แบรนด์ NVIDIA อาจจะเป็นที่รู้จักในฐานบริษัทการ์ดกราฟิก แต่ในความเป็นจริงแล้วรายได้กว่าครึ่งของ NVIDIA มาจากลูกค้าระดับองค์กร ทั้งการซื้อเซิร์ฟเวอร์จากบริษัทไปตั้งในองค์กร หรือการซื้อ GPU ผ่านคลาวด์เพื่อการใช้งานระดับองค์กร โดยในปีบัญชี 2023 ที่ผ่านมารายได้ของ NVIDIA ในส่วนนี้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ถึง 56% ของรายได้รวมบริษัทแล้ว
ในงานแถลงข่าวกับสื่อมวลชนที่สำนักงาน NVIDIA สิงคโปร์ Nicolas Walker, Principal Solutions Architect ของบริษัท NVIDIA ระบุถึงแนวทางการทำตลาดซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ของบริษัทที่เริ่มหันมาทำตลาดเพื่อให้ตรงความต้องการขององค์กรมากขึ้น เนื่องจากโครงการปัญญาประดิษฐ์แต่ละโครงการมีชิ้นส่วนประกอบจำนวนมากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
NVIDIA ทำตลาดซอฟต์แวร์ระดับองค์กรผ่านทาง NVIDIA AI Enterprise ที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์สำหรับการพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์และการรันโมเดลเหล่านี้เพื่อให้บริการ โดยซอฟต์แวร์จำนวนมากเป็นซอฟต์แวร์ที่ NVIDIA พัฒนาเอง แต่จำนวนหนึ่งก็เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้งานโดยทั่วไป เช่น Tensorflow แต่เนื่องจาก Tensorflow ไม่มีบริษัทที่ได้บริการซัพพอร์ตโดยตรงเหมือน Ubuntu ที่มี Canonical ในกรณีนี้ทาง NVIDIA ก็จะมีเวอร์ชั่นที่ออปติไมซ์แล้วให้ลูกค้าองค์กรที่ซื้อไลเซนส์จากบริษัทและหากมีปัญหาก็สามารถขอความช่วยเหลือได้
ที่ผ่านมานอกจากตัวแทนจำหน่ายที่ขายฮาร์ดแวร์และไลเซนส์ซอฟต์แวร์แล้ว NVIDIA ก็พยายามสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่เป็น system integrator (SI) เพื่อให้บริการกับลูกค้าองค์กรในประเทศต่างๆ โดยคุณ Walker ระบุว่าในแถบอาเซียนเองก็มี SI เป็นพันธมิตรครบทุกประเทศแล้ว
Topics:
NVIDIA
Artificial Intelligence
อ่านต่อ...
ในงานแถลงข่าวกับสื่อมวลชนที่สำนักงาน NVIDIA สิงคโปร์ Nicolas Walker, Principal Solutions Architect ของบริษัท NVIDIA ระบุถึงแนวทางการทำตลาดซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ของบริษัทที่เริ่มหันมาทำตลาดเพื่อให้ตรงความต้องการขององค์กรมากขึ้น เนื่องจากโครงการปัญญาประดิษฐ์แต่ละโครงการมีชิ้นส่วนประกอบจำนวนมากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
NVIDIA ทำตลาดซอฟต์แวร์ระดับองค์กรผ่านทาง NVIDIA AI Enterprise ที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์สำหรับการพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์และการรันโมเดลเหล่านี้เพื่อให้บริการ โดยซอฟต์แวร์จำนวนมากเป็นซอฟต์แวร์ที่ NVIDIA พัฒนาเอง แต่จำนวนหนึ่งก็เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้งานโดยทั่วไป เช่น Tensorflow แต่เนื่องจาก Tensorflow ไม่มีบริษัทที่ได้บริการซัพพอร์ตโดยตรงเหมือน Ubuntu ที่มี Canonical ในกรณีนี้ทาง NVIDIA ก็จะมีเวอร์ชั่นที่ออปติไมซ์แล้วให้ลูกค้าองค์กรที่ซื้อไลเซนส์จากบริษัทและหากมีปัญหาก็สามารถขอความช่วยเหลือได้
ที่ผ่านมานอกจากตัวแทนจำหน่ายที่ขายฮาร์ดแวร์และไลเซนส์ซอฟต์แวร์แล้ว NVIDIA ก็พยายามสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่เป็น system integrator (SI) เพื่อให้บริการกับลูกค้าองค์กรในประเทศต่างๆ โดยคุณ Walker ระบุว่าในแถบอาเซียนเองก็มี SI เป็นพันธมิตรครบทุกประเทศแล้ว
Topics:
NVIDIA
Artificial Intelligence
อ่านต่อ...