มีกรณีที่น่าสนใจของโมเดลปัญญาประดิษฐ์ DeepSeek โดยทีมของมหาวิทยาลัย Beijing Language and Culture University ได้พัฒนาเครื่องมือแปลภาษาพิเศษ ที่ทำงานบนโมเดล DeepSeek สำหรับให้ทีมกู้ภัยของจีนซึ่งทำงานอยู่ในเมียนมาร์เพื่อช่วยเหลือเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ใช้งาน
สิ่งที่แตกต่างของเครื่องมือแปลภาษา จีน-เมียนมาร์ นี้ คือรองรับคำศัพท์และประโยคสำหรับใช้งานในสถานการณ์ภัยพิบัติโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถสร้างออกมาได้อย่างรวดเร็วบนโมเดลของ DeepSeek นี้ ทีมพัฒนาบอกว่าใช้เวลาเพียง 7 ชั่วโมงเท่านั้นในการสร้าง และยังมีฟีเจอร์ส่วนขยาย เช่น การสนทนาเสียง หรือการใช้ข้อมูลแผนที่สำหรับการค้นหาช่วยเหลือ เป็นต้น
มีรายงานว่าทีมกู้ภัยช่วยเหลือจากจีนตอนนี้อยู่ในเมียนมาร์ประมาณ 500 คน จาก 30 หน่วยงาน ซึ่งเครื่องมือแปลภาษานี้ก็มีบทบาทช่วยเหลือในการทำงาน
ที่มา: Xinhua ภาพ Wikimedia
Topics:
DeepSeek
Translation
Myanmar
Continue reading...
สิ่งที่แตกต่างของเครื่องมือแปลภาษา จีน-เมียนมาร์ นี้ คือรองรับคำศัพท์และประโยคสำหรับใช้งานในสถานการณ์ภัยพิบัติโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถสร้างออกมาได้อย่างรวดเร็วบนโมเดลของ DeepSeek นี้ ทีมพัฒนาบอกว่าใช้เวลาเพียง 7 ชั่วโมงเท่านั้นในการสร้าง และยังมีฟีเจอร์ส่วนขยาย เช่น การสนทนาเสียง หรือการใช้ข้อมูลแผนที่สำหรับการค้นหาช่วยเหลือ เป็นต้น
มีรายงานว่าทีมกู้ภัยช่วยเหลือจากจีนตอนนี้อยู่ในเมียนมาร์ประมาณ 500 คน จาก 30 หน่วยงาน ซึ่งเครื่องมือแปลภาษานี้ก็มีบทบาทช่วยเหลือในการทำงาน
ที่มา: Xinhua ภาพ Wikimedia
Topics:
DeepSeek
Translation
Myanmar
Continue reading...