กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see


ข่าว เจาะเบื้องหลัง KBTG Kampus ร่วมเปิดหลักสูตรปริญญาโท สร้างคนยุค AI กับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย

News 

Moderator
สมาชิกทีมงาน
Moderator
Verify member
เข้าร่วม
1 มิถุนายน 2011
ข้อความ
9,810
คะแนนปฏิกิริยา
0
คะแนน
0
KBTG Kampus ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ในการยกระดับการศึกษาระดับสูงให้ตอบโจทย์ยุคที่ AI กำลังเปลี่ยนแปลงโลก โดยร่วมกันออกแบบหลักสูตรปริญญาโทที่นำโจทย์จากงานวิจัยจริงมาพัฒนา เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้จริงในโลกอุตสาหกรรมทั้งปัจจุบันและอนาคต

No Description


โดยล่าสุด KBTG ได้จัดงานประกาศความร่วมมือและแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับตลาดแรงงานในการผลิตบุคลากรในยุค AI ร่วมกับอธิการบดีจากมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง โดยวางจุดหมายปลายทางของความร่วมมือครั้งนี้เอาไว้เป็นการพัฒนาเส้นทางอาชีพให้กับคนทำงานและยกระดับความเป็นผู้นำด้าน AI ของไทยในระดับภูมิภาคและระดับโลก

ความร่วมมือครั้งนี้นำมาสู่การเปิด 3 หลักสูตรที่มุ่งเน้นสาขาสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี ได้แก่

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ - หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) - มหาวิทยาลัยมหิดล
  • หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทั้งสามหลักสูตรออกแบบมาครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรม ไปจนถึงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความพร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัลเพื่อเติมเต็มระบบเศรษฐกิจของไทย


AI เปลี่ยนโลกเทียบเท่าปฏิวัติไฟฟ้า การศึกษาต้องทัน​


ภายในงานประกาศความร่วมมือครั้งนี้ คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ได้กล่าวถึงทิศทางของตลาดแรงงานในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทในทุกอุตสาหกรรมและทุกมิติของการทำงาน โดยเกริ่นถึงพัฒนาการเกี่ยวกับ AI ในปัจจุบันว่า AI กำลังก้าวขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน (General Purpose Technology) ที่มีความสำคัญในลักษณเดียวกับไฟฟ้า คือสามารถใช้ได้ในทุกอุตสาหกรรมและในทุกระดับของงาน

โดยเฉพาะ Generative AI ที่มีอัตราการยอมรับและนำไปใช้อย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรม เห็นได้จากเครื่องมือ AI ที่เกิดขึ้นมากมายและถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานหลากหลายรูปแบบ ช่วยพัฒนาและสนับสนุนการทำงานในทุกสาขาอาชีพ

คุณเรืองโรจน์อธิบายว่า AI มีลักษณะสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน คือ

  • ความแพร่หลาย (Pervasiveness) ถูกนำไปใช้โดยทุกคน ทุกที่ และในทุกอุตสาหกรรม
  • การพัฒนาอย่างรวดเร็ว (Rapid Improvement) Gen AI มีการพัฒนาการรวดเร็วมากจากช่วงเริ่มต้น
  • เป็นนวัตกรรมเสริม (Complementary Innovations): ช่วยปรับปรุงกระบวนการงานทั้งหมดในภาพรวม ไม่ใช่เทคโนโลยีที่นำไปใช้ได้แค่กับงานใดงานหนึ่ง

แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วก็เผชิญกับความท้าทายสำคัญเพราะ 80% ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี โดยคาดการณ์ว่าจะขาดแคลนบุคลากรด้าน Cyber Security มากกว่า 2.5 ล้านคนในภูมิภาคนี้

ขณะเดียวกัน การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจชี้ให้เห็นว่า AI จะสร้างการเติบโตให้ GDP โลกถึง 15.7 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 และจะส่งผลต่อการจ้างงานประมาณ 40% ของทั่วโลก

หากประเทศไทยไม่อยากตกขบวนการพัฒนาคราวนี้ ก็จำเป็นอย่างมากที่ระบบการศึกษาจะสามารถสร้างคนที่มีความพร้อมเรื่อง AI ออกมา

เพราะที่จริงแล้ว AI จะไม่ได้เข้ามาแทนที่งานทั้งหมด แต่จะเปลี่ยนลักษณะงานให้ต้องใช้ทักษะใหม่ๆ AI ทำให้เกิด Task Automation ไม่ใช่ Job Automation คนที่อยู่หลัง AI จึงต้องมีทักษะชุดใหม่ ๆ

อีกเรื่องที่บุคลากรในยุค AI จะต้องเจอในมุมมองของคุณเรืองโรจน์คือ ปัญหาด้านจริยธรรมจากการพึ่งพาเครื่องมือ AI มากเกินไป เช่น การลอกเลียนงาน หรือการสูญเสียทักษะคิดเชิงวิจารณ์ ณ จุดนี้ภาคการศึกษาก็ต้องสร้างบุคคลกรที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับ AI (AI Literacy) ไม่ใช่แค่ใช้เครื่องมือ AI ได้

KBTG จึงมองว่าการศึกษามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงตลาดแรงงาน โดยเฉพาะในสายงานที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจาก AI มาก เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ การเงิน (ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าได้มาก)

และในการเปลี่ยนผ่านตลาดแรงงาน คุณเรืองโรจน์มองว่าต้องทำ 4 เรื่องคู่ขนานกันไป คือ

  • เตรียมการศึกษาให้พร้อมต่อ AI (Education for AI)
  • นำ AI มาใช้ในการศึกษา (AI for Education)
  • เตรียมโลกการทำงานให้พร้อมต่อ AI (Workforce for AI)
  • การนำ AI มาใช้ในโลกการทำงาน (AI for Workforce)

หลักสูตรปริญญาโทร่วมที่ KBTG ร่วมกันทำกับมหาวิทยาลัยชั้นนำนั้นตอบโจทย์ทั้งสี่เรื่องที่กล่าวมาข้างต้น โดยหลักสูตรมีจุดเด่นด้วยกัน 5 ด้าน ได้แก่ เป็นความร่วมมือขององค์กรชั้นนำด้านการศึกษาและธุรกิจ ให้ความสำคัญกับเทตโนโลยียุคใหม่ หลักสูตรในไปประยุกต์ใช้ได้จริงในอุตสาหกรรม มีโอกาสทำวิจัยร่วมกับทีมของ KBTG และยังมอบโอกาสด้านอาชีพให้กับนักศึกษาในหลักสูตร


ผู้นำการศึกษามองการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างไร​


นอกจากจะได้ฟังมุมมองต่อตลาดแรงงานในปัจจุบันจากทาง KBTG แล้ว อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญในงานนี้คือการแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาบุคลากรจากอธิการบดีจากสถานศึกษาชั้นนำของประเทศไทยทั้ง 3 แห่งอีกด้วย

รศ.ดร. คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เริ่มต้นว่าจากที่ได้สัมผัสมาในรั้วสถาบันการศึกษา พบว่าทุกวันนี้เราไม่สามารถหยุดไม่ให้นักศึกษาใช้ AI ไม่ได้อีกแล้ว ในทางกลับกัน เป็นตัวอาจารย์เองก็ต้องนำ AI มาใช้ในการสอนให้ได้

อย่างไรก็ตาม AI ไม่สามารถทำอะไรได้ถ้าเราไม่ได้ใส่กระบวนการลงไป จึงต้องพัฒนาคนที่เป็นนาย AI ออกมาและร่วมทำงานกันให้ได้ โดยเฉพาะในยุคสังคมสูงวัยที่การเกิดน้อยลง การพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ในตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด

ศ.นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มุมมองเกี่ยวถึงแนวโน้มเรื่อง AI ไว้น่าสนใจ โดยเน้นย้ำว่า เราไม่ควรกังวลเรื่อง AI แต่ควรให้ความสำคัญกับ IA (Intelligence Amplification) หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อขยายความสามารถของมนุษย์ เพราะสิ่งที่จะ disrupt เราไม่ใช่ AI แต่เป็นคนที่ใช้ AI

No Description


นอกจากนี้ ศ.นพ. ปิยะมิตร ยังมองว่า AI เป็นเพียงหนึ่งในหลาย megatrends ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลก ร่วมกับการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สังคมผู้สูงอายุ และการขยายตัวของเมือง ซึ่งก็ผลักให้โลกมองหาคนที่ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้

ศ.ดร. ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มุมมองที่สนใจเกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อ ‘คน’ ซึ่งเป็นผู้ใช้ AI โดยมองว่าความรู้พื้นฐานยังเป็นสิ่งที่ทิ้งไม่ได้ และยังเน้นย้ำให้ใช้ AI เป็นเครื่องมือโดยไม่ลืมความเป็นมนุษย์

การเพิ่มมุมมองทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และกฎหมาย การวางตำแหน่งแห่งที่ของมนุษย์ให้ถูกทางคือปัจจัยสำคัญของการนำใช้เทคโนโลยีมาใช้เกิดประโยชน์และตรงจุดในการพัฒนาประเทศ ท่ามกลางสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี และสงครามไซเบอร์ ซึ่งมีมิติทางสังคมให้ขบคิดและยังต้องการความเป็นมนุษย์ (Human touch) ในการแก้ปัญหา


ต่อยอดความสำเร็จสู่อนาคต​


ที่ผ่านมา KBTG Kampus ได้สร้างผลงานที่น่าประทับใจผ่านโครงการต่างๆ มาแล้ว โดยเฉพาะ ClassNest ที่จัด Bootcamp มาแล้ว 8 หลักสูตร คือ Java & Go Software Engineering (2 รุ่น), Cyber Security (2 รุ่น), Infrastructure และ M.A.D (Machine Learning, AI, Data) ที่ทำร่วมกับแพลตฟอร์มมหาวิทยาลัยชั้นนำ

โดยมีผู้สนใจสมัครกว่า 3,000 คน และมีผู้เข้าร่วมหลักสูตรแล้วกว่า 1,000 คน นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Apprentice ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานจริงกว่า 50 คน และ Co-Research ที่ร่วมมือกับพันธมิตรในการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยี

No Description


ความร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นการต่อยอดครั้งสำคัญในการยกระดับการศึกษาไทย เพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรสู่อนาคตที่ AI จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดย KBTG พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ เพราะเชื่อว่าอนาคตจะอยู่ในมือของคนรุ่นต่อไป

#KBTG #KBTGKampus #BeyondEducation #AI #MAD #CyberSecurity

Topics:
KBTG
KBTG Kampus
AI
Cybersecurity

Continue reading...
 

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม