- เข้าร่วม
- 1 มิถุนายน 2011
- ข้อความ
- 9,812
- คะแนนปฏิกิริยา
- 0
- คะแนน
- 0
นับเป็นเรื่องสะเทือนวงการการศึกษา เมื่อบทเรียนต่าง ๆ รวมถึงบทเรียนที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “ตารางธาตุ” และ “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” กลับถูกถอนจากหลักสูตรของนักเรียนในประเทศอินเดีย
ช่วงต้นปีนี้ สภาวิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษาแห่งชาติ (NCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะที่พัฒนาหลักสูตรและตำราเรียนของโรงเรียนอินเดีย ได้ถอน”ตารางธาตุ” ออกจากบทเรียนของชั้นเรียนปีที่ 10 ซึ่งเป็นชั้นปีสุดท้ายที่บังคับเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะมีเพียงนักเรียนส่วนน้อยที่เลือกเรียนวิชาเคมีในชั้นปีที่ 11 และ 12 เท่านั้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ
การแก้ไขหลักสูตรได้เริ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว NCERT ได้ปรับลดบทเรียนเพื่อลดความกดดันต่อการเรียนออนไลน์ในช่วงภาวะระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเลือกถอนเนื้อหาที่มีความยากเกินระดับ เนื้อหาที่สามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งอื่น และเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต่อปัจจุบันออก แต่ปรากฎว่าในปีการศึกษาใหม่นี้ บทเรียนต่าง ๆ ก็ยังถูกถอนจากหลักสูตรเช่นเคย ทำให้ผู้คนบางส่วนไม่พอใจกับการถอนบทเรียนที่พวกเขามองว่ามีความสำคัญออก
ก่อนหน้านี้ NCERT ก็เคยตกเป็นเป้าจากการถอนบทเรียนที่นับว่าเป็นพื้นฐานของชีววิทยาอย่าง ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ ของ ชาร์ล ดาวิน” ออกจากวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นปีที่ 10 มาแล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษามากกว่า 1,800 คนได้เขียนจดหมายแสดงความกังวล แต่รัฐบาลกลับปฏิเสธคำวิจารณ์ทั้งหมดว่าเป็นเพียงแค่โฆษณาชวนเชื่อ โดย Subhas Sarkar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาแห่งรัฐ ได้กล่าวว่า "เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงต้องลดเนื้อหาเพื่อลดภาระในการเรียน โดยหากนักเรียนสนใจในทฤษฎีวิวัฒนาการก็สามารถศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมถึงทฤษฎีดังกล่าวก็มีในหลักสูตรของชั้นปีที่ 12”
นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่ว่าการแก้ไขหลักสูตรในอินเดียอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางศาสนา นักประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Jawaharlal Nehru ในนิวเดลี กล่าวว่า การแก้ไขหลักสูตรนั้นถูกสนับสนุนโดยองค์กรอาสาสมัครมวลชน Rashtriya Swayamsevak Sangh (RSS) ที่มีความคิดว่าศาสนาฮินดูถูกคุกคามจากศาสนาและวัฒนธรรมอื่น ๆของอินเดีย รวมถึง ในอินเดียนั้นยังมีการต่อต้านความคิดของฝั่งตะวันตก ซึ่งทฤษฎีวิวัฒนาการเอง ก็ขัดแย้งกับตำนานการสร้างโลก
ที่มา : รัฐบาลปฏิเสธคำวิจารณ์ว่าเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อ via NDTV, SCIENTIFIC AMERICAN
ดูไฟล์แนบ 1aeb711de3dd19dfd745392034f46322.jpg
Topics:
India
Science
Chemistry
Biology
อ่านต่อ...
ช่วงต้นปีนี้ สภาวิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษาแห่งชาติ (NCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะที่พัฒนาหลักสูตรและตำราเรียนของโรงเรียนอินเดีย ได้ถอน”ตารางธาตุ” ออกจากบทเรียนของชั้นเรียนปีที่ 10 ซึ่งเป็นชั้นปีสุดท้ายที่บังคับเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะมีเพียงนักเรียนส่วนน้อยที่เลือกเรียนวิชาเคมีในชั้นปีที่ 11 และ 12 เท่านั้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ
การแก้ไขหลักสูตรได้เริ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว NCERT ได้ปรับลดบทเรียนเพื่อลดความกดดันต่อการเรียนออนไลน์ในช่วงภาวะระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเลือกถอนเนื้อหาที่มีความยากเกินระดับ เนื้อหาที่สามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งอื่น และเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต่อปัจจุบันออก แต่ปรากฎว่าในปีการศึกษาใหม่นี้ บทเรียนต่าง ๆ ก็ยังถูกถอนจากหลักสูตรเช่นเคย ทำให้ผู้คนบางส่วนไม่พอใจกับการถอนบทเรียนที่พวกเขามองว่ามีความสำคัญออก
ก่อนหน้านี้ NCERT ก็เคยตกเป็นเป้าจากการถอนบทเรียนที่นับว่าเป็นพื้นฐานของชีววิทยาอย่าง ”ทฤษฎีวิวัฒนาการ ของ ชาร์ล ดาวิน” ออกจากวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นปีที่ 10 มาแล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษามากกว่า 1,800 คนได้เขียนจดหมายแสดงความกังวล แต่รัฐบาลกลับปฏิเสธคำวิจารณ์ทั้งหมดว่าเป็นเพียงแค่โฆษณาชวนเชื่อ โดย Subhas Sarkar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาแห่งรัฐ ได้กล่าวว่า "เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงต้องลดเนื้อหาเพื่อลดภาระในการเรียน โดยหากนักเรียนสนใจในทฤษฎีวิวัฒนาการก็สามารถศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมถึงทฤษฎีดังกล่าวก็มีในหลักสูตรของชั้นปีที่ 12”
นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่ว่าการแก้ไขหลักสูตรในอินเดียอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางศาสนา นักประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Jawaharlal Nehru ในนิวเดลี กล่าวว่า การแก้ไขหลักสูตรนั้นถูกสนับสนุนโดยองค์กรอาสาสมัครมวลชน Rashtriya Swayamsevak Sangh (RSS) ที่มีความคิดว่าศาสนาฮินดูถูกคุกคามจากศาสนาและวัฒนธรรมอื่น ๆของอินเดีย รวมถึง ในอินเดียนั้นยังมีการต่อต้านความคิดของฝั่งตะวันตก ซึ่งทฤษฎีวิวัฒนาการเอง ก็ขัดแย้งกับตำนานการสร้างโลก
ที่มา : รัฐบาลปฏิเสธคำวิจารณ์ว่าเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อ via NDTV, SCIENTIFIC AMERICAN
ดูไฟล์แนบ 1aeb711de3dd19dfd745392034f46322.jpg
Topics:
India
Science
Chemistry
Biology
อ่านต่อ...