AIS 5G ร่วมกับ ARV บริษัทในเครือของ ปตท.สผ สาธิตถึงการใช้งานโดรนตรวจการ Horrus กับเครือข่าย AIS 5G ในพื้นที่ Wangchan Valley ที่สามารถเปิดแนวทางการใช้งาน (use case) แบบใหม่ๆ มากกว่าโดรนปกติที่ใช้คลื่นวิทยุแบบไม่ต้องขออนุญาตเพื่อใช้งานกันตามบ้านโดยทั่วไปที่ต้องการคนบังคับตลอดเวลา
ระบบโดรน Horrus ของ ARV เป็นระบบโดรนที่ควบคุมจากระยะไกล ชุดโดรนมาพร้อมกับฐานจอดโดรนสำหรับชาร์จไฟและถ่ายโอนข้อมูล และซอฟต์แวร์ควบคุมระยะไกลที่เปิดให้ผู้ควบคุมกำหนดภารกิจไว้ล่วงหน้า เช่น การบินสำรวจพื้นที่เก็บข้อมูลการก่อสร้าง หรือการตรวจการความปลอดภัยหาสิ่งแปลกปลอมในพื้นที่ที่กำหนดไว้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมบังคับโดรนตลอดเวลา
การสาธิตครั้งนี้ยังจำเป็นต้องทำในพื้นที่ Wangchan Valley ในการดูแลของบริษัท ปตท. ซึ่งเป็นผู้ลงทุนในเขตพื้นที่ ที่เป็นหนึ่งในโครงการ EEC ของรัฐบาล เนื่องจากปกติแล้ว การบินโดรนนั้นบังคับว่าต้องมีผู้ควบคุมให้โดรนอยู่ในระยะสายตา (line of sight) ตลอดเวลา ซึ่งยังเป็นข้อจำกัด
สำหรับการใช้งานโดรนแบบอัตโนมัติที่ผู้ควบคุมอาจจะควบคุมทั้งฝูงบิน หรือควบคุมจากศูนย์กลางซึ่งห่างจากพื้นที่ที่ตรวจการโดยโดรนนับร้อยกิโลเมตร พื้นที่ Wangchan Valley เป็นพื้นที่ sandbox ที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองโดยยกเว้นข้อบังคับเหล่านี้ไปหลายข้อโดยเฉพาะกฎควบคุมการบินโดรน เปิดทางให้มีการทดลองใช้งานก่อนจะขออนุญาตเพื่อใช้งานจริงต่อไปในอนาคต
การที่โดรนสามารถบินตามโปรแกรมได้อัตโนมัติ ทำให้ลูกค้าของ ARV สามารถใช้งาน Horrus ในหลายรูปแบบ จากเดิมที่การพัฒนา Horrus นั้นทำเพื่อใช้ในภารกิจภายในองค์กรของตนเอง คือบริษัท ปตท สผ เป็นหลัก แต่หากมีการเปิดให้ขออนุญาตใช้งานได้สะดวกขึ้นในอนาคตก็จะมีรูปแบบใหม่ๆ เช่นในระหว่างการก่อสร้างศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. (PTIC) ที่ Wangchan Valley เอง ก็มีการบินโดรน Horrus สำรวจความคืบหน้าของการก่อสร้างอยู่เป็นระยะ ทำให้สามารถตรวจสอบความคืบหน้าการก่อสร้างได้ต่อเนื่อง
การใช้โดรนระยะไกลร่วมกับเครือข่าย 5G นับเป็นหนึ่งในแนวทางการใช้งานเครือข่าย 5G ที่มีการพูดถึงกันมากและมีการทดลองกันหลายชาติทั่วโลก เนื่องจากการใช้งานมักต้องการการเชื่อมต่อกลับไปยังศูนย์ควบคุมโดยการเชื่อมต่อมีความน่าเชื่อถือสูง สัญญาณไม่ขาดหาย แม้แต่ในพื้นที่ที่สัญญาณ 5G ครอบคลุมก็ต้องการการรับประกันว่าศูนย์ควบคุมสามารถเชื่อมต่อกับโดรนได้แม้จะเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น ซึ่ง 5G มีฟีเจอร์การแบ่งช่องสัญญาณ (network slicing) ทำให้สามารถรับรองได้ว่าโดรนจะเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมได้ตลอดเวลา ที่สำคัญคือพื้นที่ให้บริการของเครือข่าย 5G นั้นครอบคลุมพื้นที่จำนวนมากในประเทศอยู่แล้วทำให้ไม่ต้องสร้างโครงข่ายใหม่ทั้งหมด สำหรับการใช้งานในประเทศไทยเองโครงข่าย AIS 5G เองครอบคลุมพื้นที่แล้ว 87% ของประเทศ ส่วนในพื้นที่ EEC และกรุงเทพหานครนั้นครอบคลุมไปแล้ว 100% โดย แนวทางที่มีการเสนอใช้งานกันก่อนหน้านี้ เช่น
การทดสอบทำให้ทีมงานพัฒนาโดรนและผู้ให้บริการเครือข่ายมีโอกาสสำรวจว่าเครือข่ายสามารถให้บริการในกับโดรนให้ครบถ้วนหรือไม่ เช่น การให้บริการโดรนที่บินอยู่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือตามปกติมาก และยังสามารถทดสอบการใช้งานความสามารถของเครือข่าย 5G เช่น การเชื่อมต่อแบบแบบความน่าเชื่อถือสูง (Ultra-Reliable Low Latency Communications - URLLC) การบริการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมาก (Massive Machine-Type Communications - mMTC) ตลอดจนการจัดสรรแบนวิดท์ (Network Slicing) เพื่อให้แน่ใจว่าโดรนสามารถเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมได้ตลอดเวลา
ทาง ARV ระบุว่าระบบโดรน Horrus นั้นพร้อมใช้งานเชิงธุรกิจแล้ว โดยก่อนหน้านี้ก็มีการทดลองการใช้งานในรูปแบบต่างๆ กับองค์กรที่ให้ความสนใจ เช่น การสำรวจสภาพจราจร ด้วยความพร้อมของ Horrus ของ ARV และเครือข่าย AIS 5G ในอนาคตเราก็จะได้เห็นโดรนเช่นนี้ทำงานในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้นในอนาคต
Topics:
AIS
5G
Wangchan Valley
อ่านต่อ...
ระบบโดรน Horrus ของ ARV เป็นระบบโดรนที่ควบคุมจากระยะไกล ชุดโดรนมาพร้อมกับฐานจอดโดรนสำหรับชาร์จไฟและถ่ายโอนข้อมูล และซอฟต์แวร์ควบคุมระยะไกลที่เปิดให้ผู้ควบคุมกำหนดภารกิจไว้ล่วงหน้า เช่น การบินสำรวจพื้นที่เก็บข้อมูลการก่อสร้าง หรือการตรวจการความปลอดภัยหาสิ่งแปลกปลอมในพื้นที่ที่กำหนดไว้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมบังคับโดรนตลอดเวลา
การสาธิตครั้งนี้ยังจำเป็นต้องทำในพื้นที่ Wangchan Valley ในการดูแลของบริษัท ปตท. ซึ่งเป็นผู้ลงทุนในเขตพื้นที่ ที่เป็นหนึ่งในโครงการ EEC ของรัฐบาล เนื่องจากปกติแล้ว การบินโดรนนั้นบังคับว่าต้องมีผู้ควบคุมให้โดรนอยู่ในระยะสายตา (line of sight) ตลอดเวลา ซึ่งยังเป็นข้อจำกัด
สำหรับการใช้งานโดรนแบบอัตโนมัติที่ผู้ควบคุมอาจจะควบคุมทั้งฝูงบิน หรือควบคุมจากศูนย์กลางซึ่งห่างจากพื้นที่ที่ตรวจการโดยโดรนนับร้อยกิโลเมตร พื้นที่ Wangchan Valley เป็นพื้นที่ sandbox ที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองโดยยกเว้นข้อบังคับเหล่านี้ไปหลายข้อโดยเฉพาะกฎควบคุมการบินโดรน เปิดทางให้มีการทดลองใช้งานก่อนจะขออนุญาตเพื่อใช้งานจริงต่อไปในอนาคต
การที่โดรนสามารถบินตามโปรแกรมได้อัตโนมัติ ทำให้ลูกค้าของ ARV สามารถใช้งาน Horrus ในหลายรูปแบบ จากเดิมที่การพัฒนา Horrus นั้นทำเพื่อใช้ในภารกิจภายในองค์กรของตนเอง คือบริษัท ปตท สผ เป็นหลัก แต่หากมีการเปิดให้ขออนุญาตใช้งานได้สะดวกขึ้นในอนาคตก็จะมีรูปแบบใหม่ๆ เช่นในระหว่างการก่อสร้างศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. (PTIC) ที่ Wangchan Valley เอง ก็มีการบินโดรน Horrus สำรวจความคืบหน้าของการก่อสร้างอยู่เป็นระยะ ทำให้สามารถตรวจสอบความคืบหน้าการก่อสร้างได้ต่อเนื่อง
การใช้โดรนระยะไกลร่วมกับเครือข่าย 5G นับเป็นหนึ่งในแนวทางการใช้งานเครือข่าย 5G ที่มีการพูดถึงกันมากและมีการทดลองกันหลายชาติทั่วโลก เนื่องจากการใช้งานมักต้องการการเชื่อมต่อกลับไปยังศูนย์ควบคุมโดยการเชื่อมต่อมีความน่าเชื่อถือสูง สัญญาณไม่ขาดหาย แม้แต่ในพื้นที่ที่สัญญาณ 5G ครอบคลุมก็ต้องการการรับประกันว่าศูนย์ควบคุมสามารถเชื่อมต่อกับโดรนได้แม้จะเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น ซึ่ง 5G มีฟีเจอร์การแบ่งช่องสัญญาณ (network slicing) ทำให้สามารถรับรองได้ว่าโดรนจะเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมได้ตลอดเวลา ที่สำคัญคือพื้นที่ให้บริการของเครือข่าย 5G นั้นครอบคลุมพื้นที่จำนวนมากในประเทศอยู่แล้วทำให้ไม่ต้องสร้างโครงข่ายใหม่ทั้งหมด สำหรับการใช้งานในประเทศไทยเองโครงข่าย AIS 5G เองครอบคลุมพื้นที่แล้ว 87% ของประเทศ ส่วนในพื้นที่ EEC และกรุงเทพหานครนั้นครอบคลุมไปแล้ว 100% โดย แนวทางที่มีการเสนอใช้งานกันก่อนหน้านี้ เช่น
- ตรวจสอบความปลอดภัย: ใช้โดรนเพื่อสำรวจพื้นที่ภัยพิบัติที่ปกติมนุษย์เข้าสำรวจได้ยาก หรือมีอันตรายหากเข้าไปในพื้นที่ เช่น ไฟป่า, ไฟไหม้, เหตุสารเคมีรั่วไหล โดรนสามารถสำรวจและส่งภาพความละเอียดสูงแบบเรียลไทม์ ทำให้เจ้าหน้าที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
- สำรวจพื้นที่ทำงาน: โดรนสามารถติดตั้งกล้องความละเอียดสูง และเซ็นเซอร์อื่นๆ เช่น อุณหภูมิ หรือการตรวจวัดระดับก๊าซ ตลอดจนเซ็นเซอร์ IoT อื่นๆ เพื่อสำรวจพื้นที่โดยไม่ต้องติดตั้งเซ็นเซอร์จำนวนมากรอบพื้นที่
- ขยายเครือข่ายไร้สาย: ใช้แพร่กระจายสัญญาณ Wi-Fi หรือแม้แต่สัญญาณ 5G เพิ่มเติมในกรณีที่ต้องกรเพิ่มพื้นที่ใช้งาน หรือมีการประชุมที่มีคนมากกว่าปกติ
การทดสอบทำให้ทีมงานพัฒนาโดรนและผู้ให้บริการเครือข่ายมีโอกาสสำรวจว่าเครือข่ายสามารถให้บริการในกับโดรนให้ครบถ้วนหรือไม่ เช่น การให้บริการโดรนที่บินอยู่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือตามปกติมาก และยังสามารถทดสอบการใช้งานความสามารถของเครือข่าย 5G เช่น การเชื่อมต่อแบบแบบความน่าเชื่อถือสูง (Ultra-Reliable Low Latency Communications - URLLC) การบริการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมาก (Massive Machine-Type Communications - mMTC) ตลอดจนการจัดสรรแบนวิดท์ (Network Slicing) เพื่อให้แน่ใจว่าโดรนสามารถเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมได้ตลอดเวลา
ทาง ARV ระบุว่าระบบโดรน Horrus นั้นพร้อมใช้งานเชิงธุรกิจแล้ว โดยก่อนหน้านี้ก็มีการทดลองการใช้งานในรูปแบบต่างๆ กับองค์กรที่ให้ความสนใจ เช่น การสำรวจสภาพจราจร ด้วยความพร้อมของ Horrus ของ ARV และเครือข่าย AIS 5G ในอนาคตเราก็จะได้เห็นโดรนเช่นนี้ทำงานในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้นในอนาคต
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://business.ais.co.th
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://business.ais.co.th
Topics:
AIS
5G
Wangchan Valley
อ่านต่อ...