- เข้าร่วม
- 1 มิถุนายน 2011
- ข้อความ
- 11,238
- คะแนนปฏิกิริยา
- 0
- คะแนน
- 0
SCB EIC ประเมินว่าความต้องการ AI ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ โดยผลประโยชน์จะตกไปที่ผู้ประกอบการไทย 2 ด้าน ดังนี้:
โดยอุปสรรคหลักของไทย คือซัพพลายเชนที่ยังไม่ครบวงจร เนื่องจากขาดชิปต้นน้ำ, ขาดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม, และขาดแคลนแรงงานดิจิทัลและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
SCB EIC แนะนำว่าไทยควรเร่งส่งเสริมการวิจัย พัฒนาสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง และขยายการลงทุนในสินค้าไฮเทค โดยเฉพาะการผลิตชิปขั้นสูง คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ AI และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
นอกจากนี้ ไทยควรเร่งพัฒนาทักษะแรงงานดิจิทัล โดยเฉพาะวิศวกรเซมิคอนดักเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ยังขาดแคลน
ส่วนภาครัฐควรเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อดึงดูดการลงทุนจากบิ๊กเทคฯ และผลักดันอุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแห่งอาเซียน และตอบโจทย์ความยั่งยืนในอนาคต
ที่มา: SCB EIC
Topics:
Thailand
Technology
Research
SCB
Continue reading...
- ส่งออก: ไทยมีศักยภาพในการส่งออกชิปและส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ไปสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสหรัฐฯ ลดการนำเข้าจากจีน และเป็นผู้นำด้าน AI โดยคาดว่าปี 2024 ไทยจะส่งออกชิปไปสหรัฐฯ ที่ 83% ของการส่งออกชิปทั้งหมด และส่งออกส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ประมาณ 40%
- ลงทุน: สงครามเทคโนโลยีระหว่างจีน-สหรัฐฯ ส่งผลให้การลงทุนขยายตัวมายังอาเซียนและไทย โดยในปี 2023 ไทยได้รับการลงทุนในอุตสาหกรรม E&E และโครงการขนาดใหญ่ เช่น การผลิต Wafer, การประกอบและทดสอบชิป, และธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ มูลค่ากว่า 167,989 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีความท้าทายในการพัฒนาสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง เพื่อรองรับเทคโนโลยี AI ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่าคู่แข่ง เห็นได้จากสหรัฐฯ ที่นำเข้าชิปจากไทยเพียง 7% เทียบกับมาเลเซียที่ 17%
โดยอุปสรรคหลักของไทย คือซัพพลายเชนที่ยังไม่ครบวงจร เนื่องจากขาดชิปต้นน้ำ, ขาดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม, และขาดแคลนแรงงานดิจิทัลและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
SCB EIC แนะนำว่าไทยควรเร่งส่งเสริมการวิจัย พัฒนาสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง และขยายการลงทุนในสินค้าไฮเทค โดยเฉพาะการผลิตชิปขั้นสูง คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ AI และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
นอกจากนี้ ไทยควรเร่งพัฒนาทักษะแรงงานดิจิทัล โดยเฉพาะวิศวกรเซมิคอนดักเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ยังขาดแคลน
ส่วนภาครัฐควรเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อดึงดูดการลงทุนจากบิ๊กเทคฯ และผลักดันอุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแห่งอาเซียน และตอบโจทย์ความยั่งยืนในอนาคต
ที่มา: SCB EIC
Topics:
Thailand
Technology
Research
SCB
Continue reading...