เวลาเราเดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคใต้ อาจจะเดินทางขึ้นเขาไปบนเขื่อน หรือเดินทางนั่งเรือ ออกจากแผ่นดินใหญ่ ข้ามทะเลไปเกาะต่างๆ ไปดำน้ำในพื้นที่ต่างๆ แล้วมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้งาน อาจจะแค่รู้สึกว่า ดีจังเลยที่ยังใช้สมาร์ทโฟนได้
แต่เบื้องหลังของความรู้สึก “ดีจังเลย” นั้นมันมีที่มาที่ไป ตั้งแต่วิธีคิดและการทำงานหนักของทีมวิศวกรเบื้องหลังจากทีม AIS ภาคใต้ ที่มองเรื่องคุณภาพและความครอบคลุมของเครือข่ายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด จนฝังอยู่ในวิธีคิดการทำงานและกลายเป็น mentality สำคัญของทีมงาน
พี่จู่ ไพบูลย์ รินทร์สกุล หัวหน้าปฏิบัติงานภูมิภาค-ภาคใต้ AIS เล่าให้ฟังว่า เศรษฐกิจภาคใต้ มองจากข้างนอกเข้ามา อาจจะรู้สึกว่าปัจจัยหลักคือนักท่องเที่ยว กลุ่มคนที่ใช้เงิน สร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจคือนักท่องเที่ยว แต่อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน คือกลุ่มคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมและซัพพลายเชนของการท่องเที่ยวทั้งหมด ไม่ว่าจะ hospitality, entertainment หรือ transportation เป็นต้น
เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในภาคใต้ในมุม AIS จึงมีทั้ง 2 ส่วนคือนักท่องเที่ยวและกลุ่มคนที่อยู่ในอุตสาหกรรม ดังนั้นเป้าหมายของการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ให้ได้มากที่สุดในภาคใต้ จึงมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปในตัว
พี่จู่ ไพบูลย์ รินทร์สกุล หัวหน้าปฏิบัติงานภูมิภาค-ภาคใต้ AIS
พี่จู่เล่าว่า ปัจจุบันสัญญาณของ AIS ทั้ง 4G และ 5G ครอบคลุมถึง 95% ของพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงพื้นที่บนแผ่นใหญ่และชายฝั่งทะเล 2 ด้านเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกาะต่างๆ พื้นที่ทางทะเลระหว่างเกาะ และพื้นที่บนเขาสูง ห่างไกลด้วย เพราะนักท่องเที่ยวไปทุกที่ โครงข่ายสัญญาณก็ต้องครอบคลุมให้ได้มากที่สุด
การครอบคลุมของสัญญาณไม่ได้มีแค่เหตุผลเรื่องของการใช้งานของนักท่องเที่ยวและกลุ่มคนที่ให้บริการเท่านั้น แต่ยังคงมีเรื่องของความปลอดภัย เช่น สมมติกรณีที่นักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุอยู่บนเขา, เกิดพายุกลางทะเล หรือชาวประมงที่ออกเรือไปไกลๆ เกิดอุบัติเหตุ สัญญาณโทรศัพท์เลยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
เลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทีมวิศวกร AIS จำเป็นต้องติดอุปกรณ์รับสัญญาณไปกับเรือประมง เพื่อเก็บเป็นข้อมูลพล็อตเส้นทางการเดินเรือ (ไม่นับเรือเฟอร์รี่ที่ AIS รู้เส้นทางปกติอยู่แล้ว) ประกอบร่วมกับการใช้ข้อมูลจากซิมท่องเที่ยวจากเซลล์ไซต์ต่างๆ เพื่อนำไปประกอบการวางแผนติดตั้งเซลล์ไซต์ให้ครอบคลุมที่สุด
หรือกรณีของโรงแรมต่างๆ ที่แม้สัญญาณจะครอบคลุมได้เป็นอย่างดี ในพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวอยู่ แต่ก็จะมีบางจุดของโรงแรม โดยเฉพาะตามห้องแม่บ้าน พื้นที่ใต้ดิน หรือ back office ที่เป็นพื้นที่ของพนักงานบริการหรือสต๊าฟฟ์โรงแรม ทีมวิศวกร AIS ก็จะไปพยายามให้ติด repeater เพื่อให้พนักงานบริการเหล่านี้ ยังคงสามารถใช้งานเครือข่ายได้ในพื้นที่ของตัวเองนอกเวลางาน นอกจากนี้ยังมีการประสานงานกับสมาคมท่องเที่ยว สำหรับการรวบรวมข้อมูลว่าโรงแรมไหนสัญญาณดีหรือไม่ดีอย่างไร และไล่แก้ปัญหาให้ครบทั้งหมด
ทีมวิศวกร AIS เล่าด้วยว่าความท้าทายสำคัญของการขยายโครงข่ายภาคใต้ คือภูมิประเทศ ที่เป็นเขาสูงและเกาะ ไปจนถึงพื้นที่ทางทะเลที่เป็นเส้นทางการเดินเรือหลัก ซึ่งเหล่านี้มีความยากและท้าทายมากกว่าการขยายสัญญาณบนภาคพื้นค่อนข้างมาก
ตัวอย่างที่ทีมวิศวกร AIS เล่าอย่างภาคภูมิใจในความสำเร็จ คือการวางโครงข่ายให้พื้นที่ในทะเล ที่เป็นเส้นทางการเดินเรือระหว่างจังหวัดชุมพรและเกาะเต่า ที่มีระยะทางราว 70 กิโลเมตร (ซึ่งไกลมากๆ) สามารถมีสัญญาณโทรศัพท์ใช้งานได้ 99% ของเส้นทาง เหลือแค่ราวๆ 1 กิโลเมตรเท่านั้น โดยการวาง SuperCell เอาไว้ที่ชายฝั่งทั้ง 2 ฝั่ง (ชุมพรและเกาะเต่า) ยิงเข้าหากัน โดยใช้ High-Gain Antenna สูง 65 เมตร และเพิ่มกำลังทั้งขาส่งและขารับ ทำให้แต่ละเซลล์ไซต์ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ฝั่งละประมาณ 35 กิโลเมตร และเป็นการเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ อย่างความโค้งของพื้นโลกและปรากฎการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
หรืออีกกรณีที่ทีมวิศวกรของ AIS บอกว่าดีใจมากที่ได้ทำ คือการไปติดตั้งเซลล์ไซต์บนเขายา จังหวัดพังงา ที่มีความลำบากตั้งแต่การเดินทางขึ้นไปสำรวจ วันที่เซลล์ไซต์เปิดใช้งานครั้งแรก ทีมงานพบว่าชาวบ้านบนเขามารวมตัวกันและตื่นเต้นกันมาก ที่จะมีสัญญาณโทรศัพท์ใช้งาน ซึ่งกรณีแบบนี้ หากมองในเชิงธุรกิจ ในเชิง ROI (return of investment) ยังไงก็ไม่คุ้ม แต่ทีม AIS ก็ตัดสินใจทำด้วยเหตุผลด้านสังคม หรือ Social Responsibility เป็นหลัก
ขณะเดียวกันในอีกหลากหลายพื้นที่ของภาคใต้ ก็มี AIS ให้บริการอยู่แค่เจ้าเดียว เช่น เขื่อนรัชชประภา, อ่าวมาหยา และเขาสก ซึ่งล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยอุปสรรคทางธรรมชาติ เป็นภาพสะท้อน mentality ในการให้บริการของทีม AIS ได้ค่อนข้างดี ว่าผู้ใช้บริการต้องมาก่อนความยากลำบากในการติดตั้งหรือความคุ้มค่าในการลงทุนเรื่องเสานั่นเอง
นอกจากเรื่องการครอบคลุมของเสาสัญญาณแล้ว อีก 2 เรื่องที่พี่จู่เน้นย้ำกับทีมงานคือ Capacity ของโครงข่าย ที่ต้องเร็วและรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้อย่างต่อเนื่อง และ Reliability ทำให้ทุกไซต์สามารถใช้งานได้ 24/7 อย่างเช่นไซต์ที่ตั้งอยู่ทีห่างไกล ก็จะมีแบตสำรองเผื่อไฟดับ หรือกรณีที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ก็อาจจะไปใช้โซลาร์เซล์ หรือเครื่องปั่นไฟแทน ไปจนถึงการทำ Link Protection ในไซต์ที่สุ่มเสี่ยง
ด้วย mentality ที่ให้ความสำคัญกับโครงข่ายทั้งเรื่องความครอบคลุมและคุณภาพ โดยนึกถึงการใช้งานของลูกค้ามาเป็นอันดับ 1 นี้เอง ที่พี่จู่บอกว่า มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของ AIS ในภาคใต้นำมาเป็นอันดับ 1 นั่นเอง
Topics:
AIS
Network
Telecom
Continue reading...
แต่เบื้องหลังของความรู้สึก “ดีจังเลย” นั้นมันมีที่มาที่ไป ตั้งแต่วิธีคิดและการทำงานหนักของทีมวิศวกรเบื้องหลังจากทีม AIS ภาคใต้ ที่มองเรื่องคุณภาพและความครอบคลุมของเครือข่ายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด จนฝังอยู่ในวิธีคิดการทำงานและกลายเป็น mentality สำคัญของทีมงาน
พี่จู่ ไพบูลย์ รินทร์สกุล หัวหน้าปฏิบัติงานภูมิภาค-ภาคใต้ AIS เล่าให้ฟังว่า เศรษฐกิจภาคใต้ มองจากข้างนอกเข้ามา อาจจะรู้สึกว่าปัจจัยหลักคือนักท่องเที่ยว กลุ่มคนที่ใช้เงิน สร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจคือนักท่องเที่ยว แต่อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน คือกลุ่มคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมและซัพพลายเชนของการท่องเที่ยวทั้งหมด ไม่ว่าจะ hospitality, entertainment หรือ transportation เป็นต้น
เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในภาคใต้ในมุม AIS จึงมีทั้ง 2 ส่วนคือนักท่องเที่ยวและกลุ่มคนที่อยู่ในอุตสาหกรรม ดังนั้นเป้าหมายของการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ให้ได้มากที่สุดในภาคใต้ จึงมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปในตัว
พี่จู่เล่าว่า ปัจจุบันสัญญาณของ AIS ทั้ง 4G และ 5G ครอบคลุมถึง 95% ของพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงพื้นที่บนแผ่นใหญ่และชายฝั่งทะเล 2 ด้านเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกาะต่างๆ พื้นที่ทางทะเลระหว่างเกาะ และพื้นที่บนเขาสูง ห่างไกลด้วย เพราะนักท่องเที่ยวไปทุกที่ โครงข่ายสัญญาณก็ต้องครอบคลุมให้ได้มากที่สุด
การครอบคลุมของสัญญาณไม่ได้มีแค่เหตุผลเรื่องของการใช้งานของนักท่องเที่ยวและกลุ่มคนที่ให้บริการเท่านั้น แต่ยังคงมีเรื่องของความปลอดภัย เช่น สมมติกรณีที่นักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุอยู่บนเขา, เกิดพายุกลางทะเล หรือชาวประมงที่ออกเรือไปไกลๆ เกิดอุบัติเหตุ สัญญาณโทรศัพท์เลยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
เลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทีมวิศวกร AIS จำเป็นต้องติดอุปกรณ์รับสัญญาณไปกับเรือประมง เพื่อเก็บเป็นข้อมูลพล็อตเส้นทางการเดินเรือ (ไม่นับเรือเฟอร์รี่ที่ AIS รู้เส้นทางปกติอยู่แล้ว) ประกอบร่วมกับการใช้ข้อมูลจากซิมท่องเที่ยวจากเซลล์ไซต์ต่างๆ เพื่อนำไปประกอบการวางแผนติดตั้งเซลล์ไซต์ให้ครอบคลุมที่สุด
หรือกรณีของโรงแรมต่างๆ ที่แม้สัญญาณจะครอบคลุมได้เป็นอย่างดี ในพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวอยู่ แต่ก็จะมีบางจุดของโรงแรม โดยเฉพาะตามห้องแม่บ้าน พื้นที่ใต้ดิน หรือ back office ที่เป็นพื้นที่ของพนักงานบริการหรือสต๊าฟฟ์โรงแรม ทีมวิศวกร AIS ก็จะไปพยายามให้ติด repeater เพื่อให้พนักงานบริการเหล่านี้ ยังคงสามารถใช้งานเครือข่ายได้ในพื้นที่ของตัวเองนอกเวลางาน นอกจากนี้ยังมีการประสานงานกับสมาคมท่องเที่ยว สำหรับการรวบรวมข้อมูลว่าโรงแรมไหนสัญญาณดีหรือไม่ดีอย่างไร และไล่แก้ปัญหาให้ครบทั้งหมด
ทีมวิศวกร AIS เล่าด้วยว่าความท้าทายสำคัญของการขยายโครงข่ายภาคใต้ คือภูมิประเทศ ที่เป็นเขาสูงและเกาะ ไปจนถึงพื้นที่ทางทะเลที่เป็นเส้นทางการเดินเรือหลัก ซึ่งเหล่านี้มีความยากและท้าทายมากกว่าการขยายสัญญาณบนภาคพื้นค่อนข้างมาก
ตัวอย่างที่ทีมวิศวกร AIS เล่าอย่างภาคภูมิใจในความสำเร็จ คือการวางโครงข่ายให้พื้นที่ในทะเล ที่เป็นเส้นทางการเดินเรือระหว่างจังหวัดชุมพรและเกาะเต่า ที่มีระยะทางราว 70 กิโลเมตร (ซึ่งไกลมากๆ) สามารถมีสัญญาณโทรศัพท์ใช้งานได้ 99% ของเส้นทาง เหลือแค่ราวๆ 1 กิโลเมตรเท่านั้น โดยการวาง SuperCell เอาไว้ที่ชายฝั่งทั้ง 2 ฝั่ง (ชุมพรและเกาะเต่า) ยิงเข้าหากัน โดยใช้ High-Gain Antenna สูง 65 เมตร และเพิ่มกำลังทั้งขาส่งและขารับ ทำให้แต่ละเซลล์ไซต์ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ฝั่งละประมาณ 35 กิโลเมตร และเป็นการเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ อย่างความโค้งของพื้นโลกและปรากฎการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
หรืออีกกรณีที่ทีมวิศวกรของ AIS บอกว่าดีใจมากที่ได้ทำ คือการไปติดตั้งเซลล์ไซต์บนเขายา จังหวัดพังงา ที่มีความลำบากตั้งแต่การเดินทางขึ้นไปสำรวจ วันที่เซลล์ไซต์เปิดใช้งานครั้งแรก ทีมงานพบว่าชาวบ้านบนเขามารวมตัวกันและตื่นเต้นกันมาก ที่จะมีสัญญาณโทรศัพท์ใช้งาน ซึ่งกรณีแบบนี้ หากมองในเชิงธุรกิจ ในเชิง ROI (return of investment) ยังไงก็ไม่คุ้ม แต่ทีม AIS ก็ตัดสินใจทำด้วยเหตุผลด้านสังคม หรือ Social Responsibility เป็นหลัก
ขณะเดียวกันในอีกหลากหลายพื้นที่ของภาคใต้ ก็มี AIS ให้บริการอยู่แค่เจ้าเดียว เช่น เขื่อนรัชชประภา, อ่าวมาหยา และเขาสก ซึ่งล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยอุปสรรคทางธรรมชาติ เป็นภาพสะท้อน mentality ในการให้บริการของทีม AIS ได้ค่อนข้างดี ว่าผู้ใช้บริการต้องมาก่อนความยากลำบากในการติดตั้งหรือความคุ้มค่าในการลงทุนเรื่องเสานั่นเอง
นอกจากเรื่องการครอบคลุมของเสาสัญญาณแล้ว อีก 2 เรื่องที่พี่จู่เน้นย้ำกับทีมงานคือ Capacity ของโครงข่าย ที่ต้องเร็วและรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้อย่างต่อเนื่อง และ Reliability ทำให้ทุกไซต์สามารถใช้งานได้ 24/7 อย่างเช่นไซต์ที่ตั้งอยู่ทีห่างไกล ก็จะมีแบตสำรองเผื่อไฟดับ หรือกรณีที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ก็อาจจะไปใช้โซลาร์เซล์ หรือเครื่องปั่นไฟแทน ไปจนถึงการทำ Link Protection ในไซต์ที่สุ่มเสี่ยง
ด้วย mentality ที่ให้ความสำคัญกับโครงข่ายทั้งเรื่องความครอบคลุมและคุณภาพ โดยนึกถึงการใช้งานของลูกค้ามาเป็นอันดับ 1 นี้เอง ที่พี่จู่บอกว่า มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของ AIS ในภาคใต้นำมาเป็นอันดับ 1 นั่นเอง
Topics:
AIS
Network
Telecom
Continue reading...