Apple Machine Learning Research หน่วยงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ของแอปเปิล เผยแพร่แนวทางการปรับปรุงการทำงานของฟีเจอร์ AI เพิ่มเติม โดยยังยึดพื้นฐานคือการรักษาความเป็นส่วนตัวผู้ใช้งานไว้
หัวข้อแรกเป็นวิธีการปรับปรุงฟีเจอร์ Genmoji ที่ผู้ใช้งานสามารถป้อน prompt เพื่อสร้างอีโมจิผสมผสานขึ้นมาเอง แอปเปิลบอกว่าอุปกรณ์ที่เปิดการทำงาน Device Analytics ซึ่งส่งข้อมูลกลับมาที่แอปเปิลแบบไม่ระบุอุปกรณ์หรือผู้ใช้งาน ทำให้แอปเปิลสามารถเห็นเทรนด์ของอีโมจิผสมที่ผู้ใช้งานนิยม ทำให้สามารถปรับปรุงเฉพาะคำที่นิยมได้ ทั้งนี้แอปเปิลจะไม่รู้ prompt ทั้งหมด รวมถึงข้อมูลผู้ใช้งาน
แนวทางนี้แอปเปิลบอกว่าจะนำมาใช้กับฟีเจอร์สร้างเนื้อหาตัวอื่นทั้ง Image Playground, Image Wand, Memories Creation และ Writing Tools ใน Apple Intelligence รวมทั้ง Visual Intelligence
อย่างไรก็ตามวิธีของ Genmoji เป็น prompt สั้น ๆ โจทย์นี้จึงยากขึ้นเมื่อเป็น prompt ที่มีความยาวอย่างในฟีเจอร์ปรับปรุงการเขียน หรือฟีเจอร์สรุปเนื้อหา แอปเปิลจึงนำเสนอแนวทางจับคู่กับข้อมูลสังเคราะห์ (Synthetic Data)
ขั้นตอนการทำงานนั้น แอปเปิลใช้ปัญญาประดิษฐ์สร้างข้อความสังเคราะห์ขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น ข้อความที่มาจากคำสั่ง "Would you like to play tennis tomorrow at 11:30AM?" จากนั้นแปลงข้อความเป็นข้อมูลฝังซึ่งแทนที่ด้วยลักษณะ เช่น ภาษา ความยาว หัวข้อสำคัญ ข้อมูลฝังจะถูกส่งไปจับคู่กับอุปกรณ์แอปเปิลที่เปิดการทำงาน Analytics เพื่อดูว่าในบรรดาข้อความสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นนี้ อันไหนตรงกับที่ผู้ใช้งานมีมากที่สุด แล้วเรียนรู้กลับเพื่อปรับปรุงซ้ำ ทั้งหมดจึงทำให้แอปเปิลปรับปรุง AI ได้ โดยไม่ต้องรู้ข้อมูลของผู้ใช้งาน
Mark Gurman แห่ง Bloomberg บอกว่าแอปเปิลจะเริ่มใช้แนวทางนี้ใน Apple Intelligence ตั้งแต่ iOS 18.5 และ macOS 18.5 เบต้าถัดไป
ที่มา: แอปเปิล และ Bloomberg
Topics:
Apple
Apple Intelligence
Artificial Intelligence
Continue reading...
หัวข้อแรกเป็นวิธีการปรับปรุงฟีเจอร์ Genmoji ที่ผู้ใช้งานสามารถป้อน prompt เพื่อสร้างอีโมจิผสมผสานขึ้นมาเอง แอปเปิลบอกว่าอุปกรณ์ที่เปิดการทำงาน Device Analytics ซึ่งส่งข้อมูลกลับมาที่แอปเปิลแบบไม่ระบุอุปกรณ์หรือผู้ใช้งาน ทำให้แอปเปิลสามารถเห็นเทรนด์ของอีโมจิผสมที่ผู้ใช้งานนิยม ทำให้สามารถปรับปรุงเฉพาะคำที่นิยมได้ ทั้งนี้แอปเปิลจะไม่รู้ prompt ทั้งหมด รวมถึงข้อมูลผู้ใช้งาน
แนวทางนี้แอปเปิลบอกว่าจะนำมาใช้กับฟีเจอร์สร้างเนื้อหาตัวอื่นทั้ง Image Playground, Image Wand, Memories Creation และ Writing Tools ใน Apple Intelligence รวมทั้ง Visual Intelligence
อย่างไรก็ตามวิธีของ Genmoji เป็น prompt สั้น ๆ โจทย์นี้จึงยากขึ้นเมื่อเป็น prompt ที่มีความยาวอย่างในฟีเจอร์ปรับปรุงการเขียน หรือฟีเจอร์สรุปเนื้อหา แอปเปิลจึงนำเสนอแนวทางจับคู่กับข้อมูลสังเคราะห์ (Synthetic Data)
ขั้นตอนการทำงานนั้น แอปเปิลใช้ปัญญาประดิษฐ์สร้างข้อความสังเคราะห์ขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น ข้อความที่มาจากคำสั่ง "Would you like to play tennis tomorrow at 11:30AM?" จากนั้นแปลงข้อความเป็นข้อมูลฝังซึ่งแทนที่ด้วยลักษณะ เช่น ภาษา ความยาว หัวข้อสำคัญ ข้อมูลฝังจะถูกส่งไปจับคู่กับอุปกรณ์แอปเปิลที่เปิดการทำงาน Analytics เพื่อดูว่าในบรรดาข้อความสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นนี้ อันไหนตรงกับที่ผู้ใช้งานมีมากที่สุด แล้วเรียนรู้กลับเพื่อปรับปรุงซ้ำ ทั้งหมดจึงทำให้แอปเปิลปรับปรุง AI ได้ โดยไม่ต้องรู้ข้อมูลของผู้ใช้งาน
Mark Gurman แห่ง Bloomberg บอกว่าแอปเปิลจะเริ่มใช้แนวทางนี้ใน Apple Intelligence ตั้งแต่ iOS 18.5 และ macOS 18.5 เบต้าถัดไป
ที่มา: แอปเปิล และ Bloomberg
Topics:
Apple
Apple Intelligence
Artificial Intelligence
Continue reading...