• แนะนำการใช้งานเบื่องต้น การใช้งาน-community
    ประกาศ :
    • ทำการแก้ไขระบบนับถอยหลังเพื่อดาวน์โหลดไฟล์แล้ว
กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see


Firefox เริ่มเข้ารหัสชื่อโดเมนระหว่างการเชื่อมต่อ TLS ปิดทางจับข้อมูลว่าใครเข้าเว็บอะไร

ข่าว Firefox เริ่มเข้ารหัสชื่อโดเมนระหว่างการเชื่อมต่อ TLS ปิดทางจับข้อมูลว่าใครเข้าเว็บอะไร

News 

Moderator
สมาชิกทีมงาน
Moderator
Verify member
Firefox เพิ่งออกเวอร์ชั่น 118 เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยฟีเจอร์สำคัญตัวหนึ่งคือการเข้ารหัสข้อความเริ่มต้นเชื่อมต่อ TLS ตามมาตรฐาน Encrypted Client Hello (ECH) ที่เข้ารหัสข้อมูลแทบทั้งหมด ทำให้การดักฟังการเชื่อมต่อไม่สามารถมองเห็นได้ว่าผู้ใช้กำลังเชื่อมต่อไปยังโดเมนอะไร

การป้องกันการดักฟังมีช่องที่เปิดให้ผู้ดักฟังสามารถสังเกตพฤติกรรมการใช้งานเว็บได้หลายช่อง หลายปีก่อนช่องทางหลักคือการดักฟังการเชื่อมต่อที่ไม่เข้ารหัสโดยตรง แต่หลังจาก HTTPS ได้รับความนิยมสูง ข้อมูลที่ส่งไปมาก็ไม่สามารถดักฟังได้ แต่ยังสามารถสังเกตจากการเรียก DNS ได้อยู่ ภายหลังกระบวนการเข้ารหัส DNS อย่าง DoH ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นจนสังเกตได้ยากอีกเช่นกัน ทำให้เหลือช่องทางเดียวคือข้อมูลโดเมนที่ใส่ไว้ระหว่างการเชื่อมต่อ TLS เรียกว่าฟิลด์ SNI เป็นช่องทางสุดท้าย

ก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามผลักดันมาตรฐาน ESNI เพื่อเข้ารหัสข้อมูลโดเมนในแพ็กเก็ตเชื่อมต่อมาก่อน แต่ในความเป็นจริงแพ็กเก็ต Client Hello นั้นก็ยังมีฟิลด์อื่นๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน เช่น ALPN แนวทาง ECH จึงเสนอให้เข้ารหัส Client Hello ไปเสียทั้งก้อน ไม่ให้เห็นข้อมูลอะไรอีกเลย อย่างไรก็ดีคนร้ายอาจจะดูข้อมูลรอบข้าง เช่น ขนาดแพ็กเก็ต Client Hello หรือห้วงเวลาที่ตอบกลับกันไปมาเพื่อวิเคราะห์ว่าเข้าเว็บใดอยู่ ซึ่งยังเป็นงานที่ต้องทำเพิ่มเติมต่อไปแบบเดียวกับ OpenSSH ที่พยายามปิดช่องโหว่แบบนี้

ที่มา - Mozilla Blog

No Description


Topics:
Firefox
TLS
HTTPS
Privacy

อ่านต่อ...
 

ไฟล์แนบ

  • 3b68b287d870857303e96ce59a2689f4.png
    3b68b287d870857303e96ce59a2689f4.png
    117.6 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 16

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม ด้านล่าง