Adam Mosseri ซีอีโอ Instagram อัพเดตข้อมูลที่ลงรายละเอียดของวิธีการให้น้ำหนักและการแสดงผลโพสต์ต่าง ๆ บน Instagram เพื่อให้ครีเอเตอร์และผู้ใช้งานเข้าใจกระบวนการที่คอนเทนต์ถูกเลือกมาแสดงได้ดีขึ้น
โดยเขาบอกว่าแต่ละส่วนในแอปทั้ง Feed, Stories, Explore, Reels, Search และอื่น ๆ ต่างมีอัลกอริทึม ตัวจำแนก และการประมวลผล ในวิธีที่แตกต่างกันออกไป ไม่ใช่สูตรเดียวใช้กับทั้งแอป เพราะแต่ละส่วนมีการใช้งานในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป เช่น Stories ใช้ดูอัพเดตจากเพื่อนสนิท Explore ใช้หาคอนเทนต์หรือครีเอเตอร์น่าสนใจใหม่ ๆ ส่วน Reels เน้นดูคลิปที่สนุก การทำงานนี้จะร่วมกับฟังก์ชันอย่าง Close Friends, Favorites และคนที่ติดตามหรือ Following
เริ่มที่การคัดเนื้อหาของ Feed ซึ่งมีเนื้อหาจากบัญชีที่ติดตาม เนื้อหาแนะนำที่ Instagram คิดว่าผู้ใช้งานชอบ และโฆษณา โดยการแสดงเนื้อหา จะให้น้ำหนักโพสต์ล่าสุดจากบัญชีที่ติดตาม ผสมกับโพสต์จากบัญชีที่ไม่ได้ตาม แต่ Instagram คิดว่าเราสนใจ โดยดูข้อมูลทั้งบัญชีที่ตามปัจจุบัน โพสต์ที่ไลค์หรือคอมเมนต์ ประเภทโพสต์ที่สนใจก็ส่งผลต่อการเลือกเนื้อหามาแสดง เช่น ถ้าเราชอบกดไลค์รูปภาพ โพสต์ที่เป็นภาพนิ่งก็จะแสดงมากกว่าวิดีโอ Instagram ยังประเมินจากข้อมูลเนื้อหาที่อยู่ในโพสต์นั้นด้วย
นอกจากนี้ Instagram ยังเก็บข้อมูลวิธีที่เราตอบโต้กับแต่ละโพสต์ (Interact) เพื่อเพิ่มน้ำหนักการแสดงผลที่อธิบายข้างต้น เรียกข้อมูลนี้ว่าสัญญาณ (Signal) โดยมีมากกว่า 10 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ให้น้ำหนักสูงในตอนนี้คือ การหยุดดูโพสต์นั้นเป็นระยะเวลากี่วินาที, คอมเมนต์โพสต์นั้น, ไลค์โพสต์นั้น, แชร์โพสต์นั้น และกดดูโปรไฟล์โพสต์นั้น อย่างไรก็ตาม Instagram ก็พยายามป้องกันไม่ให้เกิดการแสดงโพสต์จากบัญชีเดิมซ้ำมากเกินไป ตลอดจนโพสต์แนะนำด้วย
มาที่ Stories ตัวสัญญาณที่ใช้หลักได้แก่ ประวัติการดู Stories ของแต่ละบัญชี ถ้าบ่อยก็จะแนะนำขึ้นมาก่อน, การโต้ตอบกับสตอรี่ เช่น ไลค์หรือ DM และดูความสัมพันธ์ หากเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว ก็จะให้น้ำหนักมากขึ้น
ส่วนของ Explore เนื่องจากต้องการให้ผู้ใช้งานค้นพบเนื้อหาใหม่ จึงอาศัยการจัดอันดับโพสต์ทั้งรูปภาพและวิดีโอที่เราน่าจะสนใจ แล้วเลือกการแสดงผลโดยดูจาก ข้อมูลในโพสต์ที่ตรงกัน, พฤติกรรมในอดีตที่ใช้ Explore ว่าชอบกดดูต่อในคอนเทนต์ไหน ตลอดจนการโต้ตอบกับโพสต์ที่ค้นพบนั้น
สุดท้ายคือ Reels ที่เน้นการค้นพบคอนเทนต์สนุก คล้ายกับ Explore แต่ Instagram จะให้น้ำหนักมากกว่ากับการรีแชร์ ไลค์ เซฟ คอมเมนต์ ว่าเป็นคอนเทนต์ที่เราชอบ ซึ่งให้น้ำหนักส่วนนี้มากกว่าประเภทเนื้อหาหรือคนที่โพสต์
Instagram ยังแนะนำเทคนิคในการปรับแต่ง Feed และ Stories ให้ตรงใจเรามากขึ้น โดยหากบัญชีไหนที่เราไม่ต้องการพลาดเนื้อหาเลย ให้ใส่ไว้ในลิสต์ Favorites ซึ่งได้น้ำหนักมากขึ้นในหน้าฟีด, ตั้งค่า Close Friends เพื่อให้สตอรี่แชร์กับกลุ่มที่เล็กลง, หากเจอบัญชีที่ไม่สนใจให้ใส่ใน Mute ซึ่งบัญชีต้นทางจะไม่เห็นข้อมูลนี้่ ต่างจากการกด Unfollow
ที่มา: Instagram
Topics:
Instagram
Reels
อ่านต่อ...
โดยเขาบอกว่าแต่ละส่วนในแอปทั้ง Feed, Stories, Explore, Reels, Search และอื่น ๆ ต่างมีอัลกอริทึม ตัวจำแนก และการประมวลผล ในวิธีที่แตกต่างกันออกไป ไม่ใช่สูตรเดียวใช้กับทั้งแอป เพราะแต่ละส่วนมีการใช้งานในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป เช่น Stories ใช้ดูอัพเดตจากเพื่อนสนิท Explore ใช้หาคอนเทนต์หรือครีเอเตอร์น่าสนใจใหม่ ๆ ส่วน Reels เน้นดูคลิปที่สนุก การทำงานนี้จะร่วมกับฟังก์ชันอย่าง Close Friends, Favorites และคนที่ติดตามหรือ Following
เริ่มที่การคัดเนื้อหาของ Feed ซึ่งมีเนื้อหาจากบัญชีที่ติดตาม เนื้อหาแนะนำที่ Instagram คิดว่าผู้ใช้งานชอบ และโฆษณา โดยการแสดงเนื้อหา จะให้น้ำหนักโพสต์ล่าสุดจากบัญชีที่ติดตาม ผสมกับโพสต์จากบัญชีที่ไม่ได้ตาม แต่ Instagram คิดว่าเราสนใจ โดยดูข้อมูลทั้งบัญชีที่ตามปัจจุบัน โพสต์ที่ไลค์หรือคอมเมนต์ ประเภทโพสต์ที่สนใจก็ส่งผลต่อการเลือกเนื้อหามาแสดง เช่น ถ้าเราชอบกดไลค์รูปภาพ โพสต์ที่เป็นภาพนิ่งก็จะแสดงมากกว่าวิดีโอ Instagram ยังประเมินจากข้อมูลเนื้อหาที่อยู่ในโพสต์นั้นด้วย
นอกจากนี้ Instagram ยังเก็บข้อมูลวิธีที่เราตอบโต้กับแต่ละโพสต์ (Interact) เพื่อเพิ่มน้ำหนักการแสดงผลที่อธิบายข้างต้น เรียกข้อมูลนี้ว่าสัญญาณ (Signal) โดยมีมากกว่า 10 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ให้น้ำหนักสูงในตอนนี้คือ การหยุดดูโพสต์นั้นเป็นระยะเวลากี่วินาที, คอมเมนต์โพสต์นั้น, ไลค์โพสต์นั้น, แชร์โพสต์นั้น และกดดูโปรไฟล์โพสต์นั้น อย่างไรก็ตาม Instagram ก็พยายามป้องกันไม่ให้เกิดการแสดงโพสต์จากบัญชีเดิมซ้ำมากเกินไป ตลอดจนโพสต์แนะนำด้วย
มาที่ Stories ตัวสัญญาณที่ใช้หลักได้แก่ ประวัติการดู Stories ของแต่ละบัญชี ถ้าบ่อยก็จะแนะนำขึ้นมาก่อน, การโต้ตอบกับสตอรี่ เช่น ไลค์หรือ DM และดูความสัมพันธ์ หากเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว ก็จะให้น้ำหนักมากขึ้น
ส่วนของ Explore เนื่องจากต้องการให้ผู้ใช้งานค้นพบเนื้อหาใหม่ จึงอาศัยการจัดอันดับโพสต์ทั้งรูปภาพและวิดีโอที่เราน่าจะสนใจ แล้วเลือกการแสดงผลโดยดูจาก ข้อมูลในโพสต์ที่ตรงกัน, พฤติกรรมในอดีตที่ใช้ Explore ว่าชอบกดดูต่อในคอนเทนต์ไหน ตลอดจนการโต้ตอบกับโพสต์ที่ค้นพบนั้น
สุดท้ายคือ Reels ที่เน้นการค้นพบคอนเทนต์สนุก คล้ายกับ Explore แต่ Instagram จะให้น้ำหนักมากกว่ากับการรีแชร์ ไลค์ เซฟ คอมเมนต์ ว่าเป็นคอนเทนต์ที่เราชอบ ซึ่งให้น้ำหนักส่วนนี้มากกว่าประเภทเนื้อหาหรือคนที่โพสต์
Instagram ยังแนะนำเทคนิคในการปรับแต่ง Feed และ Stories ให้ตรงใจเรามากขึ้น โดยหากบัญชีไหนที่เราไม่ต้องการพลาดเนื้อหาเลย ให้ใส่ไว้ในลิสต์ Favorites ซึ่งได้น้ำหนักมากขึ้นในหน้าฟีด, ตั้งค่า Close Friends เพื่อให้สตอรี่แชร์กับกลุ่มที่เล็กลง, หากเจอบัญชีที่ไม่สนใจให้ใส่ใน Mute ซึ่งบัญชีต้นทางจะไม่เห็นข้อมูลนี้่ ต่างจากการกด Unfollow
ที่มา: Instagram
Topics:
Reels
อ่านต่อ...
ไฟล์แนบ
-
3ed6e62b3ad643d9ebd66c7bcbb811a2.png1 MB · จำนวนการดู: 23
-
045036de47bf0ce1cda457bab09345c8.png217.1 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 24
-
bf513e1be231b3320eafe3bf3b80485e.png640.4 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 27
-
33792d3ddf60567ba9bbf2ad6493c49f.png481.7 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 26
-
6fcbfd48cca576f1b1ad755e2815f87c.png471.4 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 31