NVIDIA เปิดตัวเทคโนโลยี DLSS เวอร์ชัน 3.5 มีของใหม่คือ Ray Reconstruction (RR) ช่วยให้ภาพที่อัพสเกลด้วย AI สมจริงกว่าเดิม ไม่ขาดรายละเอียดของภาพบางจุดที่เคยเกิดปัญหากับการทำ Ray Tracing ใน DLSS เวอร์ชันเก่าๆ
หลักการทำ Ray Tracing คือนำลำแสง (ray) ลองยิงเข้าไปในฉากที่สร้างโดยเอนจินเกม เพื่อดูว่าแสงสะท้อนกลับมาอย่างไร แต่ในพิกเซลที่ยิงแสงไปได้ไม่ครบถ้วนจะไม่มีข้อมูลว่าพิกเซลนั้นควรแสดงผลอย่างไร
เทคนิคที่ใช้กันในปัจจุบันคือนำภาพจากหลายเฟรม (ยิงแสงคนละรอบ) มาผสานกัน (accumulate) หรือนำข้อมูลพิกเซลใกล้เคียงกันในเฟรมเดียวกันมารวมเข้าด้วยกันกัน (interpolate) เพื่อคาดเดาข้อมูลของพิกเซลที่ขาดไป วิธีการเหล่านี้เรียกว่า denoiser ซึ่งมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง อาจมีรายละเอียดบางจุดผิดเพี้ยน เช่น ขอบภาพบางส่วนขาด หรือ วัตถุบางอย่างปรากฏซ้ำกันในภาพ เมื่อภาพต้นฉบับแย่ นำไปอัพสเกลต่อด้วย AI ยิ่งแย่ซ้ำเข้าไปอีก
เทคนิค Ray Reconstruction แก้ปัญหานี้โดยนำข้อมูลภาพจำนวนมากๆ มาเทรนโมเดลให้เรียนรู้วิธี denoiser ที่แม่นยำกว่าเดิม (NVIDIA บอกว่าใช้ข้อมูลมากกว่า DLSS 3 ถึง 5 เท่า) โมเดลสามารถแยกแยะพิกเซลดี-พิกเซลแย่ได้ดีขึ้น รู้จักแพทเทิร์นของ noise ในภาพมากขึ้น ผลคือภาพที่สร้างออกมาได้นั้นแม่นยำกว่าเดิมมาก (ดูคลิปประกอบ)
การทำ Ray Reconstruction ยังใช้ได้กับจีพียู RTX ทุกรุ่น (เหมือนการทำ Super Resolution และ Deep Learning Anti-Aliasing) ต่างจากการทำ Frame Generation เพิ่มเฟรมเรตของ DLSS 3 ที่รองรับเฉพาะ RTX 40 Series เท่านั้น
DLSS 3.5 ยังปรับแต่งให้เพิ่มเฟรมเรตขึ้นจาก DLSS 3 อีกเล็กน้อย แต่ NVIDIA บอกว่าไม่ใช่สาระสำคัญของเวอร์ชันนี้ เพราะมันคือการเพิ่มความสมจริงของภาพที่สร้างขึ้นได้ มากกว่าเพิ่มเฟรมเรต
เกมที่ประกาศรองรับ DLSS 3.5 ตอนนี้มี 3 เกมคือ Alan Wake 2, Cyberpunk 2077: Phantom Liberty, Portal with RTX ส่วนซอฟต์แวร์ด้าน 3D ที่จะรองรับคือ D5 Render, Chaos Vantage, NVIDIA Omniverse
ที่มา - NVIDIA
Topics:
NVIDIA
Graphic
GeForce
GPU
อ่านต่อ...
หลักการทำ Ray Tracing คือนำลำแสง (ray) ลองยิงเข้าไปในฉากที่สร้างโดยเอนจินเกม เพื่อดูว่าแสงสะท้อนกลับมาอย่างไร แต่ในพิกเซลที่ยิงแสงไปได้ไม่ครบถ้วนจะไม่มีข้อมูลว่าพิกเซลนั้นควรแสดงผลอย่างไร
เทคนิคที่ใช้กันในปัจจุบันคือนำภาพจากหลายเฟรม (ยิงแสงคนละรอบ) มาผสานกัน (accumulate) หรือนำข้อมูลพิกเซลใกล้เคียงกันในเฟรมเดียวกันมารวมเข้าด้วยกันกัน (interpolate) เพื่อคาดเดาข้อมูลของพิกเซลที่ขาดไป วิธีการเหล่านี้เรียกว่า denoiser ซึ่งมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง อาจมีรายละเอียดบางจุดผิดเพี้ยน เช่น ขอบภาพบางส่วนขาด หรือ วัตถุบางอย่างปรากฏซ้ำกันในภาพ เมื่อภาพต้นฉบับแย่ นำไปอัพสเกลต่อด้วย AI ยิ่งแย่ซ้ำเข้าไปอีก
เทคนิค Ray Reconstruction แก้ปัญหานี้โดยนำข้อมูลภาพจำนวนมากๆ มาเทรนโมเดลให้เรียนรู้วิธี denoiser ที่แม่นยำกว่าเดิม (NVIDIA บอกว่าใช้ข้อมูลมากกว่า DLSS 3 ถึง 5 เท่า) โมเดลสามารถแยกแยะพิกเซลดี-พิกเซลแย่ได้ดีขึ้น รู้จักแพทเทิร์นของ noise ในภาพมากขึ้น ผลคือภาพที่สร้างออกมาได้นั้นแม่นยำกว่าเดิมมาก (ดูคลิปประกอบ)
การทำ Ray Reconstruction ยังใช้ได้กับจีพียู RTX ทุกรุ่น (เหมือนการทำ Super Resolution และ Deep Learning Anti-Aliasing) ต่างจากการทำ Frame Generation เพิ่มเฟรมเรตของ DLSS 3 ที่รองรับเฉพาะ RTX 40 Series เท่านั้น
DLSS 3.5 ยังปรับแต่งให้เพิ่มเฟรมเรตขึ้นจาก DLSS 3 อีกเล็กน้อย แต่ NVIDIA บอกว่าไม่ใช่สาระสำคัญของเวอร์ชันนี้ เพราะมันคือการเพิ่มความสมจริงของภาพที่สร้างขึ้นได้ มากกว่าเพิ่มเฟรมเรต
เกมที่ประกาศรองรับ DLSS 3.5 ตอนนี้มี 3 เกมคือ Alan Wake 2, Cyberpunk 2077: Phantom Liberty, Portal with RTX ส่วนซอฟต์แวร์ด้าน 3D ที่จะรองรับคือ D5 Render, Chaos Vantage, NVIDIA Omniverse
ที่มา - NVIDIA
Topics:
NVIDIA
Graphic
GeForce
GPU
อ่านต่อ...