จากข่าวที่คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา หรือ ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch สองรุ่นมาขายในสหรัฐอเมริกา หลังจากบริษัทพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ Masimo ฟ้องแอปเปิลในข้อหาละเมิดสิทธิบัตร ก็มีรายงานเพิ่มเติมว่าคดีน่าจะมีจุดเริ่มต้นจากอะไร
Mark Gurman แห่ง Bloomberg คนเดิม ระบุว่าตัวละครสำคัญของคดีฟ้องร้องนี้คือ Marcelo Lamego วิศวกรปริญญาเอกจาก Stanford สัญชาติบราซิล ซึ่งทำงานที่ Masimo ตั้งแต่ปี 2003 ในตำแหน่งนักวิจัยวิทยาศาสตร์ แล้วได้เลื่อนเป็นซีทีโอของ Cercacor บริษัทตั้งใหม่ในเครือของ Masimo ในปี 2014 เขาลาออกจาก Masimo ย้ายไปทำงานที่แอปเปิล เรื่องนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องปกติ
แต่มีเอกสารในคดีฟ้องร้อง อธิบายเรื่องราวเบื้องหลัง ว่าแอปเปิลเป็นฝ่ายทาบทาม Lemego ตั้งแต่ต้นปี 2013 ซึ่งตอนนั้นผู้บริหารของแอปเปิลและ Masimo ได้เริ่มเจรจาความร่วมมือพัฒนาสินค้าใหม่อยู่ ทำให้ Lamego ปฏิเสธข้อเสนอของแอปเปิล แต่แล้วเขาเปลี่ยนใจกลับเป็นฝ่ายอีเมลไปหา Tim Cook ซีอีโอแอปเปิลเอง ให้รับเขาเข้าทำงาน เนื่องจากเขาขอเลื่อนตำแหน่งที่ Masimo แต่ไม่ได้ตามต้องการ
สมาร์ทวอทช์ของ Masimo
เนื้อหาในอีเมล Lemego บอกว่าเขาทำงานพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ที่ Masimo มาตลอด 10 ปี และเชื่อว่ามีความสามารถสร้างคุณค่าให้กับแอปเปิลได้แน่นอน หากแอปเปิลให้โอกาส เขาเชื่อว่าแอปเปิลจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ จนเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในตลาดสินค้าการแพทย์ ฟิตเนส และสุขภาพได้
Masimo และแอปเปิลไม่สามารถบรรลุข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีได้ ขณะที่ตอนนั้นแอปเปิลก็เริ่มพัฒนา Apple Watch แล้ว การรับ Lamego มาทำงาน ก็เพื่อดูแลโครงการพัฒนานี้ ในเอกสารยังบอกว่าตอนที่ Lemego ย้ายมาแอปเปิล มีพนักงาน Masimo อีกประมาณ 20 คน ที่ย้ายตามมาด้วย อย่างไรก็ตาม Lamego ก็ทำงานกับแอปเปิลได้แค่เพียง 7 เดือน โดยมีคำอธิบายจากผู้บริหารระดับสูงในแอปเปิลว่า วิธีการทำงานของเขาไม่เข้ากับวัฒนธรรมของแอปเปิล
ทนายของ Masimo ระบุว่าแล้ว Apple Watch ก็เปิดตัวในเดือนกันยายน 2014 แต่ตอนนั้นมีเฉพาะความสามารถการวัดอัตราการเต้นหัวใจ ฟีเจอร์ที่เป็นประเด็นในการฟ้องร้องคือเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือด เริ่มมีในปี 2020 ของ Apple Watch Series 6 แต่เหตุที่ทำให้ Masimo ตัดสินใจฟ้องร้อง เพราะช่วงเวลาเดียวกัน Lemego ได้ตั้งสตาร์ทอัพขายอุปกรณ์วัดระดับออกซิเจนในเลือดชื่อ Oxxiom ซึ่ง Masimo ฟ้องร้องและชนะคดีทำให้ Oxxiom ถูกสั่งห้ามขาย กรณีของ Apple Watch จึงมองว่าคล้ายคลึงกัน
Apple Watch Series 6 ที่เริ่มมีฟีเจอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือด
รายงานบอกว่า Masimo เดิมต้องการเรียกค่าเสียหายจากแอปเปิล 3 พันล้านดอลลาร์ แต่การเจรจาไม่เป็นผล ทำให้บริษัทตัดสินใจฟ้องแบนการนำเข้าสินค้าจนมาสู่ผลลัพธ์ดังกล่าว ขณะที่แอปเปิลก็มีรายงานว่ากำลังหาวิธีแก้ไขเรื่องนี้อยู่
ที่มา: Bloomberg
Topics:
Apple
Apple Watch
Patent
Lawsuits
Health
อ่านต่อ...
Mark Gurman แห่ง Bloomberg คนเดิม ระบุว่าตัวละครสำคัญของคดีฟ้องร้องนี้คือ Marcelo Lamego วิศวกรปริญญาเอกจาก Stanford สัญชาติบราซิล ซึ่งทำงานที่ Masimo ตั้งแต่ปี 2003 ในตำแหน่งนักวิจัยวิทยาศาสตร์ แล้วได้เลื่อนเป็นซีทีโอของ Cercacor บริษัทตั้งใหม่ในเครือของ Masimo ในปี 2014 เขาลาออกจาก Masimo ย้ายไปทำงานที่แอปเปิล เรื่องนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องปกติ
แต่มีเอกสารในคดีฟ้องร้อง อธิบายเรื่องราวเบื้องหลัง ว่าแอปเปิลเป็นฝ่ายทาบทาม Lemego ตั้งแต่ต้นปี 2013 ซึ่งตอนนั้นผู้บริหารของแอปเปิลและ Masimo ได้เริ่มเจรจาความร่วมมือพัฒนาสินค้าใหม่อยู่ ทำให้ Lamego ปฏิเสธข้อเสนอของแอปเปิล แต่แล้วเขาเปลี่ยนใจกลับเป็นฝ่ายอีเมลไปหา Tim Cook ซีอีโอแอปเปิลเอง ให้รับเขาเข้าทำงาน เนื่องจากเขาขอเลื่อนตำแหน่งที่ Masimo แต่ไม่ได้ตามต้องการ
เนื้อหาในอีเมล Lemego บอกว่าเขาทำงานพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ที่ Masimo มาตลอด 10 ปี และเชื่อว่ามีความสามารถสร้างคุณค่าให้กับแอปเปิลได้แน่นอน หากแอปเปิลให้โอกาส เขาเชื่อว่าแอปเปิลจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ จนเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในตลาดสินค้าการแพทย์ ฟิตเนส และสุขภาพได้
Masimo และแอปเปิลไม่สามารถบรรลุข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีได้ ขณะที่ตอนนั้นแอปเปิลก็เริ่มพัฒนา Apple Watch แล้ว การรับ Lamego มาทำงาน ก็เพื่อดูแลโครงการพัฒนานี้ ในเอกสารยังบอกว่าตอนที่ Lemego ย้ายมาแอปเปิล มีพนักงาน Masimo อีกประมาณ 20 คน ที่ย้ายตามมาด้วย อย่างไรก็ตาม Lamego ก็ทำงานกับแอปเปิลได้แค่เพียง 7 เดือน โดยมีคำอธิบายจากผู้บริหารระดับสูงในแอปเปิลว่า วิธีการทำงานของเขาไม่เข้ากับวัฒนธรรมของแอปเปิล
ทนายของ Masimo ระบุว่าแล้ว Apple Watch ก็เปิดตัวในเดือนกันยายน 2014 แต่ตอนนั้นมีเฉพาะความสามารถการวัดอัตราการเต้นหัวใจ ฟีเจอร์ที่เป็นประเด็นในการฟ้องร้องคือเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือด เริ่มมีในปี 2020 ของ Apple Watch Series 6 แต่เหตุที่ทำให้ Masimo ตัดสินใจฟ้องร้อง เพราะช่วงเวลาเดียวกัน Lemego ได้ตั้งสตาร์ทอัพขายอุปกรณ์วัดระดับออกซิเจนในเลือดชื่อ Oxxiom ซึ่ง Masimo ฟ้องร้องและชนะคดีทำให้ Oxxiom ถูกสั่งห้ามขาย กรณีของ Apple Watch จึงมองว่าคล้ายคลึงกัน
รายงานบอกว่า Masimo เดิมต้องการเรียกค่าเสียหายจากแอปเปิล 3 พันล้านดอลลาร์ แต่การเจรจาไม่เป็นผล ทำให้บริษัทตัดสินใจฟ้องแบนการนำเข้าสินค้าจนมาสู่ผลลัพธ์ดังกล่าว ขณะที่แอปเปิลก็มีรายงานว่ากำลังหาวิธีแก้ไขเรื่องนี้อยู่
ที่มา: Bloomberg
Topics:
Apple
Apple Watch
Patent
Lawsuits
Health
อ่านต่อ...