- เข้าร่วม
- 1 มิถุนายน 2011
- ข้อความ
- 9,393
- คะแนนปฏิกิริยา
- 0
- คะแนน
- 0
Mishaal Rahman บล็อกเกอร์สาย Android ชื่อดัง อ้างแหล่งข้อมูลในกูเกิล ว่ากูเกิลกำลังมีโครงการใหม่ที่ช่วยให้อุปกรณ์ Android ทั่วๆ ไปสามารถอัพเดตได้ยาวนาน 7 ปี
โครงการนี้มีชื่อเรียกว่า Google Requirements Freeze (GRF) เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2020 เพื่อแก้ปัญหาที่ว่าผู้ผลิตชิป (เช่น Qualcomm หรือ MediaTek) ไม่อยากอัพเดตซอฟต์แวร์ของตัวเองให้ใช้กับ Android เวอร์ชันใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ไม่สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการตามได้ แม้ต้องการทำก็ตาม
GRF เป็นการผ่อนคลายเงื่อนไขว่า ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการ โดยยังใช้ซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตชิปเวอร์ชันเดิมได้ ("freeze") ช่วยให้การออกอัพเดตง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้โครงการ GRF กำหนดให้ผู้ผลิตชิปต้องซัพพอร์ตซอฟต์แวร์นาน 3 ปี
โครงการใหม่ของกูเกิลเรียกว่า Longevity GRF ยืดระยะเวลาตรงนี้เพิ่มเป็น 7 ปี ผู้ผลิตชิปทำงานเท่าเดิม ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ใช้งานซอฟต์แวร์ได้เพิ่มเป็น 7 ปี แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM จะต้องอัพเดตเฉพาะส่วนเคอร์เนลทุก 3 ปี เพื่อไม่ให้เคอร์เนลเก่าเกินไปจนมีปัญหาความปลอดภัย (Android ซัพพอร์ตเคอร์เนลให้นาน 4 ปี) ดูภาพประกอบของโครงการ Longevity GRF ได้จากที่มา
Rahman ขี้ว่าโครงการ Longevity GRF มีข้อดีคืออายุซัพพอร์ตของฮาร์ดแวร์จะยาวขึ้นเป็น 7 ปีได้ไม่ยาก แต่การอัพเดตในรอบหลังๆ อาจมีข้อจำกัดว่าไม่รองรับฟีเจอร์ฮาร์ดแวร์ใน Android เวอร์ชันใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น ตัวเลือกระดับความแรงไฟแฟลชที่กูเกิลใส่มาใน Android 13 จำเป็นต้องให้ฝั่งผู้ผลิตชิปอัพเดตตามด้วย หากผู้ผลิตชิปไม่สนใจอัพเดตอะไรเพิ่มเลยในรอบ 7 ปี ก็เท่ากับว่าผู้ใช้งานจะไม่ได้ฟีเจอร์ใหม่ๆ เหล่านี้ แม้ได้อัพเกรดระบบปฏิบัติการ
Rahman บอกว่ากูเกิลขยายโครงการ Longevity GRF ให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ในปีนี้ แต่ไม่ได้ประกาศต่อสาธารณะให้รับทราบ
ที่มา - Android Authority
Topics:
Android
Google
Operating System
Rumors
Continue reading...
โครงการนี้มีชื่อเรียกว่า Google Requirements Freeze (GRF) เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2020 เพื่อแก้ปัญหาที่ว่าผู้ผลิตชิป (เช่น Qualcomm หรือ MediaTek) ไม่อยากอัพเดตซอฟต์แวร์ของตัวเองให้ใช้กับ Android เวอร์ชันใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ไม่สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการตามได้ แม้ต้องการทำก็ตาม
GRF เป็นการผ่อนคลายเงื่อนไขว่า ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการ โดยยังใช้ซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตชิปเวอร์ชันเดิมได้ ("freeze") ช่วยให้การออกอัพเดตง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้โครงการ GRF กำหนดให้ผู้ผลิตชิปต้องซัพพอร์ตซอฟต์แวร์นาน 3 ปี
โครงการใหม่ของกูเกิลเรียกว่า Longevity GRF ยืดระยะเวลาตรงนี้เพิ่มเป็น 7 ปี ผู้ผลิตชิปทำงานเท่าเดิม ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ใช้งานซอฟต์แวร์ได้เพิ่มเป็น 7 ปี แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM จะต้องอัพเดตเฉพาะส่วนเคอร์เนลทุก 3 ปี เพื่อไม่ให้เคอร์เนลเก่าเกินไปจนมีปัญหาความปลอดภัย (Android ซัพพอร์ตเคอร์เนลให้นาน 4 ปี) ดูภาพประกอบของโครงการ Longevity GRF ได้จากที่มา
Rahman ขี้ว่าโครงการ Longevity GRF มีข้อดีคืออายุซัพพอร์ตของฮาร์ดแวร์จะยาวขึ้นเป็น 7 ปีได้ไม่ยาก แต่การอัพเดตในรอบหลังๆ อาจมีข้อจำกัดว่าไม่รองรับฟีเจอร์ฮาร์ดแวร์ใน Android เวอร์ชันใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น ตัวเลือกระดับความแรงไฟแฟลชที่กูเกิลใส่มาใน Android 13 จำเป็นต้องให้ฝั่งผู้ผลิตชิปอัพเดตตามด้วย หากผู้ผลิตชิปไม่สนใจอัพเดตอะไรเพิ่มเลยในรอบ 7 ปี ก็เท่ากับว่าผู้ใช้งานจะไม่ได้ฟีเจอร์ใหม่ๆ เหล่านี้ แม้ได้อัพเกรดระบบปฏิบัติการ
Rahman บอกว่ากูเกิลขยายโครงการ Longevity GRF ให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ในปีนี้ แต่ไม่ได้ประกาศต่อสาธารณะให้รับทราบ
ที่มา - Android Authority
Topics:
Android
Operating System
Rumors
Continue reading...