินให้), ไปจนถึงการหลอกติดตั้งแอปเพื่อให้คนร้ายเข้ามาดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร พบว่าความเสียหายยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยอดความเสียหายรวม กว่า 3,100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย รวมกว่า 500,000 คดี
ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดเสียหายเป็นการหลอกให้ลงทุน ยอดเสียหายสูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และ remote access scam ที่คนร้ายเข้าควบคุมอุปกรณ์หรือพีซีของเหยื่อคิดเป็นความเสียหาย 229 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 5,200 ล้านบาท
ACCC พบว่า 4 แนวรูปแบบการหลอกลวงการลงุทนที่มากขึ้น ได้แก่
เฉพาะ remote access scam หรือแอปดูดเงิน พบรายงาน 11,792 คดี ลดลง 24.9% จากปี 2021 แต่ความเสียหายกลับเพิ่มขึ้นเพราะ ยอดเสียหายแต่ละคดีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 32.6% ผู้เสียหายส่วนใหญ่เป็นหญิงสูงอายุที่ถูกหลอกว่าเจ้าหน้าที่บริษัทอินเทอร์เน็ตต้องการเข้ามาแก้ไขอินเทอร์เน็ตจึงเปิดให้คนร้ายเข้ามายังคอมพิวเตอร์
ที่มา - ACCC
Topics:
Scam
Banking
Australia
อ่านต่อ...
Commission - ACCC) รายงานถึงเหตุการณ์หลอกลวงเงินในปี 2022 ครอบคลุมความเสียหายจากการล่อลวงทุกประเภท ตั้งแต่การหลอกลงทุน, หลอกให้รัก (แล้วโอนเงินให้), ไปจนถึงการหลอกติดตั้งแอปเพื่อให้คนร้ายเข้ามาดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร พบว่าความเสียหายยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยอดความเสียหายรวม กว่า 3,100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย รวมกว่า 500,000 คดี
ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดเสียหายเป็นการหลอกให้ลงทุน ยอดเสียหายสูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และ remote access scam ที่คนร้ายเข้าควบคุมอุปกรณ์หรือพีซีของเหยื่อคิดเป็นความเสียหาย 229 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 5,200 ล้านบาท
ACCC พบว่า 4 แนวรูปแบบการหลอกลวงการลงุทนที่มากขึ้น ได้แก่
- หลอกลงทุนพันธบัตร: คนร้ายหลอกว่าเป็นเข้าหน้าที่ธนาคารติดต่อเหยื่อว่าสามารถซื้อพันธบัตรความเสี่ยงต่ำได้ คนร้ายหลอกได้แนบเนียนขึ้น เว็บไซต์และเอกสารน่าเชื่อถือ รวมถึงไปสร้างรีวิวปลอมตามแพลตฟอร์มต่างๆ
- หลอกซื้อหุ้น IPO ปลอม: คนร้ายปลอมเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทเพื่อหลอกว่าบริษัทกำลังเสนอขายหุ้นให้แก่บุคคลทั่วไป (IPO) โดยมักหลอกลวงเป็นบริษัทดัง หลายครั้งก็ตามน้ำไปกับการ IPO จริง
- หลอกให้รักแล้วชวนลงทุน: คนร้ายสานสัมพันธ์กับเหยื่อเป็นเวลานาน แล้วค่อยๆ ทำให้เชื่อว่าคนร้ายประสบความสำเร็จในการลงทุน จากนั้นจึงสอนให้เหยื่อไปลงทุนในแพลตฟอร์มลงทุนปลอมๆ
- บริการตามเงินคืนหลังถูกหลอก: เป็นแนวทางใหม่ที่คนร้ายจะหลอกเหยื่อที่เคยโดนหลอกแล้วซ้ำ คนร้ายจะติดต่อเหยื่อแล้วอ้างว่าติดตามเงินมาคืนได้ จากนั้นก็เก็บค่าธรรมเนียมแพงๆ
เฉพาะ remote access scam หรือแอปดูดเงิน พบรายงาน 11,792 คดี ลดลง 24.9% จากปี 2021 แต่ความเสียหายกลับเพิ่มขึ้นเพราะ ยอดเสียหายแต่ละคดีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 32.6% ผู้เสียหายส่วนใหญ่เป็นหญิงสูงอายุที่ถูกหลอกว่าเจ้าหน้าที่บริษัทอินเทอร์เน็ตต้องการเข้ามาแก้ไขอินเทอร์เน็ตจึงเปิดให้คนร้ายเข้ามายังคอมพิวเตอร์
ที่มา - ACCC
Topics:
Scam
Banking
Australia
อ่านต่อ...